
10 ก.พ.2566 – ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้
บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์สื่อสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แทนลงนาม ทั้งนี้มีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมพิธีฯ
พล.ต.อ ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ สืบเนื่องจากสถานการณ์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรืออาชญากรรมไซเบอร์ ในปัจจุบันมีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่หลงกลตกเป็นเหยื่อจนได้รับความเดือดร้อน สูญเสียทรัพย์สิน ซึ่งในบางรายถึงกับต้องสูญเสียชีวิต ซึ่งจากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565 – 6 ก.พ. 2566 มีการรับแจ้งความอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 192,031 คดี สถิติคดีแจ้งความ ประมาณ 1,000 รายต่อวัน มูลค่าความเสียหาย 29,546,732,805 บาท สามารถติดตามอายัดบัญชี 65,872 บัญชี อายัดได้ทัน 445,265,908 บาท มีผู้เสียหายสูงสุดมูลค่าถึง 100 ล้านบาท ส่วนคนร้ายได้พัฒนารูปแบบกลโกงหลากหลายไปเรื่อย จึงเป็นสถานการณ์ที่วิกฤต
ส่วนรูปแบบกลโกง 5 อันด้บแรก และที่มากที่สุดคือการหลอกลวงซื้อสินค้า อันดับ 2 เป็นการโอนเงินหารายได้พิเศษ 3.การหลอกให้กู้เงิน 4. คอลเซ็นเตอร์ และ5. เป็นการหลอกให้ลงทุน
“ขณะนี้ เราจึงร่วมกับกระทรวงดีอี เสนอออกพระราชกำหนดปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มอำนาจในการสืบสวนสอบสวนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเร่งประชาสัมพันธ์ประชาชนให้รู้เท่าทัน ซึ่ง การร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคประชาชน( Public Private Partnership PPP) เป็นการบูรณาการความร่วมมือเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการยับยั้ง ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกัน (Cyber Vaccine) แก่ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันกลโกงรูปแบบต่างๆ ของมิจฉาชีพ “ผบ.ตร. กล่าว
ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่อาชญากรรมไซเบอร์ได้พัฒนารูปแบบกลลวงอย่างหลากหลาย และรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาความมั่นคงระดับชาติ เพราะส่งผลกระทบทั้งต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย และความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ในการประชุม World Economic Forum 2023 ได้จัดให้ ‘ภัยคุกคามไซเบอร์’ เป็น 1 ใน 5 ความเสี่ยงที่สำคัญระดับโลก
โดยมีการคาดการณ์ว่าใน 2 ปี จะมีการโจมตีทางมัลแวร์ และแรนซั่มแวร์ ซึ่งผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ จะสูงถึง 10.5 ล้านล้านเหรียญภายในปี 2025 นั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่ม บริษัทในเครือฯ ในฐานะของผู้นำ ธุรกิจภาคเอกชน จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำร่องด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับกลโกงต่างๆ ของอาชญากรรมไซเบอร์เป็นองค์กรแรก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไซเบอร์วัคซีนให้ประชาชนชาวไทยมีความรู้เท่าทันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการร่วมสร้างความตื่นรู้ให้สังคมไทยในครั้งนี้ สอดคล้องกับค่านิยม 3 ประโยชน์ที่เครือฯ ยึดมั่นในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน สร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
โดยเครือฯ ได้ระดมสรรพกำลังของกลุ่มธุรกิจในเครือ เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์กลโกงของอาชญกรรมไซเบอร์ในทุกช่องทางการสื่อสารอย่างเต็มศักยภาพรวมระยะเวลา 2 ปี ทั้งจากกลุ่มโทรคมนาคมและร้านค้าปลีกค้าส่ง คือการส่ง SMS เตือนภัยผ่านเครือข่ายทรูมูฟ เอช ซึ่งมี ผู้ใช้บริการรวม 37 ล้านเลขหมาย ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในเดือนมกราคมที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อภายในลักษณะต่างๆ ใน ร้านเซเว่น – อีเลฟเว่นกว่า 13,000 สาขาประเทศ ซึ่งมีจำนวนลูกค้าเข้าใช้บริการ 11,404,314 คนต่อวัน ในแม็คโคร 152 สาขา และโลตัส มากกว่า 2,000 สาขา การประชาสัมพันธ์รายการในสถานีข่าว TNN16 และช่อง True4U การจัดกิจกรรมแฮกกาธอนในกลุ่มเยาวชน คิดค้น
