อัปเดตวัคซีน Bivalent ผลกระตุ้นภูมิดีกว่ารุ่นเก่า

'นพ.ธีระ' อัปเดตวัคซีน Bivalent ชี้มีงานวิจัยแล้วกว่า 10 ชิ้น ชัดเจนว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ BA.5 ได้ดีกว่าวัคซีนรุ่นเก่า โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่น่ากังวลอย่าง XBB

19 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 19 มกราคม 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 215,384 คน ตายเพิ่ม 909 คน รวมแล้วติดไป 672,069,049 คน เสียชีวิตรวม 6,734,505 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส และรัสเซีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.72 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.27

...อัปเดตวัคซีน Bivalent จนถึงปัจจุบัน มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลในการกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดหรือแอนติบอดี้แล้ว 10 ชิ้นทั่วโลก

โดยรวมแล้วชัดเจนว่าวัคซีน Bivalent สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ BA.5 ได้ดีกว่าวัคซีนรุ่นดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่น่ากังวลอย่าง XBB (รวมถึง XBB.1.5)

ยามที่ XBB.1.5 เป็นที่คาดการณ์ว่าจะนำการระบาดทั่วโลก การอัปเดตอาวุธป้องกันของแต่ละประเทศจึงมีความจำเป็นยิ่ง ในยามวิกฤติใดๆ ที่เสี่ยงต่อชีวิตคน ทัศนคติในการจัดการควรเน้นป้องกัน มิใช่ให้ตกอยู่ในภาวะไฟลามแล้วค่อยหาขันน้ำมาตักราด

...สำหรับไทยเรา การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน พบปะผู้คน สังสรรค์ปาร์ตี้ เดินทางท่องเที่ยว ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง มีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ คนเยอะ คลุกคลีใกล้ชิดโดยไม่ป้องกันตัว ระบายอากาศไม่ดี เป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อได้

ไม่สบาย ให้รีบตรวจ หากติดเชื้อ แยกตัวอย่างน้อย 7-10 วันจนอาการดีขึ้นและตรวจได้ผลลบ แล้วค่อยออกมาใช้ชีวิต ป้องกันเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์ ติดเชื้อ ไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID

แม้ปัจจุบันจะมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางดูแลรักษาภาวะ Long COVID จำนวนมาก แต่ยังต้องใช้เวลา และยังไม่มีวิธีที่มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
Fawzy NA et al. A Systematic Review of Trials Currently Investigating Therapeutic Modalities for Post-Acute COVID-19 Syndrome and Registered on World Health Organization International Clinical Trials Platform. Clin Microb Inf. 12 January 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์หมอจุฬาฯ ย้ำ Long COVID เป็นเรื่องจริง!

หมอธีระอัพเดตข้อมูลโควิด เผยทั่วโลกฉีดวัคซีนแล้ว 13,200 ล้านโดส ชี้ลอง โควิดเป็นเรื่องจริง ผลวิจัยตอกย้ำยังไม่มีวิธีรักษามาตรฐาน การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อดีที่สุด

'นพ.ธีระ' ยกปาฐกถา 'หมอใหญ่ทำเนียบขาว' เตือนคนไทยโควิด19ยังไม่จบจริง!

'หมอธีระ' เผย WHO ได้สรุปผลเรื่องการฉีดวัคซีนบอกควรฉีดเข็มกระตุ้น 6-12 เดือนหลังรับเข็มสุดท้าย ยก 10 บทเรียนหมอใหญ่แห่งทำเนียบขาวเตือนคนไทย ชี้โควิด19 ยังไม่จบจริง

หมอชี้แม่รับวัคซีนโควิด-19 ครบเข็มกระตุ้น ช่วยลดความเสี่ยงทารกป่วย

แม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 จนครบเข็มกระตุ้น จะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะป่วยเป็นโควิดจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลในช่วง 4 เดือนแรกหลังคลอดได้ 53%

ผลวิจัยชี้ Long COVID จะทำให้ลางานมากกว่าปกติ 1.4 เท่า

'หมอธีระ' เผยแดนกิมจิยังคองแชมป์ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อโควิดใหม่สูงสุด ชี้ผลวิจัย Long COVID เมืองผู้ดีที่ศึกษาประชากร 2 แสนรายพบผู้ป่วยจะมีปัญหาลางานมากกว่ากว่าปกติ 1.4 เท่า

'หมอธีระวัฒน์' ยันเดินวันละ 10,000 ก้าวมีประโยชน์ไม่มั่วนิ่ม

'หมอธีระวัฒน์' ยันเดินวันละหมื่นก้าวมีผลงานวิจัยยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงว่ามีประโยชน์ แม้ไม่ถึงก็ยังดี เพราะยิ่งเดินเพิ่มก็ช่วยสร้างสุขภาพให้ตัวเองโดยไม่ต้องเข้าฟิตเนส

อาจารย์หมอจุฬาฯ ย้ำเตือนผลระยะยาว Long COVID ติดเชื้อต้องระวัง

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ประเทศญี่ปุ่น ได้เผยแพร่ผลการสำรวจผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงกุมภาพันธ์ 2563 ถึงพฤศจิกายน 2564 จำนวน 502 คนพบว่าส่วนใหญ่กว่า 80% เคยติดเชื้อโดยป่วยมีอาการน้อย (86.4%)