
16 ต.ค. 2565 – กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2565 ดังนี้
1.ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 50/2565 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำท่าจีน กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำท่าจีน พบว่ามีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 9 – 10 ตุลาคม 2565 บริเวณตอนบนเขื่อนกระเสียว ส่งผลให้วันที่ 11 ตุลาคม 2565 มีน้ำปริมาณมากไหลเข้าเขื่อนกระเสียว 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีปริมาณน้ำเก็บกัก 318 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 106 และมีน้ำไหลผ่านอาคารระบายน้ำล้นและอาคารระบายน้ำในตัวเขื่อน รวม 130 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงสู่ลำห้วยกระเสียวและแม่น้ำท่าจีนตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นในช่วงวันที่ 13 – 16 ตุลาคม 2565
ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน บริเวณปากน้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ จึงขอให้เฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ลำห้วยกระเสียว บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ตำบลแจงงาม และหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง ตำบลกระเสียว และหนองสะเดา อำเภอสามชุก ตำบลหนองกระทุ่ม ป่าสะแก วังศรีราช หัวเขา และบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่งประมาณ 0.10 – 0.15 เมตร และแม่น้ำท่าจีน บริเวณตั้งแต่อำเภอสามชุก ศรีประจันต์ เมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า และสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางเลน นครชัยศรี และสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอกระทุ่มแบน และเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.15 – 0.30 เมตร
2.ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำท่วมขังในชุมชนวัดเทพนารี เขตบางพลัด และข้างสำนักงาน เขตบางพลัด เพื่อตรวจสอบการรั่วของแนวป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากมีน้ำรั่วหลังแนวเขื่อน พร้อมกับดำเนินการเรียงกระสอบทรายป้องกันในจุดที่เป็นช่องเปิดและฟันหลอรวมถึงนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อสูบน้ำออกจากบริเวณบ้านเรือน
3.สถานการณ์น้ำท่วม
อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย รวมถึงพายุ “โนรู (NORU)” ที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2565 ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขัง ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. – 15 ต.ค. 65 จำนวน 59 จ. 314 อ. 1,574 ต. 9,669 ม. ประชาชนได้รับผลกระทบ 425,287 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 34 จังหวัด ภาคเหนือ 7 จังหวัด จังหวัดลำปาง พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ และตาก ภาคกลาง 12 จังหวัด จังหวัดลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และนนทบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด จังหวัดหนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก 3 จังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และนครนายก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปัตตานีระทม! เจอท่วมระลอก 4 ซ้ำร้ายน้ำจากยะลามาเติมอีก
อำเภอเมืองปัตตานีเจอท่วมระลอก 4 ชาวบ้านโอดขาดแคลนอาหาร-ยารักษาน้ำกัดเท้า เตรียมช้ำหนักจังหวัดเตือนน้ำจากยะลาจะมาหนุนอีก
หลายหมู่บ้านในปัตตานียังระทม! น้ำท่วม 2-3 ระลอก
หลายหมู่บ้านในปัตตานีถูกน้ำท่วมหลายระลอก ชาวบ้านเดือนร้อนนานนับเดือน ขาดน้ำดื่ม นายอำเภอเร่งแจกน้ำดื่ม
9-10 ธ.ค.บิ๊กตู่สั่ง 'ธนกร' ลงพื้นที่นครศรีฯดูแลเรื่องน้ำท่วม!
'ธนกร' เผย นายกฯ สั่งลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมนครศรีธรรมราชอย่างใกล้ชิด ระหว่าง 9 - 10 ธ.ค. เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาอย่างรวดเร็วและตรงจุด
ประกาศ ฉ.5 ‘กอนช.’ เตือนน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลากพื้นที่ภาคใต้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 56/2565 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้
เร่งสำรวจน้ำท่วม จ.นครศรีธรรมราช ก่อนประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ
กอนช. ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ เน้นย้ำหน่วยงานบูรณาการการช่วยเหลือและลดผลกระทบต่อประชาชน
เตือนด่วน 12 จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน!
ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศฉบับที่ 54/2565 เรื่อง “เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้” ระบุว่า กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