เปิดอาชีพเสี่ยงตาย! เลี้ยงต่อหัวเสือ คว้ารายได้งาม

สุดระทึก ! ชาวบ้านนครพนมเลี้ยง “ต่อหัวเสือ” อาชีพเสี่ยงตาย  สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ รังตัวต่อลูกค้ากว้านซื้อ เชื่อเป็นเครื่องรางของขลัง

11 ก.ย.2565 – ผู้สื่อข่าวได้รายงานจากจังหวัดนครพนม ในช่วงนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของชาวบ้านในพื้นที่ อ.ปลาปาก,อ.นาแก และ อ.วังยาง ที่มีอาชีพสุดเสี่ยงในการเลี้ยงต่อหัวเสือ เพื่อสร้างรายได้ แต่ถือเป็นอาชีพจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีการสืบทอดจากอดีตจวบถึงปัจจุบัน และยังเป็นอาชีพเสี่ยงตายที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เฉลี่ยปีละนับแสนบาทต่อครอบครัว เพราะเป็นเมนูหายาก และเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะสายเปิบพิสดาร นำขึ้นโต๊ะเป็นเมนูเด็ดอีสาน อาทิ ก้อยลูกต่อ,แกงตัวต่อ,หมกตัวต่อ,ยำลูกต่อหัวเสือ และอีกสารพัดเมนู ยิ่งช่วงไหนหายาก โดยห้วงอากาศแล้ง จะส่งผลให้รังต่อหายาก จึงมีราคาถีบตัวสูงขึ้น ปีนี้ตกราคากิโลกรัมละประมาณ 2,000 บาท 

โดยชาวบ้านจะเริ่มเลี้ยงตัวต่อหัวเสือตอนต้นฤดูฝน คือราวเดือน มิถุนายนของทุกปี ใช้วิธีปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติประมาณ 3-4 เดือน จะสามารถเก็บผลผลิตออกสู่ท้องตลาด นำมาปรุงเป็นเมนูเด็ด ซึ่งตัวต่อหัวเสือจะให้ผลผลิตมากสุดราวหลังออกพรรษา ปีนี้ก็ประมาณเดือนตุลาคม และเป็นช่วงสุดท้ายในการเก็บผลผลิต ผู้เลี้ยงบางรายสามารถสร้างรายได้ปีละนับแสนบาท

ทั้งนี้ชาวบ้านอาชีพเสี่ยงต่อเลี้ยงต่อหัวเสือ ให้มีการพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่เก็บผลผลิต จากเดิมใช้วิธีการเผารังต่อ แต่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงได้คิดค้นประดิษฐ์ชุดล้วงรังต่อ ที่มีความปลอดภัยสูง ในการล้วงรังต่อ เพื่อลดการสูญพันธุ์แทนการเผาด้วยไฟหรือรมควัน ทำให้สามารถเก็บผลผลิตเพิ่มขึ้นได้รังละ 2-3 รอบ

โดยผลผลิตตัวต่อนอกจากจะขายแม่ตัวต่อและลูกต่อหัวเสือ ยังสามารถขายต่อยกทั้งรัง เพราะมีบางคนมีความเชื่อ ไปทำเป็นเครื่องรางของขลัง นำไปประดับแขวนไว้หน้าบ้าน ร้านค้า ร้านอาหาร เชื่อกันว่าเป็นการต่อเงิน ต่อทอง ต่อยอดลูกค้า โดยขายได้ถึงรังละ 3,000-5,000 บาท แล้วแต่รูปแบบความสวยงามของรังต่อ

ด้าน นายบัญชา ศรีชาหลวง นายก อบต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม เปิดเผยว่า พื้นที่ ต.พิมานถือเป็นอีกหมู่บ้านที่ตนเองและชาวบ้าน ได้นำอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน มาพัฒนาต่อยอด ส่งเสริมการเลี้ยงต่อหัวเสือสร้างรายได้เสริมในช่วงฤดูฝน และนำผลผลิตลูกต่อส่งขายในช่วงใกล้งานประเพณีออกพรรษา ราวเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นฤดูกาลที่ต่อให้ผลลิตมากสุด ถือเป็นอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สร้างรายได้ดีเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีราคาตกกิโลกรัมละ 2,000 บาท ปีไหนหายากยิ่งมีราคาแพง

นายบัญชา ระบุว่า ซึ่งชาวบ้านจะใช้ความชำนาญ ในการล่าตัวหัวเสือตามป่าทุ่งไร่ทุ่งนาที่ทำรังตามธรรมชาติ ด้วยการนำเหยื่อประเภท เนื้อสัตว์ แมลงไปล่อ แล้วตามไปหารังต่อ ก่อนเคลื่อนย้ายมารักษาไว้ตามหัวไร่ปลายนาในที่ปลอดภัย ใช้เวลาเลี้ยงแบบธรรมชาติ ประมาณ 4-5 เดือน ก่อนเก็บผลลิตขาย เดิมใช้วิธีรมควัน แต่พัฒนาคิดค้นชุดล้วงรังต่อ เพื่อป้องกันต่อสูญพันธุ์ และเก็บผลผลิตได้หลายครั้ง บางรังสามารถเก็บผลผลิตได้ 2-3  ครั้ง หากรมควันจะได้เพียงครั้งเดียว บางรายสามารถหารังต่อได้เยอะ ก็สร้างรายได้ 50,000-1 แสนบาทต่อปี

นายบัญชา กล่าวว่า ส่วนเมนูเด็ดชาวบ้าน จะนำไปปรุงเป็นก้อยลูกต่อ คั่วต่อหัวเสือ หมกต่อ แกงต่อ ยำลูกต่อ สารพัดเมนู ถือเป็นเมนูเด็ดที่หากินยาก 1 ปีมีครั้งเดียว จึงทำให้มีราคาแพง นอกจากนี้ลูกค้าบางรายมีการสั่งซื้อยกรัง เพื่อนำรังที่แม่ต่อทิ้งรังร้าง ไปทำเป็นเครื่องรางของขลังตามความเชื่อ ขายได้ราคาสูงตกรังละ 3,000-5,000 บาท ส่วนการดูแลจะต้องมีความชำนาญ และต้องเลี้ยงในที่ปลอดภัย เพราะต่อหัวเสือถือเป็นแมลงที่มีพิษร้ายแรง หากถูกรุมต่อยจำนวนมากอาจอันตรายถึงชีวิต จึงต้องมีความชำนาญในการเลี้ยงดูแล ผู้คิดจะเลี้ยงต้องศึกษาวิธีให้ดีก่อน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนึ่งปีมีครั้ง รับจ้างล้างฮวงซุ้ย เทศกาลเช็งเม้ง ไหว้สุสานบรรพบุรุษ

คณะกรรมการสมาคมพ่อค้าจังหวัดนครพนม ได้จัดเตรียมทำความสะอาดฮวงซุ้ย ด้วยการตัดหญัา และปรับภูมิทัศน์สถานที่ เพื่อเตรียมพร้อมในการจัดงานเช็งเม้ง ระหว่างวันที่ 20 มี.ค.-5 เม.ย.67 โดยได้เริ่มมีการทำความสะอาดหลุมฝังศพ คนไทยเชื้อสายจีนกันแล้ว ทำให้บรรยากาศทั่วไปภายในพื้นที่สุสานคึกคักขึ้นมาทันที

หายปริศนากว่า 1 เดือน ญาติบุกทวงถามคดี 'เสี่ยบ่อนไก่' ไม่คืบหน้า หลังพบจอดรถทิ้งริมโขง

นายสำราญ สมหวัง อายุ 74 ปี พร้อมญาติพี่น้องเดินทาง สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ตำบลนาชะอัง อ.เมือง จ.ชุมพร เพื่อทวงถามความคืบหน้าคดีดังกล่าวต่อ พล.ต.ต.ภานุเดช ณ พัทลุง ผบก.ภ.จว.ชุมพร เกี่ยวกับคดีที่ นายขนบ สมหวัง อายุ 56 ปี หรือ “นายหัวสมาร์ท” น้องชายและเป็นเจ้าของสนามชนไก่

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (8) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลวังตามัว จ.นครพนม “จากการสงเคราะห์...สู่การพัฒนาทั้งตำบล”

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลวังตามัว อ.เมือง จ.นครพนม เป็น 1 ใน 10 กองทุนสวัสดิการชุมชนจากทั่วประเทศที่ได้รับรางวัล “ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ระดับชาติ”

แก๊งโจ๋ต่างถิ่นสุดเถื่อน! แค่มองหน้า โชว์กร่างไล่ยิงวัยรุ่นเจ็บ 1

ความคืบหน้ากรณีน้องเซฟ อายุ 18 ปี ชาวชุมชนน้อยใต้ เขตเทศบาลเมืองนครพนม ถูกแก๋งโจ๋เถื่อนยิงกระหน่ำ บริเวณปากทางเข้าชุมชน ถนนประชาร่วมมิตร

ทึ่ง! เด็กหนุ่ม 18 สู้ชีวิต ทำธุรกิจรถเข็นขาย 'แพนเค้กจิ๋ว' ขยาย 3 สาขา

นายอัสซาน ไข่แก้ว อายุ 18 ปี ชาวชุมชนเตาอิฐได้นำรถจักรยานยนต์พ่วงข้างมาทำเป็นร้านแฟรนไชส์ขาย “มินิแพนเค้ก” ให้กับกลุ่มวัยรุ่นและประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าทั้งเด็กแล

มันแกวหวานเงินล้าน เกษตรกรยิ้มร่าโกยวันละหมื่น ช่วงงานนมัสการพระธาตุพนม

บรรยากาศงานบุญประเพณีเดือน 3 นมัสการพระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร พระอารามหลวง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-25 กุมภาพันธ์ฯ