ไปไม่ถึงฝัน กฎหมายลูก ฉบับเพื่อไทย!

วันที่ 24-25 ก.พ. มีการประชุมร่วมรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส.และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง จำนวน 10 ร่าง แยกเป็น  

1.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ.... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) 2.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) 3.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 4.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 5.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ)            

6.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายวิเชียร ชวลิต กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 7.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายวิเชียร ชวลิต กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 8.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 9.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 10.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายอนันต์ ผลอำนวย กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 

ที่น่าสนใจกำลังตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระร่างของ พรรคเพื่อไทย เสนอแก้ไขมาตรา 28 และมาตรา 29 ที่มีการเสนอให้บุคคลอื่นให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ หรือให้ข้อมูลแก่พรรคการเมือง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองได้  

ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ พรรคเพื่อไทยต้องการเปิดทางให้ บุคคลภายนอก ที่โยงไปถึง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สามารถเข้ามา "ให้คำปรึกษา-เสนอแนะ-แนะนำ" โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การควบคุมสั่งการกิจการภายในพรรค ใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ออกมาตอบข้อสงสัยอย่างน่าสนใจ  

 “พรรคเพื่อไทยถูกกล่าวหาว่าสอดไส้กระทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง ต้องขอเรียนว่าเจตนารมณ์ของเรา การที่บัญญัติไว้อย่างนี้ในวรรค 1 เราไม่แตะเลย พรรคการเมืองยินยอมให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองไปชี้นำครอบงำ ครอบคลุมกิจกรรมของพรรคการเมือง โดยทำให้พรรคการเมืองไม่เป็นอิสระ หรือสมาชิกไม่เป็นอิสระเราคงไว้ทุกอย่าง แต่ขยายความในวรรค 2 ว่ากิจกรรมในวรรค 1 ไม่ได้ครอบคลุมถึงการชี้นำ ชี้แนะให้คำปรึกษาจากบุคคลภายนอกที่เป็นใครก็ได้ที่เป็นประโยชน์กับพรรคการเมืองนั้น 

เราบอกว่าไม่ควรจะครอบคลุมเท่านั้นเอง โดยเขียนให้ชัดขึ้นเพื่อป้องกันการตีความ เช่น ถ้ามีนักวิชาการคนหนึ่งที่เราเชิญมา แล้วเขาชี้นำเราว่าควรทำอย่างนั้นอย่างนี้ เรานำไปพิจารณาประกอบจัดทำเป็นนโยบาย บุคคลเหล่านี้หากถูกนำไปตีความว่าเป็นบุคคลภายนอกและถูกชี้นำโดยเราขาดอิสรภาพก็ถูกยุบพรรคทันที ซึ่งไม่เป็นธรรมกับการพัฒนาด้านวิชาการ การเมืองและพรรคการเมืองจะถูกกลั่นแกล้งได้ ดังนั้นต้องการแก้ปัญหาไม่อยากให้พรรคการเมืองถูกกลั่นแกล้ง” 

ว่ากันว่า ในมุมเพื่อไทยที่วาดฝัน วางเป้าหมายการเลือกตั้งครั้งหน้า Land slide หรือชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ที่มองว่ารัฐบาลประยุทธ์อยู่มา 7-8 ปี ทำให้ประเทศถอยหลัง ผู้คนเบื่อหน่าย ประกอบกับระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ที่เอื้ออำนวยการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อที่เป็นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ใช้หลักเดียวกันในคิดคำนวณ   

ดังนั้นในส่วนที่เป็นอุปสรรค ข้อจำกัด ประเด็นเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจนำไปสู่ข้อกวนใจทางกฎหมาย จึงต้องแก้ไข ไม่เปิดช่องให้ถูกตีความนำไปสู่การ ร้องเรียน อันเป็นปัญหากวนใจ ในอนาคตได้  

ฝันของเพื่อไทยอาจจะไปไม่ถึงฝั่งฝัน เนื่องจากการที่กฎหมายลูกในวาระหนึ่งจะผ่านสภาไปได้ ต้องอาศัยเสียง ส.ส.และ ส.ว.โหวตร่วมกันให้ได้เกินกึ่งหนึ่ง เมื่อไปฟังเสียงปีก ส.ว.กับ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 

