ผลวิจัยชี้โมลนูพิราเวียร์ช่วยลดเสี่ยง Long COVID ได้ 14%

นพ.ธีระเผยคนติดเชื้อโควิดทั่วโลกพุ่งเกินครึ่งแสน XBB.1.16.x แพร่แล้ว 42 ประเทศ ยกผลวิจัยเมืองมะกันบอกโมลนูพิราเวียร์ช่วยลดความเสี่ยงปัญหา Long COVID ได้ 14%

26 เม.ย.2566 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 26 เมษายน 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 51,316 คน ตายเพิ่ม 284 คน รวมแล้วติดไป 686,624,401 คน เสียชีวิตรวม 6,860,530 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส รัสเซีย และเวียดนาม เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.1 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 91.54

...อัปเดตสถานการณ์ XBB.1.16.x
ข้อมูลจาก GISAID (Cr: Rajnarayanan R) ล่าสุดพบว่า XBB.1.16.x นั้นแพร่ไปแล้ว 42 ประเทศ หากดูลักษณะการกระจายของสายพันธุ์ย่อยของ XBB.1.16.x จะพบว่า แถบไทยและประเทศใกล้เคียง สัดส่วนหลักเป็น XBB.1.16 และมีตัวลูกหลาน ทั้ง XBB.1.16.1, XBB.1.16.2, XBB.1.16.3, FU.1, และ FU.2

...Molnupiravir ลดความเสี่ยง Long COVID ได้ 14% Xie Y และทีมงานจาก VA Saint Louis Health Care System ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารการแพทย์ British Medical Journal วันที่ 25 เมษายน 2566 ศึกษาติดตามประชากรที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 และได้รับยา Molnupiravir จำนวน 11,472 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้รับยา 217,814 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับยา Molnupiravir มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา Long COVID (Post-acute sequelae) น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาราว 14%

...การติดเชื้อโรคโควิด-19 แต่ละครั้งนั้น ไม่ได้เป็นหวัดหรือหวัดใหญ่ แต่ป่วยหนักได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID ซึ่งจะบั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง รวมถึงเกิดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมาระยะยาว ความรู้ปัจจุบันในการป้องกัน Long COVID นั้น ยังยืนยันว่า การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด

การฉีดวัคซีนครบเข็มกระตุ้น จะช่วยลดเสี่ยง Long COVID ได้ 43% ยา Metformin ช่วยลดได้ 42%
ยา Paxlovid ช่วยลดได้ 26% และยา Molnupiravir ช่วยลดได้ 14%

...สถานการณ์ไทยเรา มีคนติดเชื้อกันมาก ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวเสมอ เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่ควรแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง Molnupiravir and risk of post-acute sequelae of covid-19: cohort study. BMJ 2023;381:e074572. (Published 25 April 2023)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก