1,500 วันถูกพรากที่ดินทำกิน! ชาวบ้านมุกดาหาร ตีแสกหน้ารัฐ ยึดผืนป่าประเคนนายทุนเหมืองแร่

กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย มุกดาหาร ตีแสกหน้ารัฐหยุดพฤติกรรมทวงคืนผืนป่าประเคนนายทุนเหมืองแร่ เขย่าเจ้าหน้าที่ตื่นแก้ปัญหาให้จบ

28 ส.ค.2565 – มีความคืบหน้าล่าสุดในการต่อสู้ของกลุ่มประชาชนในนาม กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร  หลังจากที่ประชุมของคณะอนุกรรมการประสานงานเร่งรัดติดตามกรณีการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) และขับเคลื่อนนโนบาย 9 ด้าน ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐทุกประเภทโดยมี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้จากเอกสารประเด็นปัญหาที่ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ขอให้ที่ประชุมพิจารณาเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมี 30 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือความเดือดร้อนคือ  ปัญหาป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหมู แปลง 2 ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร ขอให้ชะลอการดำเนินคดีและตรวจสอบการถือครองทำประโยชน์ในที่ดิน รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่ด้วย

นางสมัย พันธะโคตร  กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย กล่าวว่า อยากให้ปัญหาของพวกตนได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมโดยไว เพราะระยะเวลาของการต่อสู้ของพวกตนเองนั้นหากนับเป็นวันก็ 1,500 วันแล้วที่เราถูกพรากถูกยึดที่ทำกิน ถูกทำลายผลผลิตที่เราปลูกไว้เลี้ยงชีวิตเลี้ยงครอบครัว เพราะนโยบายทวงคืนผืนป่า ซ้ำร้ายพวกเรายังถูกแจ้งความดำเนินคดีทั้งที่อาศัยและทำกินอยู่ในพื้นที่ของตนเองด้วย

นางสมัย กล่าวด้วยว่า กล่าวว่า พวกเรากว่า 61 ครัวเรือน เกิดและเติบโตในพื้นที่บริเวณนี้ อยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาย อยู่มาตั้งแต่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประประกาศให้พื้นที่บ้านเกิดที่ทำกินของเราตรงนี้เป็นป่าสงวนเสียอีก ครอบครัวของตนเองใช้ผืนดินปลูกพืช ปลูกมันสำปะหลังเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งรายได้จากการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ที่ถูกขับไล่เป็นรายได้หลักที่ใช้เลี้ยงครอบครัว เมื่อไม่มีรายได้จากผืนดินตรงบริเวณนั้นตนและครอบครัวก็ต้องเปลี่ยนไปทำงานรับจ้างรายวันเมื่อเงินไม่พอในการใช้จ่ายก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพิ่ม

“ปัญหาของพวกเราคือเราไม่ได้รับความเป็นธรรม ที่ดินตรงนั้นมันคือชีวิตจิตใจของพวกเราของครอบครัวเรา พอพวกเราทำกินปลูกมันกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษก็หาว่าพวกเราเป็นผู้บุกรุก แต่ในทางกลับกันพอยึดที่พวกเราไปแล้วกลับกลายเป็นว่าบริษัทเหมืองจะเข้ามาในพื้นที่ที่ไล่ยึดของพวกเราไป แบบนี้มันคือการยึดที่ดินของคนจนไปให้เหมืองแร่ มันคือการทวงคืนผืนป่าเพื่อเอาไปให้เหมืองแร่หรือไม่อย่างไร ถ้าไม่ใช่ก็อยากให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาให้พวกเราโดยเร็วด้วย ให้พวกเราได้กลับเข้าไปทำกินในผืนดินเดิม และให้ถอนฟ้องคดีความกับพวกเราทุกคนด้วย” นางสมัย กล่าว

ขณะที่นายใส ไชยบัน  กล่าวว่า พวกเราอยากเข้าไปทำกินในพื้นที่เดิมของพวกเรา ตอนนี้ทุกคนที่โดนยึดที่ดินทำกิน ตอนแรกที่มีที่ดินทำกินเราไม่ได้มีหนี้สินมากมายเลย แต่พอไม่มีที่ดินแล้วก็มีหนี้สินล้นพ้นตัวกันแทบทุกคน  ภาพวันที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาไถผลผลิตของเราทิ้งแม้จะผ่านมาหลายปีแล้วแต่ภาพก็ยังติดตาอยู่ มีพี่น้องเราบางครอบครัวปลูกยางจนกรีดยางไป 2 ปีแล้วเขาก็ตัดต้นยางของพี่น้องเราทิ้งหมด เจ้าของสวนเข้าไปคุยเข้าไปเจรจาเขาก็ไม่ให้เขาบอกเขาทำตามหน้าที่ทำตามนโยบายทวงคืนผืนป่า มันจะทวงคืนผืนป่าไปได้อย่างไรในเมื่อที่แห่งนี้มันคือที่ทำกิน ที่เกิด ที่นอน และที่ตายของพวกเรา ผ่านมา 5 ปีแล้วที่พวกเราต่อสู้ เราอยากให้ปีนี้เป็นปีที่พวกเราได้รับความเป็นธรรมจริงๆสักที