ในวันที่ 23 ก.พ. คณะ ส.ว.กลุ่มสายตรงที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียง นัดหารือเนื้อหาสาระร่างกฎหมายลูก พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส.และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง เปรียบเทียบเนื้อหาทั้ง 10 ฉบับว่า ร่างของใครส่งเสริมประชาธิปไตย ทำเพื่อประชาชน หรือเนื้อหาในร่างฉบับใดเอื้อประโยชน์ต่อผู้หนึ่งผู้ใดเป็นพิเศษ 

ก่อนที่จะออกมติเป็นข้อตกลงเบื้องต้น นำไปสู่การโหวตครั้งสำคัญวาระ 1 วันที่ 25 ก.พ.      

ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า "พรรคสนับสนุนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาล และร่างของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ยื่นโดยคณะรัฐมนตรี ส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ทางพรรคสนับสนุนร่างฉบับของพรรคร่วมรัฐบาล ร่างของ ครม.และสนับสนุนฉบับที่เสนอโดยนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรค พปชร."

ขณะเดียวกัน หัวหน้าเพื่อไทยทำใจ และบอกอย่างตรงไปตรงมาต่อการลงมติของ ส.ส.และ ส.ว.ที่ไม่น่าจะฝ่าด่านไปได้ และคงจะจอดป้ายตั้งแต่ วาระรับหลักวาระ 1 ในวันลงมติวันที่ 25 ก.พ. 

ว่ากันว่า ในเรื่องนี้เพื่อไทยมองออกมาในหลายมิติ กลุ่มฝ่ายบ้านใหญ่ คนใกล้ชิด อยากจะทำเพื่อเอาใจนาย ขณะที่อีกกลุ่มแม้เสียงไม่ดัง แต่ก็แอบลุ้นในใจ ไม่ผ่านก็ดีแล้ว เอาไปทำอะไรที่เป็น แก่นสาร ดีกว่ามาสนใจกระพี้อย่างนี้.   

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีลนายใหญ่! 'จักรภพ' นำร่องพาบริวารกลับบ้าน

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า จักรภพกลับไทย โครงการนำร่องของทักษิณ นำบริวารกลับบ้าน

ลากไส้องค์กร'สีกากี'ยิ่งแฉยิ่งเละ ถึงเวลาปฏิรูปตำรวจกู้ภาพลักษณ์

เละ! ตายตามกันไปข้าง ศึกภายในรั้ว “กรมปทุมวัน” ถึงแม้ “บิ๊กต่อ” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.และ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.จะถูกโยกไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี แต่ศึก “นอมินี” แทงฟันกันเลือดสาดไม่มีใครยอมใคร อย่างที่ ทีมทนาย “รองฯ โจ๊ก” เตือนก่อนที่ความขัดแย้งจะบานปลายมาจนถึงปัจจุบัน “ไม่ยอมตายเดี่ยว”

เดินหน้าแจกดิจิทัลวอลเล็ต หลังเพิ่มทางเลือกแหล่งเงิน

หลังเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง” เปิดแถลงข่าวไทม์ไลน์นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะเดินหน้านโยบายดังกล่าวต่อไป และจะสามารถแจกเงินให้ประชาชน 10,000 บาท ได้ภายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ คือประมาณ ตุลาคม-ธันวาคม 2567

กางไทม์ไลน์‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ รัฐบาลได้‘ไฟเขียว’แจกเงิน?

โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท นโยบาย เรือธง ของพรรคเพื่อไทย โยกเยก ไร้ความชัดเจนตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ

ทักษิณรุกคอนโทรล พท. ยิ่งขยับ ยิ่งเข้าทาง ก้าวไกล

การเดินทางเข้าพรรคเพื่อไทยของ ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะ เจ้าของพรรค-หัวหน้าพรรคเพื่อไทยตัวจริง วันอังคารที่ 26 มี.ค.นี้ ถ้าไม่มีการยกเลิกเสียก่อน แต่ก็พบว่า กระแสข่าวดังกล่าวค่อนข้างคอนเฟิร์มว่าทักษิณไปแน่