อ่านเลย 'กสิกร' แนะวิธีรับมือมิจฉาชีพหลอกโอนเงินจากแอปฯสูญเงินเกลี้ยง

10 มิ.ย. 2565 – ธนาคารกสิกรไทย รณรงค์ต่อเนื่องแคมเปญ #ใช้สติป้องกันสตางค์ ให้ระวังมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพหลอกล่อลูกค้าให้โอนเงินด้วยการสแกน QR Code ผ่านแอปฯ ของธนาคารต่างๆ หรือล้วงข้อมูลในสมาร์ทโฟน โดยใช้ 3 กลโกง คือ “หลอกให้รับเงินคืนโดยสแกน QR Code – หลอกให้ใช้สินเชื่อเพื่อแลกรับเงินสดคืน – หลอกให้ติดตั้งแอปฯ” ย้ำตั้งสติ ไม่เชื่อ ไม่กด ไม่โหลดแอปฯ ไม่สแกน QR เพื่อรับเงิน เพราะการสแกน QR Code ใช้ได้สำหรับจ่ายเงินเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อรับเงินคืน และไม่คลิกลิงก์หรือติดตั้งแอปฯ แปลกๆ เพราะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพล้วงข้อมูลส่วนตัวที่มีอยู่ในสมาร์ทโฟนได้

นายพิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารได้รณรงค์ผ่านแคมเปญ “#ใช้สติป้องกันสตางค์” อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลที่เท่าทันกับมิจฉาชีพที่พัฒนาหาวิธีหลอกลวงเหยื่อ โดยปัจจุบันภัยไซเบอร์ขยายวงเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะภัยคุกคามในภาคการเงินที่สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับลูกค้าธนาคารต่างๆ ล่าสุด ได้พบการหลอกลวงให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟน โดยคนร้ายจะแจ้งให้เหยื่อสแกน QR Code เพื่อรับเงิน ซึ่งโดยปกติแล้ว การสแกน QR Code ด้วยแอปฯ จะทำได้สำหรับการจ่ายเงินเท่านั้น ไม่สามารถรับเงินได้ด้วยการสแกน QR Code หรือหลอกให้คลิกลิงก์หรือติดตั้งแอปฯ ที่แฝงมัลแวร์ลงบนสมาร์ทโฟน ซึ่งทำให้สามารถล้วงข้อมูลสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัญชีธนาคาร ข้อมูลยืนยันตัวตน เป็นต้น

จึงขอแจ้งเตือนให้ลูกค้าและประชาชน ระวังกลโกงใหม่จากมิจฉาชีพที่จะหลอกโอนเงินจากแอปฯ เงินออกจากบัญชีจนหมดและอาจเป็นหนี้เพิ่ม โดยมีมิจฉาชีพ 3 รูปแบบใหม่ที่ต้องระวัง ได้แก่

1.หลอกว่า ได้รับเงินคืน โดยส่ง QR Code ให้สแกน มิจฉาชีพจะปลอมเป็นร้านค้าติดต่อมา โดยอ้างว่าสินค้าหมดและจะคืนเงินให้ โดยให้เหยื่อสแกน QR Code เพื่อรับเงินคืน หรือแจ้งว่า ได้รับรางวัลหรือเงินช่วยเหลือโดยให้สแกน QR Code เพื่อรับเงินรางวัล ขอแจ้งเตือนว่า โดยปกติจะไม่สามารถสแกน QR Code เพื่อรับเงินผ่านแอปฯ (มีแต่สแกน QR Code เพื่อจ่ายเงินเท่านั้น) และทุกครั้งที่สแกน QR Code เพื่อจ่ายเงิน ต้องสังเกตเลขที่บัญชีต้นทาง ปลายทาง จำนวนเงิน ก่อนกดยืนยันการโอนเสมอ

