ก.ล.ต.เล็งตีกรอบให้ชัดเรื่องตั๋วเงินเป็นหลักทรัพย์

ก.ล.ต.จ่อปรับปรุงการกำหนดลักษณะตั๋วเงินที่เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ให้ชัดเจน หวังให้สอดรับทางปฏิบัติมากขึ้น

24 พ.ย.2565 - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกเอกสารฉบับที่ 214 / 2565 ระบุว่า ตามที่ ก.ล.ต. มีหลักเกณฑ์กำหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ เพื่อการกำกับดูแลเฉพาะตั๋วเงินที่ออกเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชนเป็นการทั่วไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ โดยได้ใช้บังคับมาระยะหนึ่งแล้วนั้น ก.ล.ต. พบว่า ยังมีบางประเด็นที่เป็นอุปสรรคกับการดำเนินงานของภาคเอกชน จึงมีแนวคิดปรับปรุงหลักการในการกำหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับทางปฏิบัติของภาคเอกชน ไม่เป็นอุปสรรคและเพิ่มความสะดวกให้กับภาคเอกชนมากขึ้น รวมทั้งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) ที่ต้องการกำกับดูแลเฉพาะตั๋วเงินที่ออกเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชนเป็นการทั่วไป

ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และร่างประกาศที่เกี่ยวกับลักษณะของตั๋วเงินที่เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้ตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ ได้แก่ (1) ตั๋วเงินที่ออกเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมให้กับบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงิน (สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)) ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการระดมทุนในวงกว้าง และ (2) ตั๋วเงินที่ออกให้กับบริษัทภายในกลุ่มเดียวกัน เพื่อการกู้ยืมภายในกลุ่ม ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการระดมทุนในวงกว้างจากประชาชนและมีข้อความในด้านหน้าของตั๋วเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้”

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=850 ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: [email protected] จนถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2565

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกพ. ตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย 4.18 บาท/หน่วย ถึง ส.ค. 67

กกพ. ประกาศตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย จนถึงเดือน ส.ค. 67

นายกฯ แขวะ 'ธปท.' ชมคนพูดลดดอกเบี้ยจิตใต้สำนึกดี

'เศรษฐา' แขวะ 'แบงก์ชาติ' ไม่ยอมหั่นดอกเบี้ย ชมเปาะเหล่าทัพ-หน่วยงานรัฐ มีจิตสำนึกดีอยากให้ลด ขอบคุณเห็นความลำบากประชาชน ย้ำเรื่องหนี้สารตั้งต้นหายนะประเทศ

'กุนซือนายกฯ' กระทุ้งอีก! 'ธปท.' ต้องเร่งลดดอกเบี้ย

'พิชัย' ห่วงเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ หลังเงินเฟ้อติดลบ 5 เดือนซ้อนสวนทางโลก จี้ ธปท. หั่นดอกเบี้ยนโยบาย ลดช่วงห่างเงินกู้เงินฝาก ตามสภาพัฒน์ฯ แนะนำ

‘อดีตเลขาฯรมว.ตท.’ เตือน กดดันลดดอกเบี้ย อาจเสี่ยงซ้ำรอยวิกฤตค่าเงินบาทปี’40

อย่าทำลายความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง อย่าทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารชาติ จะกระทบต่อฐานะเงินบาทในภูมิภาค