
ผู้ประกอบการสถานบันเทิงที่บุรีรัมย์เร่งปรับปรุงทำความสะอาดฆ่าเชื้อ เช็กระบบไฟ เครื่องเสียง เตรียมพร้อมเปิดให้บริการ ยันพร้อมปฏิบัติตามประกาศ ศบค.แต่ยังกังวลถูกปิดอีก
01 มิ.ย.2565 - ผู้ประกอบการสถานบันเทิงหลายแห่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ต่างให้พนักงานเร่งปรับปรุง ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ จัดโต๊ะเก้าอี้ เช็กระบบไฟ และเครื่องเสียงภายในร้าน เพื่อเตรียมเปิดให้บริการ หลังจากคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 (ศบค.) ได้เห็นชอบปลดล็อกหรือผ่อนคลายให้ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานบริการที่มีลักษณะคล้ายกันในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) 17 จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) อีก 14 จังหวัด สามารถเปิดให้บริการได้ตามเวลาที่กำหนด คือ ไม่เกิน 24.00 น. หรือเที่ยงคืนภายใต้มาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อของกระทรวงสาธารณสุข อาทิ พนักงาน นักร้อง นักดนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์, ต้องมีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงพนักงานทุกคนด้วย (TST), ตรวจพนักงานทุกคนด้วย ATK ทุก 7 วัน และเมื่อมีอาการหรือความเสี่ยง ส่วนผู้รับบริการต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น จัดระยะห่างโต๊ะอย่างน้อย 1 เมตร เป็นต้น
โดยผู้ประกอบการต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้สึกดีใจที่ได้เปิดให้บริการ หลังจากที่ปิดมานานร่วมปี ทำให้ทั้งผู้ประกอบการ พนักงานต่างได้รับผลกระทบขาดรายได้ไปตามๆกัน แต่พอภาครัฐผ่อนปรนให้เปิดบริการได้ แม้จะถึงเที่ยงคืนแต่ก็เป็นแนวโน้มที่ดีที่จะได้ทำมาหากิน ซึ่งผู้ประกอบการก็พร้อมให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการตามที่ภาครัฐกำหนด
ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่ามีผู้ประกอบการสถานบันเทิงบางราย ที่ยังไม่มีการทำความสะอาดเตรียมเปิดให้บริการ อาจจะยังไม่มั่นใจในสถานการณ์กลัวจะถูกปิดอีก อาจจะรอดูท่าทีหรือสถานการณ์อีกสักระยะก่อน
ผู้ดูแลร้านสถานบันเทิง แห่งหนึ่ง บอกว่า รู้สึกดีใจที่ภาครัฐอนุญาตให้เปิดบริการในวันนี้หลังจากที่ปิดไปนานร่วมปี ทำให้ทั้งผู้ประกอบการและพนักงานได้รับผลกระทบไปตามๆ กันเพราะขาดรายได้ พนักงานแต่ละคนจึงต้องดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการไปหาอื่นงานทำเลี้ยงชีพช่วงที่รัฐให้ปิดบริการ ส่วนที่รัฐอนุญาตให้เปิดบริการได้ก็พร้อมปฏิบัติมาตรการอย่างเคร่งครัด ส่วนพนักงานเดิมที่ก็มีหลายคนที่ไม่กลับมาทำงานอีก แต่คงจะยังไม่รับสมัครเพิ่ม ต้องรอดูอีกทีว่าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการหรือไม่
“ยอมรับว่ายังแอบกังวลอยู่บ้างกลัวว่าอาจจะมีสถานการณ์อะไรที่ทำให้ต้องถูกประกาศปิดบริการอีก จึงอยากจะฝากถึงทางภาครัฐว่า หากเป็นไปได้ก็ไม่อยากจะให้ประกาศปิดอีก ควรจะใช้มาตรการอื่นแทนที่ยังพอให้สามารถยังทำมาหากินได้ จะได้ไม่เดือดร้อนหรือกระทบมากนัก เพราะทุกคนต้องทำมาหากินที่ผ่านมาก็กระทบหนักแล้ว”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลขาฯสมช. แพลมยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน จับตาประชุมครม. ปลายเดือน ก.ย.
พลเอกสุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ไปสัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า การต่อขยายพ.ร.กฉุกเฉิน ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนนี้ ออกไปหรือไม่ เป็นอำนาจของสมช.และกระทรวงสาธารณสุข
'วิษณุ' ชี้ช่องยกเลิก 'พรก.ฉุกเฉิน' ใช้กม.ควบคุมโรคติดต่อ ลดบทบาท ศบค.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ระบุว่าศบค.เตรียมพิจารณาไม่ขยายระยะเวลาบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
นายกฯ สั่งเฝ้าระวังโควิดกลายพันธุ์ ย้ำจัดการขยะติดเชื้อให้มีประสิทธิภาพ
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
จ่อเลิก 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' ยุบ 'ศบค.' 1 ต.ค.นี้
'หมออุดม' เผย จ่อเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 1 ต.ค.นี้ เล็งใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ คุมแทน ส่วน ศบค. หายไปตาม กม. พร้อมเตรียมแผนเรื่องยา-วัคซีน ก่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น
'แพทย์ชนบท' ข้องใจ 'อนุทิน' ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไว้เพื่อใคร
'แพทย์ชนบท' เรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลัง สธ. ลดระดับโควิดเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ข้องใจจะคงไว้เพื่ออะไร
ไทยติดเชื้อใหม่ นอน รพ. 2,110 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 27 คน
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันว่า พบผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 2,110 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,110 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,406,875 ราย