'นพ.ธีระ' เชื่อไทยยังไม่ถึงจุดสูงสุดของโอมิครอน

'หมอธีระ' เผยยอดติดเชื้อโควิด 19 ทั่วโลกทะลุ 362 ล้านไปแล้ว เชื่อพี่ไทยยังไม่ถึงระดับสูงสุด เตือนสติให้รับมือและเตรียมความพร้อมให้ดีในเรื่องป้องกันตัว

27 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานกาณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 27 ม.ค.ว่า ทะลุ 362 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 3,343,710 คน ตายเพิ่ม 9,729 คน รวมแล้วติดไปรวม 362,701,881 คน เสียชีวิตรวม 5,644,172 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย บราซิล และเยอรมัน จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.87 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 83.3 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 50.44 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 33.85 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 11 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...เทียบกันแต่ละทวีป สถานการณ์ขณะนี้ จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวัน ทวีปยุโรปสูงสุด ตามมาด้วยเอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ตามลำดับ แต่ทวีปอเมริกาเหนือมีอัตราส่วนระหว่างการเสียชีวิตกับการติดเชื้อใหม่สูงสุด โดยมากกว่าทวีปยุโรปและทวีปเอเชียถึง 3 เท่า

...Omicron BA.2 ในเดนมาร์ก ทำท่าไม่ค่อยดี เพราะ BA.2 นั้นกระจายไปหลากหลายเมือง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ที่ชี้ตรงกันว่า BA.2 น่าจะแพร่ได้ไวกว่า Omicron ดั้งเดิมอย่าง BA.1 (ดังภาพที่ 1 และ 2 จาก Pandemic Prevention Institute) คงต้องติดตามการวิจัยกันอย่างใกล้ชิดว่า ความรุนแรง การดื้อต่อวัคซีน และสมรรถนะในการติดเชื้อซ้ำของ BA.2 นั้นจะแตกต่างไปจาก BA.1 หรือไม่

...วิเคราะห์สถานการณ์ย้อนหลังของ Omicron ในอเมริกา (ภาพที่ 3) หากเทียบกับระลอกก่อนๆ จะพบว่าอเมริกาโดน Omicron โจมตีหนัก ทำให้มีจำนวนการติดเชื้อสูงกว่าทุกระลอกที่ผ่านมา แม้วิจัยพิสูจน์แล้วว่าความรุนแรงจะน้อยกว่าเดลตา แต่ก็ส่งผลกระทบให้มีจำนวนคนป่วยที่ต้องมารับบริการฉุกเฉินและนอนโรงพยาบาลมากกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวัยเด็ก ที่เราเห็นข้อมูลมาก่อนหน้านี้ว่ามีการติดเชื้อ และป่วยเพิ่มขึ้นมาก แม้ Omicron จะผ่านพีคไปแล้ว แต่ในช่วงอายุนี้ในหลายรัฐก็ยังถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

...สำหรับไทยเรา ดูธรรมชาติการระบาดของทั่วโลก ต้องยอมรับว่าทวีปเอเชียนั้นเริ่มต้นการระบาดช้ากว่าทวีปอื่นๆ และกำลังอยู่ในขาขึ้น ยังไม่ได้พีคแล้วลงแบบทวีปอื่น ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ที่มีการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวและคนที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีโอกาสที่ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีนั้นจะเล็ดรอดเข้ามาได้ ดังที่เห็นล่าสุดคือ BA.2

ตีความตามเนื้อผ้า ทั้งในเรื่องเงื่อนเวลาการระบาด และสภาพแวดล้อมเชิงนโยบาย ณ จุดนี้ น่าจะยังไม่ใช่พีคของเรา การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า พบคนน้อยลง เท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ อยู่กันห่างๆ เลี่ยงการกินดื่มร่วมกัน ไม่แชร์ของกินของใช้ เตรียมตัว เตรียมพร้อมเสมอ ข้าวของเครื่องใช้จำเป็น หยูกยาสามัญประจำบ้าน รวมถึงห้องหับและชุดตรวจ ATK เผื่อสมาชิกในครอบครัวไม่สบายจะได้ควักแผนที่เตรียมไว้มาใช้ได้ทันที
การดำรงชีวิตประจำวันในอนาคตถัดจากนี้ สวมหน้ากาก ลดความแออัด รักษาระยะห่าง และเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง จะเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อประคับประคองให้สุขภาพไปพร้อมกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ...รักตัวเองมากๆ ตระหนักถึง Long COVID ไว้เสมอ เพราะโควิดไม่ใช่หวัดธรรมดา...

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน

คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน  ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ  ใช้หมวกหรือร่มบังแดด

'เทพมนตรี' เผยเหตุผู้บริหารจุฬาฯ ไม่กล้าถอดวิทยานิพนธ์-ป.เอก ของณัฐพล ใจจริง

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง จุฬาฯ ว่า