2.หลอกเหยื่อที่ต้องการใช้เงินสดด่วน ให้ใช้สินเชื่อที่มีอยู่จ่ายค่าสินค้าหรือบริการแทนไปก่อน แล้วจะจ่ายคืนให้เป็นเงินสด มิจฉาชีพจะบอกให้เหยื่อใช้สินเชื่อที่มีอยู่ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการให้แทน โดยมีการตกลงว่าจะจ่ายคืนให้เป็นเงินสด แต่สุดท้ายเหยื่อไม่ได้ทั้งเงินคืนแถมเป็นหนี้ธนาคาร ขอแจ้งเตือนว่า สินเชื่อบุคคลบางประเภทไม่สามารถนำวงเงินไปเบิกถอนเป็นเงินสดได้ ควรตรวจสอบเงื่อนไขตามที่ตกลงไว้กับธนาคารโดยตรง

3.หลอกให้คลิกลิงก์หรือติดตั้งแอปฯ แปลกๆ ด้วยการที่มิจฉาชีพได้ข่มขู่ หลอกให้เหยื่อกลัว โดยแจ้งว่าเหยื่อเข้าไปพัวพันคดี หรือมีอันตราย จำเป็นต้องติดตั้งแอปฯ บนสมาร์ทโฟนเพื่อใช้ตรวจสอบ มีการส่ง Link หรือ QR Code หรือให้ดาวน์โหลดแอปฯ พร้อมหลอกให้บอกรหัส หรือตัวเลข ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในสมาร์ทโฟนได้ทั้งหมด ขอแจ้งเตือนว่า หากไม่เคยติดต่อหน่วยงานที่คนร้ายแอบอ้าง ให้ตัดบทสนทนาทันที อย่าไว้ใจหรือเชื่อคำพูดที่ลวงให้กระทำการใดๆ แม้เป็นคนรู้จัก รวมทั้งเช็กหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างเพื่อตรวจสอบข้อมูล

ขอให้โปรดระวัง “ตั้งสติ ไม่เชื่อ ไม่กด ไม่โหลดแอป ไม่สแกน QR เพื่อรับเงิน” สามารถแจ้งเหตุได้ผ่านช่องทางแจ้งความออนไลน์ https://thaipoliceonline.com หรือติดต่อ K-Contact Center 02-888-8888

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระบาดหนัก! มิจฉาชีพส่ง SMS ติดตั้งแอปฯรับเงินดิจิทัล 1 หมื่น เตือนอย่าดาวน์โหลด

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีว่า ตรวจสอบพบผู้เสียหายหลายได้รับข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาแจ้งว่า “ คุณได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่

เตือนภัย! มิจฉาชีพมามุขใหม่ หลอกทำใบขับขี่ปลอมว่อนโซเชียล หลอกโอนเงิน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบโจรไซเบอร์แอบอ้างกรมขนส่งฯ หลอกทำใบขับปขี่ปลอมที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com ระวังถูกล้วงเอาข้อมูลสำคัญ ด้านข่าวปลอม“การลงทุน-สินเชื่อกู้ยืม” ยังติด Top 10 ประชาชนให้ความสนใจสูงสุด เตือนอย่าเสียรู้โจร เช็คข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ

กสิกรไทยจัดงานสัมมนา EARTH JUMP 2023 รวมผู้บริหารชั้นนำระดับโลก ชวนธุรกิจก้าวกระโดดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

เปิดฉากแล้วสำหรับงานสัมมนา “EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth” จากธนาคารกสิกรไทยที่รวมสุดยอดผู้บริหารชั้นนำระดับโลกกว่า 30 ราย

กสิกรคาด กนง. ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% และจะเป็นการขึ้นครั้งสุดท้ายของรอบนี้

การประชุม กนง. วันที่ 29 มี.ค. 66 คาด กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.75% ซึ่งอาจเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในวัฏจักรนี้ ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)

กสิกร มองสหรัฐแก้ปัญหาแบงก์ปิดตัว นำไปสู่ความเสี่ยงเชิงระบบ ยันธนาคารไทยแข็งแกร่ง

ทางการสหรัฐฯ ใช้มาตรการเด็ดขาด…เพราะมองว่า ปัญหาการแห่ถอนเงินจากแบงก์รอบนี้ไม่ใช่ปัญหาเล็ก เพราะอาจนำไปสู่ความเสี่ยงเชิงระบบได้