กนอ.กางแผนปี 66 ลุย พัฒนานิคมอัจฉริยะ และท่าเรืออัจฉริยะ

กนอ.เปิดแผนแม่บทปี 66 พัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ และ ท่าเรืออุตสาหกรรมอัจฉริยะ ปั้นท่าเรือบก ” หนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน

16 ส.ค .2565- นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการผลิตน้ำจืดจากทะเล และการบริหารจัดการท่าเรือ ณ ประเทศสเปน โดยมีภารกิจใน 3 ประเด็นหลัก คือ การเยี่ยมชมท่าเรือบาเลนเซีย เยี่ยมชมระบบการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล (Desalination) ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการบริหารจัดการท่าเรือบก และระบบการขนส่งแบบ multimodal ซึ่งท่าเรือเมืองบาเลนเซีย เป็น 1 ในท่าเรือยุโรปที่มีปริมาณการขนส่งมากที่สุด และยังเป็นท่าเรือที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม Port Community System (PCS) หรือระบบศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลด้านขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้บริหารจัดการท่าเรือในรูปแบบ Smart Port

ทั้งนี้กนอ. เห็นว่าการดำเนินงานท่าเรือบาเลนเซีย สอดคล้องกับภารกิจของ กนอ.ซึ่งอยู่ระหว่างการขยายท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 เพื่อรองรับการขนส่งก๊าซ NGV และสินค้าเหลว ตลอดจนการประกอบกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งการพัฒนา“ท่าเรือบก (Dry Port)” เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค ทั้งนี้ กนอ.จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากท่าเรือบาเลนเซีย มาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมอัจฉริยะที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามเป้ายุทธศาสตร์ปี 2566 ที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านสาธารณูปโภค (IEAT4.0) และนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ให้บริการและสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้

“แผนแม่บทนี้จะนำไปใช้ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) เป็นพื้นที่นำร่อง รวมถึงเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมโดยใช้ข้อมูล ให้แก่นิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ในประเทศไทย เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม” นายวีริศ กล่าว

ขณะเดียวกันยังได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาคมการผลิตน้ำจืดจากทะเล และการนำน้ำกลับมาใช้แห่งสเปน (La Asociacion Espanola de Desalacion y Reutilizacion – AEDyR) เพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการคัดเลือกพื้นที่ตั้งระบบผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล อัตรากำลังการผลิตที่เหมาะสม การคัดเลือกเทคโนโลยี ผลกระทบการระบายน้ำทิ้ง และการศึกษาในเชิงสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย และการลงทุน

ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ EEC สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น พบว่า กระบวนการ RO หรือ Reverse Osmosis ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนน้ำทะเลผ่านสู่ระบบเยื่อกรองด้วยแรงดันสูง เป็นกระบวนที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถใช้ร่วมกับพลังงานทางเลือกได้ และมีความยั่งยืนมากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาจนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) และค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) ต่ำกว่ากระบวนการอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีศักยภาพสูงที่เหมาะสมสำหรับตั้งโรงผลิตน้ำจืดจากทะเล อยู่บริเวณพื้นที่มาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กนอ.ดึงเอกชนตั้งรง.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาฯ ในนิคมฯ ภาคใต้ มูลค่าลงทุน 1,057 ลบ.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผย เอกชนรายใหญ่ทุ่มทุนตั้งโรงงานพื้นที่ Rubber City ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา บนพื้นที่ 35 ไร่ มูลค่าการลงทุน 1,057 ล้านบาท ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาชนิดไม่เสริมเหล็ก ในเขตอุตสาหกรรมยางขั้นปลายน้ำส่วนหลัง ตอบรับนโยบายรัฐบาลในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เสริมสร้างการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน

'พิมพ์ภัทรา' กำชับการนิคมฯ คุมเข้มอุบัติเหตุช่วงปีใหม่

'พิมพ์ภัทรา'กำชับคุมเข้มมาตรการความปลอดภัยช่วงหยุดยาวปีใหม่ 2567 กนอ.รับลูก ย้ำ 68 นิคม 1 ท่าเรือ วางมาตรการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงตามมาตรฐาน หวังฉลองปีใหม่แบบไร้อุบัติเหตุ

นิคมอุดรฯ วอนรัฐ หนุนเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ NeEC

นิคมอุดรฯ วอนรัฐ หนุนเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ NeEC เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่า เชื่อดึงดูดให้ลงทุนในพื้นที่ CLMVT เชื่อมโยงการบริการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ และพิธีศุลกากรในจุดเดียวเบ็ดเสร็จ

กนอ. ลุยยกระดับ 'เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ' ปี’66 สำเร็จตามเป้า

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผย ยกระดับ “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” ปี’66 สำเร็จตามเป้า พร้อมลุยต่อแผนปีงบประมาณ 2567 ให้สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 13 เป้าหมาย ย้ำยังผลักดัน สิทธิประโยชน์ทั้งการลดหย่อน /ยกเว้น ค่าบริการอนุญาตในระบบ e-PP

กนอ.เข้มผุดระบบคุมขนกากเสีย

กนอ. เข้มลุยระบบติดตามเคลื่อนย้ายกากของเสียโรงงานอุตสาหกรรมแบบเรียลไทม์ ในนิคมฯ ครอบคลุมพื้นที่นิคม 14 แห่ง ป้องกันการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม หวังสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคม

กนอ. ผนึก 4 บริษัทยักษ์ใหญ่พลังงาน ปั้นสาธารณูปโภคอัจฉริยะในนิคมฯ สมาร์ท ปาร์ค

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ผนึก 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน ศึกษาความเป็นไปได้ จัดตั้งบริษัทร่วมทุนและบริษัทในเครือ กนอ. ให้บริการด้านพลังงาน รวมถึงระบบสาธารณูปโภคอัจฉริยะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park)