พาณิชย์ลุย “อมก๋อยโมเดล” ดันราคากระเทียมสดพุ่ง

18 มี.ค. 65 –  นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดกิจกรรม “พาณิชย์เดินหน้าอมก๋อยโมเดล@ปาย สินค้ากระเทียม” ว่า นับเป็นตัวอย่างการเดินหน้าโมเดลสำคัญทางการตลาด ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่กระทรวงพาณิชย์เริ่มต้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ชื่อว่า”อมก๋อยโมเดล” เกิดขึ้นเมื่อตอนที่ได้เดินทางไปแก้ปัญหาราคาบุกและราคาพืชผลทางการเกษตรหลายตัวที่อมก๋อยและสามารถแก้ไขปัญหาได้ประสบความสำเร็จตลอดฤดูกาลปลูก

โดยใช้เกษตรกรผู้ผลิตมาพบกับผู้ประกอบการหรือผู้ค้า บนเวทีที่กระทรวงพาณิชย์หรือกรมการค้าภายในจัดให้ โดยมีพระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา หรือ contract farming เจรจาล่วงหน้าระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการ โดยเกษตรกรผลิตได้ตามคุณภาพที่กำหนดจะประกันราคารับซื้อว่าจะซื้อในราคาไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่ และทำสัญญากัน ทำให้เกษตรกรมีหลักประกัน วันนี้คือการนำต้นแบบ “อมก๋อยโมเดล”มาใช้กับการซื้อขายกระเทียมฤดูกาลผลิตนี้ ทั้งจากเชียงใหม่ ลำพูนและแม่ฮ่องสอน โดยกรมการค้าภายในประสานงานผู้ซื้อ 6 รายใหญ่ เช่น บริษัท ตะวันพืชผล จำกัด บริษัท ยิ่งไพศาลการเกษตร จำกัด บริษัท มาตา เทรดดิ้ง จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดเรด เลม่อน บริษัท เอ็มที ฟรุ๊ตแลนด์ จำกัด และบริษัท บีวายที ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด

สำหรับการเซ็นสัญญาครั้งนี้จะอยู่ที่ประมาณ 5,520 ตันกระเทียมคละสด ซึ่งจะมีผลให้มีการดึงราคากระเทียมในตลาดให้สูงขึ้น ราคากระเทียมคละสดปีที่แล้วอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-12 บาท โดยปีนี้ราคาขึ้นถึง 14-15 บาท/กก. และหลังวันนี้อาจจะมีโอกาสที่เพิ่มขึ้นไปได้อีก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะช่วยกันดึงราคาต่อไปและทำสัญญากับจุดอื่นต่อไปเพื่อช่วยดึงราคาในตลาด ขอบคุณความร่วมมือของบริษัทค้าส่งที่เป็นผู้รวบรวมทำสัญญา contract farming หรือ “อมก๋อยโมเดล”ในวันนี้ และปั๊มน้ำมัน ทั้ง 4 แห่ง บางจาก เชลล์ พีทีและพีทีทีสเตชั่น

จากนั้นได้มีการปล่อยคาราวานรถกระเทียม จำนวน 36 ตัน ไปจำหน่ายยังสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เข้าร่วมทั้ง 4 ราย ได้รับซื้อผลผลิตเพื่อเป็นการสมนาคุณให้กับผู้ใช้บริการทั้ง 1,318 สาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้

โดยก่อนเดินทางถึงสหกรณ์การเกษตรเมืองปาย ยังได้ลงแปลงเก็บกระเทียมปลอดสารพิษจากสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “กลุ่มเกษตรกรบ้านนาฉลอง” ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับงบประมาณจากโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืมจำนวน 450,000 บาท ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการ 10 ราย และกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้พาผู้ซื้อจากนอกพื้นที่เข้ามารับซื้อในราคา 14 บาท/กก.โดยใช้”อมก๋อยโมเดล”ทำเกษตรพันธสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงเพราะมีรายได้ที่แน่นอน ซึ่งเป็นความสำเร็จร่วมกันของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้เกษตรกรมีเงินลงทุนและกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ก็จะเข้ามาช่วยเหลือหาตลาดให้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ถกทูตเช็ก ชวนลงทุน EEC พร้อมดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ตลาดยุโรป

ภูมิธรรมหารือทูตเช็ก ชวนลงทุน EEC ดันซอฟต์พาวเวอร์ มวยไทย อาหารไทย พร้อมเร่งเจรจา FTA ไทย-อียู สร้างรายได้ให้ประเทศ

พาณิชย์ตรวจเข้ม การขนย้ายมันสำปะหลังและสินค้าเกษตรที่ควบคุม เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่เกษตรกร

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ได้มีนโยบายให้กรมการค้าภายใน

สนค. เผยอาเซียนเนื้อหอม แนะเร่งเตรียมพร้อมทุกมิติ ดึงลงทุนในไทย

สนค. เผยว่า FDI ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยปี 2565 ไทยมีมูลค่า FDI เป็นอันดับที่ 5 ของภูมิภาคอาเซียน หดตัวร้อยละ 31.5 ขณะที่มูลค่า FDI ของภูมิภาคอาเซียนขยายตัวร้อยละ 4.6 ซึ่งแนวโน้มการลงทุนในไทยยังมีทิศทางที่ดีจากการขยายตัวถึงร้อยละ 72 ของยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ พร้อมแนะให้เร่งส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก ลดอุปสรรค ขยายคู่ FTA

“นภินทร“ หนุน ASEAN BAC ไทย ขับเคลื่อนการค้าดิจิทัล ยกระดับอาเซียนรับการค้ารูปแบบใหม่ ย้ำ

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ASEAN BAC