'สุพัฒนพงษ์' เผยนายกฯสั่งลดค่าไฟแล้ว ยอมรับทำไม่ถูกใจทุกกลุ่ม

“สุพัฒนพงษ์” เผยนายกฯ สั่งลดค่าไฟแล้ว แต่รับไม่สามารถทำให้ถูกใจได้ทุกกลุ่ม รอบอร์ดกกพ.เคาะอีกครั้ง 28 ธ.ค. นี้ ด้าน ปตท.ผุดแผนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ลดลงอีก ด้าน กฟผ.โอดรับภาระค่าเอฟทีไม่ไหว อาจกระทบการนำส่งเงินเข้ารัฐ

27 ธ.ค. 2565 – นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีการสั่งให้ทบทวนราคาค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) ให้ถูกลงกว่าเดิมที่ 190.44 สตางค์ต่อหน่วย หรือคิดเป็นค่าไฟ 5.69 บาทต่อหน่วยแน่นอน แต่คงไม่เยอะเท่าไหร่และอาจไม่ถูกใจใครบางกลุ่ม ซึ่งขณะนี้ได้ส่งตัวเลขให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรียบร้อยแล้ว โดยวันที่ 28 ธ.ค. 2565 จะมีการประชุมบอร์ดกกพ.เพื่อคำนวณตัวเลขใหม่อีกครั้งในหลายมิติ

ทั้งนี้อยากให้ทำความเข้าใจว่าเป็นวิกฤติพลังงานจริง ๆ ซึ่งการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) มีราคาสูงมากอยู่ที่ระดับ 29-30 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ดังนั้น สิ่งที่ต้องคิดคือการปรับตัว ซึ่งขณะนี้ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะเร่งกำลังผลิตในอ่าวไทยให้มากขึ้น โดยในต้นปี 2566 จะเพิ่มกำลังผลิตได้ จึงอยากให้เข้าใจว่าของมีขึ้นได้ก็ลงได้

“ในช่วงนี้ภาคธุรกิจฟื้นตัวดีขึ้นส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากมาก และยิ่งมากเท่าไหร่เราต้องนำเข้า LNG มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งวันนี้เรานำเข้าเชื้อเพลิงมากแพงเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่ได้คิดค่าสายส่ง จะตกหน่วยละประมาณ 6.50 บาท แต่หากรวมแล้วจะตกหน่วยละ 7-8 บาท ซึ่งก็มีแผนที่จะลดการนำเข้าก๊าซ LNG ใช้น้ำมันดีเซลมาผลิตไฟฟ้าแทน เดือนละ 400 ล้านลิตร หรือ 15% ของการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมด และการขยายเวลาใช้ถ่านหิน 5% รวมเป็น 20% เข้าไปแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แบกหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นได้ชัดคือภาคครัวเรือนก็เริ่มมีการประหยัด ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะช่วยอย่างไร เพราะเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟลดลง ซึ่งใช้ไฟโดยรวมที่ 17% ของภาคพลังงานทั้งหมด รัฐบาลก็ไม่ได้อยากไปผลักภาระให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบุญคุณต่อการเติบโตของประเทศ และยืนยันว่าตัวเลขเอฟทีจะลดลงแน่นอน แต่อาจไม่ถูกใจใคร จึงอยากให้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งทุกฝ่ายพยายามเต็มที่ ต้องเสริมสภาพคล่องกฟผ.ด้วย ซึ่งพิจารณาตัวเลขคืนกฟผ.ที่ 0.33 สตางค์คือต่ำเท่าที่จะต่ำได้แล้ว