ไอเดียรับมือกลโกง รวมถึงการกระจายข่าวสารผ่านพนักงานกว่า 361,570 คนทั่วประเทศ ซึ่งความหลากหลายทางธุรกิจฯ ของเครือ จะเป็น ส่วนสำคัญที่ทำให้ข่าวสารเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง และทำให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงรูปแบบต่างๆ ของมิจฉาชีพได้ อย่างรวดเร็ว เพื่อลดความสูญเสียทั้งต่อประชาชนและประเทศชาติที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
“เราจะให้ความร่วมมือเต็มที่ สกัดเบอร์มิจฉาชีพ ซึ่งจากข้อมูลของสตช.พบว่า80%ของเบอร์พวกมิจฉาชีพมาตามขอบชายแดน ของประเทศ ซึ่งการดักจับจะสังเกตุจากระยะทางของเบอร์ที่โทรเข้ามาในประเทศ” นายศุภชัยกล่าว
สตช.ได้รวบรวม 18กลโกงมิจฉาชีพ หลอกลวงเหยื่อ บนโลกออนไลน์ โดยสามารถติดตาม รูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่ pctpr.police.go.th คือ 1) หลอกขายสินค้าออนไลน์ 2) หลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ 3) เงินกู้ออนไลน์ (เงินกู้ทิพย์) 4) ข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว (Call Center) 5) หลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ 6) หลอกให้รักแล้วลงทุน
7) หลอกให้รักแล้วโอนเงิน หรือยืมเงิน 8) ปลอมหรือแฮคบัญชีไลน์ เฟซบุ๊ค แล้วหลอกยืมเงิน 9) แชร์ลูกโซ่ 10) การพนันออนไลน์ 11) หลอกให้โหลดโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ทางไกล เพื่อขโมยข้อมูล 12) ส่ง QR Code หลอกให้โอนเงิน 13) ฉ้อโกงรูปแบบอื่น โดยหลอกลวงด้วยเรื่องราวต่าง ๆ
14) โฆษณาเชิญชวนไปทำงานต่างประเทศ 15) หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป๊เปลือย เพื่อข่มขู่เรียกเงิน16) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) และร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ฟอกเงิน 17) ข่าวปลอม 18) เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ หากสงสัยเกรงจะตกเป็นเหยื่อสามารถปรึกษาได้ที่ สายด่วน บช.สอท. 1441 หรือ ศูนย์ PCT 081-8663000 ผู้เสียหายสามารถแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผบ.ตร. เด้งรับลูก 'ก้าวไกล' สั่งสอบด่วน 'ส่วยรถบรรทุก'
ผบ.ตร. เด้งรับลูก 'ส่วยสติกเกอร์' เปิดรับข้อมูลพยานหลักฐานทุกช่องทาง พร้อมสั่งตำรวจทางหลวงตรวจสอบข้อเท็จจริงด่วน ฮึ่มผิดฟันเด็ดขาดทั้งอาญา วินัย และปกครอง
ยกนิ้ว! ตร.จราจรทำคลอดสาวเมียนมา กลางล็อบบี้โรงแรม
พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเสริมสร้างภาพลักษณ์ตำรวจจราจร ศูนย์บริหารงานจราจร
ผบ.ตร. มอบรางวัลตำรวจ เข้าระงับเหตุคนร้ายชิงทรัพย์
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้มอบเกียรติบัตรโครงการ “ทำดี มีรางวัล” ตำรวจสายตรวจ สภ.สาขลา เข้าระงับเหตุปล้นชิงทองได้อย่างทันท่วงที
ตำรวจไซเบอร์ ทลายแหล่งผลิตซิมผีชายแดนแม่สอดส่งขายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พบส่งออกแล้วกว่าหมื่นซิม
ตำรวจไซเบอร์ ทลายแหล่งผลิตซิมผีชายแดนแม่สอดส่งขายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พบส่งออกแล้วกว่าหมื่นซิม
ผบ.ตร. น้อมรับคำวินิจฉัยศาลรธน. ติวเข้มทุกหน่วยทำตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย ทันที
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นประธานการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังหน่วยปฏิบัติทุกหน่วยทั่วประเทศ เพื่อกำชับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
ผบ.ตร. สั่งจับตามือปืนรับงานในพื้นที่แข่งขันสูง หัวคะแนนแค้นผลเลือกตั้งไม่เข้าเป้า
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยว่าพอใจภาพรวมการดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์แบบทั่วไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยพบว่าวันเลือกตั้งไม่ได้รับแจ้งเหตุว่ามีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเพิ่มเติม