เอาแล้ว! ศูนย์จีโนมฯ บอกผลวิจัยยังไม่ชี้ชัดใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโควิดได้จริงหรือ

ศูนย์จีโนมฯ รามาธิบดีเผยงานวิจัยทางการแพทย์บอกการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลช่วยลดการติดเชื้อไวรัสได้ แต่การใส่หน้ากากอนามัยยังมีข้อมูลย้อนแย้ง

09 มี.ค.2566 - เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความว่า ผลของ “การล้างมือ” เปรียบเทียบกับ “การสวมหน้ากากอนามัย”ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่แพร่ระหว่างคนสู่คนทางระบบทางเดินหายใจ

เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ส่วนใหญ่ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและยาต้านไวรัสในการรักษาที่ผ่านการรับรอง ดังนั้นการป้องกันตัวเองขั้นพื้นฐาน เช่น “กินร้อน-ช้อนกลาง-สวมหน้ากากอนามัย-ล้างมือ (ด้วยสบู่)-ดื่มน้ำสะอาด(ต้มสุก)-ป้องกันสัตว์หรือยุงกัด” จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการยับยั้งไวรัสแต่ละชนิดแพร่ติดต่อจากสัตว์สู่คน หรือระหว่างคนสู่คน

จากงานวิจัยที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์หลายฉบับ แสดงให้เห็นว่าการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือช่วยลดการติดเชื้อไวรัสทางระบบเดินหายใจลงได้ถึง 14%-21% แต่ในกรณีของไข้หวัดใหญ่ มีหลักฐานบ่งชี้ว่าช่วยลดการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัสติดต่อทางระบบเดินหายใจประมาณ 11%

ตรงข้ามจากงานวิจัยส่วนหนึ่งกลับไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยในชุมชนเปรียบเทียบกับกลุ่มไม่สวมหน้ากากอนามัย

อย่างไรก็ตาม มีอีกหลายงานวิจัยที่ยังคงแนะนำว่าหน้ากากอนามัยยังสามารถลดการแพร่กระจายของ SARS-CoV-2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ SARS-CoV-2

ดังนั้นเพื่อจะสรุปให้ชัดว่าการสวมใส่หน้ากากอนามัยมีประโยชน์หรือในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส คงต้องรอประเมินจากผลงานวิจัยที่ทยอยลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อีกระยะหนึ่ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยมีรุ่นลูกรุ่นหลานของโควิด-19สายพันธุ์ XBB.1.16 แล้ว!

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์เผยไทยมีรุ่นลูกรุ่นหลานของอาร์คทูรัสแล้ว ถอดรหัสพันธุกรรมแล้วการเติบโตและการแพร่ระบาดแทบไม่ต่างกันไม่ว่าจะเชื้อรุ่นไหน ผลวิจัยย้ำการใช้มาตรการคุมหลากหลายลดตายได้

ศูนย์จีโนมฯ พบ XBB.1.16 ระบาดเหนือกว่า BN.1.3 ถึง 148%

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่พบในประเทศไทย ระหว่าง 1 ก.พ. - 16 เม.ย. 2566

จับตา! ไข้หวัดใหญ่ H3N2 สายพันธุ์อินเดีย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเมื่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลง จำนวนผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H3N2”

ข่าวดี! ยาต้านโควิดตัวใหม่ ฉีดครั้งเดียวปราบได้ทุกสายพันธุ์

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กว่า ความหวังยาใหม่ในการรักษาโรคโควิด-19 ผลวิจัยทางคลินิกในสหรัฐพบ “ฉีด” เพียงครั้งเดียว

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ชี้มี 4 คนไทยใช้โมลนูพิราเวียร์แล้วไวรัสกลายพันธุ์!

มีหนาว! ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาฯ เผยกำลังเกาะติดการกลายพันธุ์ของโควิด-19 จากการใช้ยาต้านไวรัสโมลนูพิราเวียร์ในคนไข้ 4 ราย ชี้ผลจิวัย ตปท.ทำให้กลายพันธุ์มาก

ศูนย์จีโนมฯ แจง 'วัคซีนรุ่น 3' กับความหวังป้องโควิดกลายพันธุ์

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนรุ่นที่ 3 (Third generation vaccine) กับความหวังในการป้องกันโควิด-19 กลายพันธุ์ที่จะระบาดในอนาคต