เอกชนโอดพิษสงครามทำชิป – ชิ้นส่วนรถยนต์ขาดแคลนหนัก

เอกชนโอดพิษสงครามทำชิป – ชิ้นส่วนขาดแคลนหนัก ส.อ.ท.ชี้ยอดรถยนต์นั่งวูบ กัดฟันตรึงเป้า 1.8 ล้านคัน จี้รัฐเร่งเพิ่มปั๊มชาร์จอีวี  กระตุ้นการใช้-ตลาดบูม พร้อมขอให้ดึงราคาเหลือ 6 แสนกว่า

23 มีนาคม 2565 – นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือนก.พ.65 อยู่ที่ 79,451 คัน ลดลง 0.02% จากเดือน ก.พ.64 และลดลง 13.77% จากเดือน ม.ค.65  เนื่องจากการชะลอผลิตรถยนต์นั่งบางรุ่น เป็นผลจากการขาดแคลนชิป และชิ้นส่วน ทำให้การส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปช่วง 2 เดือนปีนี้ (ม.ค.-ก.พ. 65) อยู่ที่ 149,284 คัน ลดลง 2.81% เทียบจากช่วงเดียวกันของปี 64 แต่มีมูลค่าการส่งออก 88,312.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.49% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 “ ตอนนี้เป้าส่งออกรถยนต์ที่ตั้งไว้ 1 ล้านคันไม่แน่ใจว่า จะมีผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนชิปหรือไม่ เพราะรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตสินแร่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชิปและแบตเตอรี่ ทำให้ราคาสูงขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 50% ขอรอดูสถานการณ์อีก 1-2 เดือน ซึ่งสองเดือนแรกของปีนี้ ที่ยังไม่เกิดเหตุก็มีผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนชิปอยู่แล้ว ต้องดูว่าสถานการณ์ยืดเยื้อหรือลุกลามบานปลายหรือไม่ แม้ก่อนหน้านี้จะประเมินว่าจะเกิดปัญหาความขัดแย้ง แต่ไม่คิดว่าจะเกิดเร็วจากที่คาดไว้ว่าจะเป็นช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้ ซึ่งตอนนี้ยังคงเป้าการผลิตรถยนต์ปีนี้ไว้ที่ 1.8 ล้านคัน” นายสุรพงษ์ กล่าว

สำหรับการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในเดือน ก.พ.65 อยู่ที่ 155,660 คัน เพิ่มขึ้น 0.30% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตรถกระบะขายในประเทศและผลิตส่งออกที่เพิ่มขึ้น 27.82% แต่ยังผลิตรถยนต์นั่งลดลงจากการการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนในบางรุ่น และยังกังวลการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนที่อาจรุนแรงขึ้นจากสงครามยูเครนจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ขณะที่จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในช่วง 2 เดือนปีนี้อยู่ที่ 307,407 คัน เพิ่มขึ้น 1.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 ขณะที่ยอดขายภายในประเทศมีจำนวน 74,489 คัน เพิ่มขึ้น 26.3% เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลอนุญาตให้จัดกิจกรรมด้านเศรษฐกิจมากขึ้น การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 การรับประกันรายได้เกษตรกร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเช่นคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน

ส่วนยอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ปีนี้คาดว่า มียอดจดทะเบียน 4,000 – 5,000 คัน จากปี 64 มียอดจดทะเบียน 1,900 คัน แต่ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ และราคาที่ยังสูงอยู่ หากมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาประมาณคันละ 6 – 6.5  แสนบาทได้ และจากนโยบายที่รัฐส่งเสริมที่ชัดเจน รวมถึงค่ายรถต่างๆ เริ่มตื่นตัวในการออกโปรโมชั่นยานยนต์ไฟฟ้า มีความเป็นไปได้ที่ยอดจดทะเบียนปีนี้จะเพิ่มเป็น 8,000-10,000 คันได้

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานโตโยต้าในรัสเซียได้ปิดไปแล้ว เนื่องจากมีปัญหาสินแร่ที่ผลิตแบตเตอร์รี่ และเซมิคอนดักเตอร์ ขาดแคลน  จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาพลังงานมีปัญหา หวังว่าทุกอย่างจะคลี่คลายโดยเร็ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มพช. แจงปมของบ ส.อ.ท. ทำวิจัย

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน (มพช.) พร้อมด้วยคุณพรอรัญ สุวรรณพลาย กรรมการและเหรัญญิก มพช.

'อัลฟ่าเซค' จับมือ 'ส.อ.ท.' ทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศของงาน Made in Thailand

อัลฟ่าเซค ร่วมมอบ “ใบรับรองระบบมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001:2022” ให้กับ ส.อ.ท. ในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ MiT และเตรียมรับมือกับ ภูมิทัศน์ไซเบอร์ในปี 2567

ส.อ.ท. เสนอคุมส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก ช่วยเอกชน

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 37 ในเดือนมกราคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “ดอกเบี้ยสูง หนี้พุ่ง อุตสาหกรรมไปต่ออย่างไร” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท.

ส.อ.ท. ชงภาครัฐดูแลค่าไฟฟ้าระยะเร่งด่วน วางเป้า 3.60 บาท/หน่วย

ส.อ.ท. เตรียมชงข้อเสนอภาครัฐดูแลค่าไฟฟ้าระยะเร่งด่วนปี 67 วางเป้าหมายค่าไฟฟ้าเฉลี่ยไม่เกิน 3.60 บาท/หน่วย พร้อมเสนอ 5 แนวทางบริหาร ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว หวังดูแลทั้งระบบ ดึงเป้าหมายค่าไฟเฉลี่ยไม่เกิน 3 บาท/หน่วย เร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เปิดตลาดไฟเสรี