‘สุริยะ’ นำทัพบุกญี่ปุ่นดึงนักลงทุน

‘สุริยะ’ นำทัพบุกญี่ปุ่น มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ พร้อมเอ็มโอยูร่วม อิชิกาวะ ดัน กนอ. ดึงนักลงทุนญี่ปุ่น คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโตกว่า 1 หมื่นล้านบาท

16 ม.ค. 2566 – นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการนำคณะกระทรวงอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 11 – 15 ม.ค. 2566 ว่าเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่าง 2 ประเทศ เน้นเชื่อมโยงความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรม และเชิญชวนนักลงทุนชาวญี่ปุ่นให้มาลงทุนในประเทศไทย โดยการสร้างเครือข่ายคุณภาพผ่านบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น มุ่งยกระดับเศรษฐกิจด้วยการดึงศักยภาพความพร้อมในการลงทุนจากต่างแดน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลอุตสาหกรรม เครื่องจักร เทคโนโลยี การจับคู่ธุรกิจ และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในอุตสาหกรรม สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 10,000 ล้านบาท

นายสุริยะ กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับแรกในการพัฒนาและยกระดับภาอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดตั้ง “โต๊ะญี่ปุ่น” ขึ้นในปี 2009 เพื่อผนึกเครือข่ายการลงทุนและคู่ค้ากับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งการเชื่อมโยงความร่วมมือในลักษณะพื้นที่ต่อพื้นที่ผ่านการลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม (Cluster) ภายใต้แนวคิด OTAGAI (โอ-ทา-ไก) หรือ ที่แปลได้ว่า “การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”

ทั้งนี้ได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เป็นตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรมขยายผลความร่วมมือ ซึ่งในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 11 – 15 ม.ค. 2566 ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพร้อมในการต้อนรับนักลงทุนจากญี่ปุ่นขยายฐานการผลิตเพิ่มในไทย โดยให้มั่นใจว่าไทยมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมพร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก

รวมถึงการยกระดับการส่งออกสินค้าที่สำคัญของไทย อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ล้วนมีรากฐานมาจากประเทศญี่ปุ่นทั้งสิ้น และในปัจจุบันมีนักลุงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทย จำนวนกว่า 6,000 กิจการ เพื่อสร้างโอกาสที่ดีในการกระชับความสัมพันธ์และผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดอิชิกาวะ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายความร่วมมือในระดับพื้นที่ต่อพื้นที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมและประเทศญี่ปุ่น โดยจังหวัดอิชิกาวะถือเป็นรัฐบาลท้องถิ่นแห่งที่ 23 ที่ได้มีการลงนามความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม

โดยที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมการลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นไปแล้วจำนวน 23 แห่ง เพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลอุตสาหกรรม เครื่องจักร เทคโนโลยีการจับคู่ธุรกิจ และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยและญี่ปุ่น และต่อยอดสู่การขยายความร่วมมือเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การประชุมเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม (OTAGAI Forum) การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดนิทรรศการ และการจัดประชุมต่าง ๆ เป็นต้น ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อมูลข่าวสาร และแผนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

อย่างไรก็ตามยังมีเป้าหมายสู่การดำเนินงานความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในอนาคตให้สามารถก้าวหน้าไปด้วยกันในลักษณะ win – win โดยในปัจจุบันพบว่ามีจำนวนบริษัทเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทั้งการลงทุนแบบ FDI แบบ Joint Venture รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมไทย เพิ่มขึ้นอีก 500 บริษัท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 10,000 ล้านบาท และยังเกิดความร่วมมือในระดับรัฐบาลท้องถิ่น อาทิ การจัดตั้งสำนักงานจังหวัดโตเกียว ฟุกุโอกะ และการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ – ประเทศไทย ขึ้นในประเทศไทย และจังหวัดชิมาเน่ วากายาม่า และเมืองโยโกฮามะ ที่ส่งผู้แทนมาประจำที่กระทรวงอุตสาหกรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สะสางปัญหา กากแคดเมียม เดิมพันการเมืองครั้งสำคัญ พิมพ์ภัทรา-รมว.อุตสาหกรรม

ปัญหาการพบกากแร่อันตรายแคดเมียม ที่มีการขนย้ายมาจากจังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันมีการยึดอายัดได้ประมาณ 12,500 ตัน หลังพบที่สมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพฯ

'พิมพ์ภัทรา' ดึงดีเอสไอ-ปปง. ร่วมสอบปมกากแคดเมียม ชี้หากมีแต่คนใน ก.อุตฯ สังคมจะคาใจ

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการลักลอบขนย้ายกากสารแคดเมียมที่ผิดกฎหมาย ว่า คำสั่งการการประชุมครม. ที่ผ่านมา เป็นการทำงานร่วมกันของทั้ง 6 กระทรวง

กมธ.อุตสาหรรม ไล่บี้เอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ รับผลประโยชน์ขนย้ายกากแคดเมียม

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 17 เมษายน เวลา 10.00 น.ที่รัฐสภา กมธ.อุตสาหกรรม