“อยากให้กลุ่มธุรกิจทำเหมือนตอนเราแก้ปัญหาโควิด หันหน้าคุยกัน เราตระหนักว่าอะไรปรับได้ก็ปรับ ซึ่งอยากให้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ช่วยดูตรงนี้ เพราะเป็นภาคพลังงานที่ใช้แก๊ส LNG เป็นเชื้อเพลิงสูง และใช้ในราคาเฉลี่ยเหมือนกัน ซึ่งเอกชนยังไม่มีความพยายามใช้น้ำมันเตาหรือแก๊สตัวอื่นเลย อย่ามาเอาค่าเฉลี่ยราคาเท่ากับประชาชนกว่า 23 ล้านครัวเรือน มี”นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ปตท.อยู่ระหว่างหาวิธีช่วยเหลือตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ขอความร่วมมือพิจารณาจัดสรรรายได้จากการดำเนินธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อเดือน ระยะเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่ ม.ค. – เม.ย. 66) เป็น 6,000 ล้านบาท มาช่วยสนับสนุนในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า แบ่งเป็นส่วนที่ 1 ลดราคาค่าก๊าซฯ ให้กฟผ. เพื่อลดค่าไฟกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 500 หน่วยต่อเดือน

ส่วนที่ 2 ลดราคาก๊าซฯ สำหรับโรงแยกก๊าซฯ ในการคำนวณต้นทุนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เพื่อเป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ การช่วยเหลือมีหลายวิธีที่ไม่ใช่เฉพาะการช่วยเหลือในเรื่องของเงินเท่านั้น แต่ยังมีการบริหารจัดการเพื่อที่จะทำให้ต้นทุนลดลงเพื่อเอาไปคำนวนช่วยเหลือกลุ่มเหราะบาง เป็นต้น

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า หากภาคเอกชนที่ต้องการให้ปรับลดค่าไฟฟ้างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 ภาครัฐจะต้องหาเงินมาสนับสนุน หรือให้งดนำส่งเงินเข้ารัฐ ทั้งนี้ รายได้ กฟผ. นำส่งรัฐนั้นค้างจ่ายปีก่อน ๆ ที่ 14,000 ล้านบาท และในปี 2565 ประมาณ 17,000 ล้านบาท หากให้แบกรับไปมากกว่านี้ก็คงไม่ไหว

สำหรับการปรับอัตราค่าเอฟที ในรอบนี้ มาจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ที่มีราคาแพงมาทดแทนเพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและก๊าซธรรมชาติ และจากเมียนมาที่ลดลง อีกทั้งต้องทยอยจ่ายคืนหนี้ค่าเอฟทีคืนให้กับ กฟผ. บางส่วนราว 33 สตางค์ต่อหน่วย หรือคิดเป็นเงิน 2 หมื่นล้านบาทต่องวด เพื่อให้ได้รับเงินคืนครบภายในเวลา 2 ปี ขณะที่กฟผ.ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 101,881 ล้านบาท

“หากจะจ่ายคืนค่าเอฟทีให้กับ กฟผ. ต่ำกว่า 33 สตางค์ต่อหน่วยก็คงไม่ไหวแล้ว กฟผ. ไม่สามารถแบกรับต้นทุนไปได้มากกว่านี้อีกแล้ว หากต้องการลดค่าไฟรัฐคงต้องหาเงินส่วนอื่นมาช่วยอุดหนุน”นายบุญญนิตย์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกพ. ตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย 4.18 บาท/หน่วย ถึง ส.ค. 67

กกพ. ประกาศตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย จนถึงเดือน ส.ค. 67

ยกน้ำหนัก-กฟผ.-นครศรีฯ-ภูเก็ต ร่วมเฟ้นหาจอมพลังไทย มุ่งสู่โอลิมปิก

สมาคมกีฬายกน้ำหนักฯ ร่วมกับ จ.นครศรีธรรมราช จ.ภูเก็ต กฟผ. และเครือข่ายพันธมิตร แถลงข่าวเตรียมจัดการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และการแข่งขันยกน้ำหนักเวิลด์ คัพ ประจำปี 2567 เฟ้นหานักยกลูกเหล็กทีมชาติไทย

บอกต่อ 5 ข้อดีของการจ่ายบิลค่าไฟฟ้าผ่านทางออนไลน์

ในยุคดิจิทัลการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์กำลังเป็นที่นิยม การจ่ายบิลค่าไฟฟ้า ก็เช่นกัน เนื่องจากในปัจจุบันสามารถจ่ายบิลไฟฟ้าทางออนไลน์ได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันขอการไฟฟ้าเองก็ตาม นั่นจึงทำให้การจ่ายบิลค่าไฟฟ้าออนไลน์สะดวก