
”จีไอที”เผยส่งออกอัญมณี 11 เดือนปี 65 เพิ่มขึ้น 34.02% มูลค่ากว่า 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว คาดทั้งปียังบวกได้อีก แต่ต้องจับตาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง ฉุดกำลังซื้อ
10 ม.ค. 2566 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนพ.ย.2565 มีมูลค่า 687.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 868.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.98% และยอดรวม 11 เดือนของปี 2565 (ม.ค.-พ.ย.) หากไม่รวมทองคำ มีมูลค่า 7,466.16 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 34.02% และหากรวมทองคำ มีมูลค่า 14,489.54 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 57.24%
สำหรับปัจจัยที่ทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวเพิ่มขึ้น มาจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น จากการที่เงินเฟ้อและราคาสินค้าในหลายประเทศเริ่มลดลง ค่าขนส่งสินค้าในหลายเส้นทางทั่วโลกปรับลดลง การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ทำให้มีการซื้อสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น และช่วงปลายปี 2565 เป็นช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอย จึงเป็นปัจจัยหนุนทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เงินบาท แม้จะแข็งค่าขึ้น แต่ก็ไม่ได้แข็งเร็วเกินไป ยังช่วยให้สินค้าไทยแข่งขันได้ และหลายตลาด มีการสั่งซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นายสุเมธ กล่าวว่าตลาดส่งออกสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวได้ดีในช่วง 11 เดือน ได้แก่ สหรัฐฯ เพิ่ม 23.60% อินเดียเพิ่ม 91.61% ฮ่องกง เพิ่ม 19.04% เยอรมนี เพิ่ม 4.34% สหราชอาณาจักร เพิ่ม 36.67% สิงคโปร์ เพิ่ม 159.95% สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 82.48% เบลเยี่ยม เพิ่ม 34.76% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 32.84% และญี่ปุ่น เพิ่ม 9.11%
นายสุเมธ กล่าวว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 11 เดือนของปี 2565 ยังสามารถเติบโตได้ดี แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยรุมเร้าหลายประการ ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนปี 2566 GIT ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการเติบโตในปี 2566 อาจขาดปัจจัยหนุน ทำให้เติบโตลดลง จากปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงขึ้น และการกลับมาระบาดของโควิด-19 จนทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และยุโรปให้ความสำคัญมาก อาจก่อให้เกิดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เก่ง! 4 คนไทย ถูกแต่งตั้งเป็นบอร์ดสมาพันธ์เครื่องประดับโลก
สถาบันอัญมณีฯ เผย 4 คนไทย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการและอนุกรรมการในสมาพันธ์เครื่องประดับโลก (CIBJO) มั่นใจช่วยขับเคลื่อนมาตรฐานอัญมณีและเครื่องประดับ การแก้ไขปัญหาความท้าทาย ทั้งการเข้ามาของ AI การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล และความยั่งยืน คาดสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมของไทยได้ดีขึ้น
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ก.ค. หดตัว
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ก.ค.66 มูลค่า 585.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 0.38% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 806.76 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 24.26% รวม 7 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 7.76% รวมทองคำ ลด 16.47% แนะผู้ส่งออกปรับรูปแบบการขาย รับตลาดชะลอตัว เน้นทำสินค้าไม่เจาะจงเพศ ใช้งานได้หลากหลาย เสนอขายสินค้าบนมือถือ จับตาเศรษฐกิจโลก น้ำมันขึ้น ฉุดกำลังซื้อ
GIT จับมือ NGTC สร้างมาตรฐานระดับชาติ พร้อมยกระดับ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบไทยขึ้น ทะเบียนห้องปฏิบัติการ GIT Standard
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดพิธีลงนามความร่วมมือ The National Gems and Jewelry Testing Co. Ltd. (National Gemstone Testing Center) (NGTC),
GIT จับมือ World Gold Council และสมาคมผู้ค้าทองคำ จัดงาน THAILAND GOLD FORUM อย่างยิ่งใหญ่ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 68
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ร่วมกับ World Gold Council และสมาคมผู้ค้าทองคำ จัดงานประชุม THAILAND GOLD FORUM ครั้งแรกในประเทศไทยอย่างยิ่งใหญ่ ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 68
DITP จับมือ GIT ประกาศจัดงานใหญ่ที่สุดในไทยและเก่าแก่ที่สุดในเอเชีย “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 68 พร้อมเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ครบรอบ 40 ปี
8 สิงหาคม 2566 – นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และ นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT)
'ลุงตู่' หนุนงานพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2023 ในเดือนส่งท้ายปี
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ส่งเสริมงาน International Chanthaburi Gems and Jewelry Festival 2023 พร้อมกิจกรรม Gems Tour เชื่อมั่นกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้าและการท่องเที่ยว