ทช.นำร่องถนนราชพฤกษ์ ประเดิมใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม.ต่อชม.

“กรมทางหลวงชนบท” ประเดิมใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม.ต่อชม. ถนนราชพฤกษ์ 7.250 กม. เร่งติตตั้งแบริเออร์คอนกรีต 2 สายทาง “ราชพฤกษ์-นครอินทร์” ให้แล้วเสร็จ เพิ่มระยะทางให้ใช้ได้ครบ 30 กม. เดือน ม.ค.66 เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัย

19 ธ.ค. 2565 – รายงานข่าวจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) แจ้งว่า ได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยบนทางหลวงชนบทรองรับการปรับความเร็วจำกัดไม่เกิน 120 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) จำนวน 2 สายทาง ระยะทางรวม 30.60 กิโลเมตร (กม.) งบประมาณ 250.46 ล้านบาท ได้แก่ 1.ถนนทางหลวงชนบทสาย นบ.3021 (ถนนราชพฤกษ์) ระหว่าง กม.ที่ 19+410 ถึง กม.ที่ 39+850 ระยะทาง 20.44 กม. และ 2.ถนนทางหลวงชนบทสาย นบ.1020 (ถนนนครอินทร์) ระหว่าง กม.ที่ 0+480 ถึง กม.ที่ 10+640 ระยะทาง 10.16 กม.ปัจจุบันได้นำร่องเปิดใช้งานบริเวณถนนราชพฤกษ์ (นบ.3021) กม.ที่ 32+600 ถึง 39+850 ระยะทาง 7.250 กม. จากทั้งหมด 20.44 กม. มาแล้วตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้มีแผนดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งโครงการภายในเดือน ม.ค.66 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 โครงการ ดังนี้ 1.งานติดตั้งเครื่องหมายจราจรบนผิวทาง งบประมาณ 92.960 ล้านบาท โดยได้ทำการทาสีตีเส้นแบ่งช่องจราจร ทาสีเครื่องหมายกำหนดระยะห่างจากยานพาหนะคันหน้า ตีแถบสั่นสะเทือน (Rumble Strip), งานป้ายจราจร แนะนำให้ผู้ขับขี่เว้นระยะจากคันหน้า ชุดป้ายจำกัดความเร็วแต่ละช่องจราจรพร้อมโครงเหล็กแบบ Overhead ชุดป้ายจราจรเขตบังคับใช้ความเร็ว และงานติดตั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ (ITS) ได้แก่ ระบบควบคุมการใช้ช่องจราจรบนทางหลวง ระบบควบคุมการใช้ความเร็วจำกัดแต่ละช่องจราจร ระบบตรวจจับความเร็ว และระบบสำรวจข้อมูลสภาพอากาศ ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ และ 2.งานก่อสร้างติดตั้งกำแพงคอนกรีตแบบ Single Slope Barrier งบประมาณ 157.500 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จ 87.99% และดำเนินการให้แล้วเสร็จครบ 100% ต่อไป

โดยกระทรวงคมนาคมได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ.2546 โดยกำหนดบังคับแก่ทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่มีทางเดินรถ ซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องจราจรขึ้นไป มีเกาะกลางถนนแบบกำแพง และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน ตามที่ผู้อำนวยการทางหลวงประกาศ โดยกำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม.ต่อชม. ซึ่งมีรายละเอียดตามที่กฎกระทรวงกำหนด

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะช่วยในการปรับพฤติกรรมการขับขี่และสื่อสารให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามที่กฎกระทรวงกำหนดความเร็วฯ พ.ศ. 2546 กำหนดไว้ ซึ่งนอกจากจะกำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม.ต่อชม.ช่องจราจรขวาสุดยังกำหนดให้ใช้ความเร็ว ไม่ต่ำกว่า 100 กม.ต่อชม. นอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยนั้น ยังช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุในลักษณะยานพาหนะเสียหลักข้ามช่องจราจรได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการร่วมกันภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพื่อเป็นการปรับพฤติกรรมการขับขี่และส่งเสริมให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะปฏิบัติตามกฎจราจร เพิ่มความมั่นใจในการใช้รถใช้ถนน อันจะส่งผลให้ลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ ตามกฎกระทรวงคมนาคมและเป็นไปตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวภูเก็ตเดือดร้อน เอกชนปิดทางลงหาดแหลมหงา รวมตัวทวงคืนพื้นที่สาธารณะ

ชาวภูเก็ตและชาวบ้านตำบลรัษฎา รวมตัวกัน กว่า 300 คน บริเวณประตูทางเข้าของเอกชนที่ปิดกั้นถนนหลวง ของ บริษัท แหลมหงา ดิเวลล็อบเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นถนนที่กรมทางหลวงชนบทได้เป็นผู้สร้างเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537

ชาวมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด เฮ! ทช.เปิดใช้ 2 ถนน บรรเทาจราจรติดขัด - สัญจรสะดวกปลอดภัย

กรมทางหลวงชนบท เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมให้สมบูรณ์อย่างยั่งยืน เปิดใช้ถนนตักสิลาวิถี และถนนจำปาบุรี ผังเมืองรวมเมืองมหาสารคาม บรรเทาการจราจรติดขัด ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนสัญจรได้อย่างสะดวกปลอดภัย

งดงาม! ไฟประดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 28 ก.ค. เปิดให้ชมถึงเที่ยงคืน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ภาพและข้อความบนทวิตเตอร์ ttraisuree ระบุว่า เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 70 พรรษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 กรมทางหลวงชนบทร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเฉลิมพระเกียรติ

ศักดิ์สยาม เดินหน้าบูรณาการ 3 หน่วยงาน ทล.-ทช.-กทพ. พัฒนานวัตกรรม และโครงข่ายทางถนน ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการดำเนินงาน มุ่งแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการบูรณาการการพัฒนานวัตกรรม