หมอธีระ ห่วงไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่แพร่เชื้อรวดเร็ว

27 พ.ย. 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 539,655 คน ตายเพิ่ม 5,891 คน รวมแล้วติดไปรวม 260,820,796 คน เสียชีวิตรวม 5,205,398 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด ยังเป็นเช่นเดิมคือ เยอรมัน สหราชอาณาจักร รัสเซีย ฝรั่งเศส และสาธารณรัฐเช็กจำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.97 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 91.85

ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นมากถึง 75.16% ของทั้งโลก พอๆ กับจำนวนเสียชีวิตเพิ่มที่คิดเป็น 66.74%

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

…สำหรับสถานการณ์ไทยเรา

เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 6,559 คน สูงเป็นอันดับ 20 ของโลก

หากรวม ATK อีก 2,806 คน จะขยับเป็นอันดับ 18 ของโลก

เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากตุรกีและเวียดนาม

…Update โควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.529…

1.องค์การอนามัยโลกประกาศจัดให้ B.1.1.529 เป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) เป็นตัวที่ 5 ในขณะนี้ต่อจากอัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า

2.ตั้งชื่อว่า “Omicron”

3. โดยปกติแล้ว WHO จะจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล VOC ก็ต่อเมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งคือ มีความสามารถในการแพร่เชื้อได้มากขึ้นกว่าเดิมหรือมีข้อมูลที่บ่งชี้ว่ามีความสามารถที่จะแพร่ระบาดอย่างมากได้ (detrimental change in COVID-19 epidemiology), ติดเชื้อแล้วรุนแรงมากขึ้นหรือเปลี่ยนลักษณะอาการทางคลินิกไปจากเดิม, หรือเป็นเชื้อที่มีหลักฐานยืนยันว่าทำให้ลดทอนประสิทธิภาพมาตรการด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นด้านการตรวจวินิจฉัย การป้องกันด้วยวัคซีน หรือการรักษาก็ตาม
B.1.1.529 หรือ Omicron นี้ถูกจัดเป็น VOC เพราะข้อมูลที่มีตอนนี้นั้นชัดเจนเรื่องทำให้เกิดการแพร่ระบาดมากได้

4. Omicron นี้ ได้รับการรายงานครั้งแรกในประเทศบอทสวานา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 และพบในประเทศแอฟริกาใต้ในอีกไม่กี่วันถัดมา ต่อมาพบที่ประเทศฮ่องกง และเมื่อวันก่อนก็มีการรายงานว่าพบในอิสราเอลและเบลเยี่ยมด้วย
การระบาดในแอฟริกาใต้นั้นมีการกระจายไปทั่วทุกจังหวัด และมีอัตราการตรวจพบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าวิตก และคาดว่าว่าอาจมีการกระจายไปประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาและทวีปอื่นๆ ทางองค์การอนามัยโลกจึงเตือนให้ประเทศต่างๆ เฝ้าระวัง และส่งรายงานการตรวจพบตามกลไกที่กำหนดไว้

5.การตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ตรวจโควิด-19 นั้นยังสามารถตรวจได้ โดยจะมีลักษณะของการหายไปของ S-gene ที่เรียกว่า S-gene target failure หรือ S-gene drop out ดังนั้นศักยภาพของระบบการตรวจ RT-PCR ของแต่ละประเทศที่จะรองรับปริมาณการตรวจยามมีระบาดรุนแรงขึ้นจึงสำคัญมาก ไม่ใช่หันไปกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วหันไปใช้ ATK โดยไม่ได้เพิ่มศักยภาพระบบ RT-PCR

6. ข้อมูลจาก Jeffrey Barrett ชี้ให้เห็นว่า Omicron นี้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะหนามตรงเปลือกนอกของไวรัสมากถึง 32 ตำแหน่ง โดยหลายตำแหน่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดปัญหา (ดังรูป) เช่น สีแดง มีอยู่ถึง 9 แห่งที่มีลักษณะเหมือนกับไวรัสกลายพันธุ์ VOC เดิมที่เราเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นอัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า ตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวมีผลต่อการลดประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันจากวัคซีน การเพิ่มศักยภาพในการแพร่เชื้อและติดเชื้อ ฯลฯ ในขณะที่สีอื่นๆ นั้น จำเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อดูผลของการเปลี่ยนแปลงต่อไป

7. คาดว่าในอีกไม่กี่สัปดาห์ จะมีผลการศึกษาเชิงลึกว่า Omicron จะส่งผลอย่างไรบ้างกับเรื่องประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน รวมถึงความสามารถในการแพร่เชื้อติดเชื้อ โอกาสการติดเชื้อซ้ำ และอื่นๆทั้งนี้ล่าสุดทางบริษัทวัคซีน เช่น โมเดิร์นน่า ก็ได้ออกมาประกาศว่ากำลังเร่งพัฒนาวัคซีนที่จำเพาะกับสายพันธุ์ Omicron นี้ด้วย

…ย้ำเตือนกันทุกวันว่า ไทยเราตอนนี้การระบาดยังสูงมาก และกระจายไปทั่ว ดังที่เห็นในอันดับโลกทุกวัน

ฉีดวัคซีนจะช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรง ลดโอกาสเสียชีวิตได้

แต่ไม่ว่าจะฉีดแล้วหรือยังไม่ครบหรือยังไม่ฉีด ขอให้ตระหนักว่าจะมีโอกาสติดเชื้อได้หากไม่ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด และป่วยได้ตายได้ แพร่ให้คนใกล้ชิดในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือคนอื่นในสังคมได้

ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก

เว้นระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร

สองเรื่องนี้จำเป็นต้องทำอย่างยิ่ง ทำอย่างเป็นกิจวัตร

ทั้งประชาชนทั่วไป รวมถึงนายจ้าง ลูกจ้าง และลูกค้าทุกคน

ไม่งั้นหากระบาดหนักขึ้นกว่านี้ ผลกระทบจะเกิดขึ้นหนักกว่าที่เป็นมา ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม

ด้วยรักและห่วงใย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาดโควิดรอบสัปดาห์ ผู้ป่วยปอดอักเสบมากขึ้น

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา และเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องถึง 7 สัปดาห์แล้ว

อาจารย์หมอจุฬาฯ อัปเดตเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด19 ของโลก

หมอธีระอัปเดตความรู้เรื่องวัคซีนโควิด-19 ชี้วัคซีนรุ่นเดิมแม้ลดความเสี่ยงในการป่วยรุนแรงแต่ประสิทธิภาพเริ่มลดลง คาดต่อไปการฉีดกระตุ้นน่าจะเป็นประเภทสายพันธุ์เดียว หรือ Monovalent vaccine

นพ.ธีระเผยผลวิจัยสเปนชี้ PM2.5 สัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน!

หมอธีระอัปเดตข้อมูลโควิด19 ถึงอึ้งผลวิจัยแดนกระทิงดุบอก PM2.5 สัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน เผย WHO ยังบอกไวรัสโควิดยังกลายพันธุ์ต่อเนื่องไม่นิ่ง!

‘หมอธีระ’ อัปเดตโควิดทั่วโลก ติดเชื้อเพิ่ม 50,331 คน เสียชีวิต 211 คน

สถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2566 ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 50,331 คน ตายเพิ่ม 211 คน รวมแล้วติดไป 681,528,196 คน เสียชีวิตรวม 6,811,893 คน

'นพ.ธีระ' แนะยังต้องป้องกันตัวเองเพราะไทยมีผู้ติดโควิดระดับเกินพันต่อวัน

'หมอธีระ' เผยตัวเลขล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก โอมิครอนยึดแล้ว 99.6% โดยสายพันธุ์ที่แรงที่สุดยามนี้คือ XBB.1.5 เผยไทยยังพบผู้ติดเชื้อใหม่ในระดับเกินพันต่อวัน

หมอธีระ เผยยาสู้โควิด ตัวใหม่จากญี่ปุ่น ประสิทธิภาพดี ลดอาการผิดปกติ Long COVID

"รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 66,287 คน ตายเพิ่ม 256 คน รวมแล้วติดไป 680,604,607 คน เสียชีวิตรวม 6,804,922 คน