ด้าน นายอดิศักดิ์ ตุ้มอ่อน เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ระบุว่า ประเด็นของพี่น้องคำป่าหลายถึงแม้จะถูกยกไปไว้ในการประชุมครั้งต่อไป แต่พวกเราจะช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิด  เพราะที่ผ่านมาพี่น้องต้องเผชิญกับความเดือดร้อน ทุกข์ยากจากการที่ถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ทำกินของตนเอง พืชผลในพื้นที่ก็ถูกทำลายตามไปด้วย และมีหลายครอบครัวที่ต้องเสียโอกาสจากการเข้าไปทำกินในพื้นที่ของตนเอง เพราะการถูกขับไล่และถูกแจ้งความดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ป่าสงวนฯ   

“นอกจากนี้หลังขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ทำกินของตนเองเสร็จพื้นที่ของชาวบ้านก็ถูกนำไปประกาศเป็นพื้นที่ที่เปิดให้เหมืองยื่นคำขอประทานบัตร และเจ้าหน้าที่ยังได้ปลูกป่าทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้านที่ถูกขับไล่ด้วย  ที่ผ่านมาชาวบ้านเองได้ต่อสู้ในหลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด จนนำหน่วยงานป่าไม้มาตรวจสอบในพื้นที่” นายอดิศักดิ์ ระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า   ชาวบ้านกำลังรอความคืบหน้าแนวทางการแก้ไขปัญหามากว่า 1 ปีแต่สถานการณ์ไม่มีความคืบหน้า  ภายหลัง คณะทำงานตรวจสอบการครอบครองเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู แปลงที่ 2 ท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ที่มีนายเอกราช มณีกรรณ์ ปลัดจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบ แนวทางการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือความเดือดร้อนด้านที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ของราษฎร ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร  คือ 1.ให้ยุติการดำเนินคดี 2.ให้พี่น้องเข้าทำประโยชน์ 3.ยกเลิกการปลูกป่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทส. ส่งมอบความสุขวันสงกรานต์ 13-15 เม.ย. ยกเว้นค่าบริการท่องเที่ยวป่านันทนาการ 3 แห่ง

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายขับเคลื่อนด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในรูปแบบป่านันทนาการ

อ.อ.ป. ผสานความร่วมมือ กรมป่าไม้ และ ม.เกษตรฯ ลงนามความร่วมมือ “โครงการขยายผลงานวิจัยไม้เศรษฐกิจพันธุ์ดีสู่ประชาชน”

วันนี้ (29 มีนาคม 2567) นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และ นายดำรง ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

บุกรุกป่าสงวน ตัดไม้เผาป่าเสม็ด ลอบปลูกปาล์มน้ำมัน หวังขายต่อนายทุนท่องเที่ยว

ผอ.สำนักบริหารจัดการป่าไม้ 12 กระบี่ คาดโทษ หาก จนท.รู้เห็นให้มีการบุกรุกป่าเสม็ด ย้ายออกจากพื้นที่ หลังไฟไหม้ป่า มีการบุกรุกป่าเสม็ด เกาะลันตาเป็นจำนวนมาก

กรมป่าไม้จัดกิจกรรม“วันป่าไม้สากล ปี 2567” จ.กาญจนบุรี

วันที่ 21 มี.ค. 67 พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้นายนพดล พลเสน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ป่าไม้ลุยทวงคืนสมบัติชาติ นายทุนบุกรุกปิดกั้นหาดนุ้ยภูเก็ต สั่งรื้อถอนใน 30 วัน

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมกับ พ.ต.อ.ธีรวัฒน์ เลี่ยมสุวรรณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต นำกำลังตำรวจสภ.กะรน ,ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ,ตำรวจภูธรภาค 8 ฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต และกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ประจำหน่วยป้องกัน

สท. โวยรัฐไม่จริงจังแก้ 'แม่น้ำสาย' ขุ่นขาว คาดเหตุขยายเหมืองทองคำฝั่งพม่า

มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation-SHRF ) ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสาเหตุที่แม่น้ำสายซึ่งไหลผ่านชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ขุ่นเป็นสีขาวมาว่า มลพิษในแม่น้ำสายอาจเป็นผลมาจากการขยายเหมืองทองคำภาคตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน