'องค์กรผู้บริโภค' ชี้มีการโมเมหนี้แฝงรถไฟฟ้าสายสีเขียว ดักทางผู้ว่าฯกทม.จะไม่ต่อสัญญา

'กมล' ชี้มีการโมเมหนี้แฝงเพื่อเป็นข้ออ้างต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปี อย่างไม่โปร่งใส เผยคำนวณแล้วค่าโดยสารไป-กลับตลอดสาย 29.26 บาทเท่านั้น หวังผู้ว่าฯ กทม. จะไม่ต่อสัญญาที่จะสร้างภาระให้กับปชช.ในอนาคต

2 พ.ย.2565 - นายกมล กมลตระกูล กรรมการนโยบาย และประธานอนุกรรมการ ด้านการเงินการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค โพสต์ข้อความถึงปัญหา รถไฟฟ้าสายสีเขียว มีเนื้อหาดังนี้

ชาวก.ท.ม. ควรมีโอกาสใช้รถไฟฟ้าราคาถูกเหมือนนานาประเทศ คือจ่ายค่าโดยสารไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน

การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งเป็นไข่แดงของระบบทั้งหมด ยังน่าเป็นห่วงว่าจะเดินหน้า แล้วประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารแพงกว่าที่คนทั่วโลกจ่ายในประเทศของเขา

หากเดินหน้าต่อสัญญาก่อนสัญญาเก่าหมดอายุตั้ง 7 ปี จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าทำไมไม่ให้หมดสัญญาแล้ว จ้างบริหารโดยการแบ่งรายได้ ซึ่ง ก.ท.ม. สามารถกำหนดราคาได้

หนี้รถไฟฟ้า มีหนี้แฝงที่เป็นการคาดการณ์ว่าจะเกิด หาก ก.ท.ม. เดินรถเอง และยังไม่เกิดนำมารวมด้วยในการต่อรองขอต่อสัญญา

ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและไม่คัดค้านการต่อสัญญา ซึ่งมีความพยายามจะรวบหัวรวบหางมาก่อนหน้านี้

จากการศึกษาของสภาองค์กรของผู้บริโภคพบว่า

การต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งเป็นสายหลักใจกลางเมือง ที่ยืดเยื้อมานานตั้งแต่สมัยอดีตผู้คนเก่า กรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบันยังลูกผีลูกคนอยู่ว่าจะต่อหรือไม่

ในอดีตมีการโมเมตัวเลขหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวให้เกินจริงโดยรวมหนี้ใน 10 ปีข้างหน้าที่ยังไม่เกิดมารวมเป็นหนี้ปัจจุบันเพื่อเป็นข้ออ้างต่ออายุสัมปทานสายสีเขียวีก 30 ปีอย่างไม่โปร่งใส

ตัวเลขหนี้ที่เคยเผยแพร่ในสื่อ คือ จำนวน 148,716.2 ล้านบาท( ประชาชาติธุรกิจ 14 กุมภาพันธ์ 64) ที่ กทม. อ้างขึ้นมาเพื่อแลกกับการต่ออายุสัมปทานแล้วคิดค่าโดยสารตลอดวาย 104 บาท หรือ 208 บาทในการเดินทางไปกลับ

แต่ตัวเลขที่กทม. ค้างจ่ายจริง ณ.ปัจจุบัน มีเพียง 34,837.00 ล้านบาทเท่านั้น

แบ่งเป็น หนี้การลงทุนโครงสร้าง 18,145.00 ล้านบาท

เงินชดเชยส่วนต่อขยาย 7090.00 ล้านบาท

หนี้ค้างชำระเดินรถ 3 ปี9 เดือน 9602.00 ล้านบาท

ตัวเลขต่างกันถึง 113,879.2 ล้านบาท คือ 1 แสน 1 หมื่น 3 พัน 8 ร้อย 79.2 ล้านบาท ทั้งนี้โดยคิดรวม ค่าใช้คืนดอกเบี้ยและค่างานระบบในอนาคตตั้งแต่ปี 2573 ถึงหมดอายุสัมปทานเป็นเงิน 88,904 ล้านบาท และ หนี้ค้างเดินรถส่วนต่อขยาย ตั้ง ปี 2562-2572 อีก 21,132 ล้านบาท ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ได้ถูกนำมาเป็นยอดหนี้ในการพิจารณาของกทม.เพื่อแลกกับการต่ออายุสัมปทานไปอีก 30 ปี โดยอ้างว่า เป็นการล้างหนี้ ให้เอกชนจ่ายแทน

จากข้อมูลที่ถูกนำเสนอในกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร พบว่า กรุงเทพมหานครสามารถคืนหนี้สินได้ทั้งหมด และยังมีเงินเหลือนำส่งรัฐบาลได้มากถึง 380,200 ล้านบาท ในปี 2602 หากกทม. ไม่ต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้า โดยใช้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ผู้บริโภค ต้องจ่าย 49.83 บาท ในการคำนวณ

2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียวจะเหลือเพียง 29.26 บาท เพราะกทม. สามารถนำกำไรที่เกิดขึ้น 380,200 ล้านบาท มาสนับสนุนการลดค่าโดยสาร ซึ่งจะทำให้ลดได้ถึงปีละ มากกว่า 12,673.33 ล้านบาท หรือเดือนละ 1,056.11 ล้านบาท หรือวันละ 35.20 ล้านบาท หากคิดจำนวนผู้โดยสารวันละ 1 ล้านคน เราสามารถลดราคาให้ผู้บริโภคได้สูงถึง 35.20 บาทต่อคนต่อวัน เมื่อนำไปหักลบจากราคาที่ตั้งต้นค่าโดยสาร 49.83-35.20 = 14.63 บาทต่อเที่ยว ไปกลับตลอดสายทั้งวันจำนวน 29.26 บาทเท่านั้น

นี่ยังไม่รวมรายได้จากเชิงพาณิชย์ และรายได้จากการขายพื้นที่ให้โฆษณาตามสถานี และตลอดระยะทางของเส้นทางเดินรถอีกต่างหาก

ซึ่งสามารถนำรายได้นี้มาชดเชยลดค่าโดยสารลงได้อีก

จากตัวเลขข้างต้น จึงเกิดคำถามว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนและพวกพ้องใช่หรือไม่??

หากกทม. ไม่เร่งต่อสัญญา นอกจากจะคืนหนี้ได้หมด โดยไม่นำรายได้มาลดค่าโดยสารรถให้กับประชาชน ก็ยังสามารถนำเงินส่งรัฐ ได้สูงถึง 380,200 บาท

การต่อสัญญาจึงเป็นการสร้างภาระให้ผู้บริโภคที่ต้องจ่ายสูง ถึง 65 บาทตลอดสายต่อ 1 เที่ยว ไปกลับ 130 บาทต่อวัน เท่ากับ 40% จากค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาทในกรุงเทพ ฯ

ยังไม่มีข้อมูล หลักฐานชี้แจงให้กับสาธารณชน ว่าคิดราคา 65 บาทต่อเที่ยว จากฐานคิดอะไร

ราคาค่ารถไฟฟ้าตลอดสายตามมาตรฐานสากลในเมืองใหญ่ๆเกือบทุกเมืองล้วนไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้างขั้นต่ำของเมืองนั้นทั้งสิ้น

ค่ารถไฟฟ้าของไทยต่อเที่ยวตลอดสายจึงไม่ควรเกิน 20 บาท ไปกลับตลอดสายไม่เกิน 40 บาท

ดังนั้นการต่อสัญญาที่ไม่กำหนดเพดานการคิดราคาไม่ให้เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้างขั้นต่ำตามมาตรฐานสากลจึงเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนยาวนานถึง 38 ปี จนถึงปีพ.ศ. 2602

หวังว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด กทม. จะไม่เดินหน้าต่อสัญญาที่จะสร้างภาระให้กับประชาชนยาวนานไปในอนาคตอีก 30 ปีข้างหน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการ' ยกเคสอเมริกา 'เงินดิจิทัล' ควรโอนเข้าบัญชีให้คนจน นำไปล้างหนี้จะเพิ่มกำลังซื้อ

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ว่า

จับตา 17 ม.ค. 'สภากทม.' เคาะเคลียร์หนี้สายสีเขียว

17 ม.ค.นี้ สภา กทม.สางปัญหารถไฟฟ้า จ่อพิจารณาหนี้ติดตั้งระบบส่วนต่อขยาย “สายสีเขียว” กว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ด้าน “ชัชชาติ” เสนอขออนุมัติงบศึกษา ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน 1.4 หมื่นล้าน

'นักวิชาการอิสระ' เตือนไทยไม่เข้าร่วม 'BRICS' หายนะศก.ยิ่งกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง จับตา 'SCO'

'กมล' วิเคราะห์ อำนาจภูมิรัฐศาสตร์ของไทย เตือนหากไม่เข้าร่วม BRICS ยังผูกอยู่กับดอลลาร์ เงินบาทจะไร้ค่าไปด้วย หายนะทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง จับตา องค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้ SCO จะแทนยูเอ็น

นักวิชาการ ฟันเปรี้ยง 'กระเช้าขึ้นภูกระดึง' เอื้อนายทุนผูกขาด มุ่งกำไรสูงสุด คนเที่ยวเดือดร้อนถูกโขกราคา

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า โครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงกำลังมาแรง!

ดีเดย์ 30 พ.ย.นี้ ใช้บัตร EMV เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง-สีม่วง 20 บาทตลอดสาย

‘สุรพงษ์’ ลงพื้นที่ใช้บัตร EMV คิดค่าโดยสารเดินทางเชื่อมต่อ รถไฟฟ้า ‘สายสีแดง-สีม่วง’ราคาสูงสุดเพียง 20 บาท ย้ำช่วยลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางแก่ประชาชน ด้าน ‘รฟม.’ชี้พก EMV ใบเดียว ใช้บริการรถไฟฟ้าจ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว