ทรู - ดีแทค ชี้ธุรกิจโทรคมมาคมถึงทางตันลุยควบรวมสร้างบทบาทเทคคอมปะนี

ทรู – ดีแทค เห็นฟ้องถึงทางตันของธุรกิจโทรคมนาคม ตัดสินใจรวมธุรกิจปรับโครงสร้างเป็นเทคคอมปะนี ประเมินหลังควบรวมจะมีรายได้ 2 แสนล้านใกล้เคียงเอไอเอส เตรียมตั้งกองทุน 200 ล้านเหรียญลุยสตาร์ตอัพ

22 พ.ย. 2564 หลังจากที่ผ่านมา บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู ได้ส่งหนังสือแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีการควบรวมกิจการระหว่างทรูกับดีแทค โดยประกาศความร่วมมือ อย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) 

ล่าสุดเมื่อเวลา 13.30 น.ที่ผ่านมา นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวความร่วมมือต่อสื่อมวลชน โดยนายศุภชัย กล่าวว่า ความร่วมมือกับกลุ่มเทเลนอร์ครั้งนี้ ถือเป็นการปรับโครงสร้างทางธุรกิจโทรคมนาคมใหม่ เพื่อก้าวสู่การเป็นเทคคอมปะนี เนื่องจากสภาพตลาดโทรคมนาคมเปลี่ยนไป และเป็นที่ชัดเจนว่า ผู้ประกอบการทางด้านโทรคมนาคมในปัจจุบัน ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้มากนัก ดังนั้นจึงจะต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่เทค คอมปานี เพื่อให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง

“วิวัฒนาการ ยุค 4.0 คือ ยุคข้อมูลที่เรียกบิ๊กดาต้า เราจะต้องเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์  คลาวด์เทคโนโลยี ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งที่ผ่านมา เราเห็นข้อจำกัดของธุรกิจโทรคมนาคมที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าทั้งในเชิงรายได้ และบริการที่ดีให้กับผู้ริโภค ดังนั้นทั้งสองบริษัทจึงตัดสินใจควบรวมกิจการ” นายศุภชัย กล่าว

พวกเราทั้งสองบริษัทได้เห็นบทบาทใหม่ของเรา นั้นก็คือ การสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีให้กับลูกค้าและประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ มีเป้าหมายในการสร้างอีโคซิสเท็มด้านการลงทุนในทุกมิติ ทั้ง ดิจิทัลมีเดียแพลตฟอร์ม คลาวด์ เทคโนโลยี ระบบนิเวศด้านการลงทุน ซึ่งการตั้งบริษัทใหม่ระหว่าง ทรูกับดีแทค ครั้งนี้ จะตั้งกองทุนประมาณ100 – 200 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้น เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ และเทคสตาร์ตอัพไทย รวมถึงเทคสตาร์ตอัพที่ตั้งอยู่ในไทยด้วย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป

นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ กล่าวว่า โดยความร่วมมือกันครั้งนี้ เราจะแสวงหาการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง การลงทุนด้านนวัตกรรมระดับโลกที่แข็งแกร่ง และการให้บริการใหม่ๆ โดยเราคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่มีมูลค่ากว่า 2.17 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 40% ซึ่งจะมีขนาดใกล้เคียงกับเบอร์ 1 อย่างเอไอเอส

“นี่คือการริเริ่มของความร่วมมือ และเราจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่าความร่วมมือนี้จะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 1 ปี 2565 และเราจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐไทย ในเรื่องนี้ต่อไป” นายซิคเว่ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับฟ้องเพิกถอนควบรวม ทรู-ดีแทค

ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยให้รับคำฟ้องของผู้บริโภค 5 รายในคดีขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กรณีรับทราบ

31 ธ.ค.นี้ ปิดตำนาน 'ไทยสมายล์'

“การบินไทย” เผยคืบหน้าควบรวม ไทยสมายล์ เตรียมปิดตำนานโค้ดบิน WE 31 ธ.ค.นี้ ย้ำพร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสารให้ได้รับความสะดวกอย่างต่อเนื่อง หลังทำการบินทดแทนไทยสมายล์

กสทช.ย้ำตรวจละเอียดยิบหลังควบรวม ทรู-ดีแทค พบทุกอย่างยังทำตามเงื่อนไข

สำนักงาน กสทช. จัดแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผู้บริโภคในเรื่องอัตราค่าบริการ คุณภาพสัญญาณ และแพ็คเกจการให้บริการหลังการรวมธุรกิจระหว่าง ทรู – ดีแทค โดย พ.ต.อ. ประเวศน์ มูลประมุข เลขานุการประจำประธาน กสทช.

กสทช.ตื่นนัดสื่อแถลงข่าวมาตรการเยียวยาผู้บริโภค กรณีทรู-ดีแทค วันนี้

ผู้สื่อข่าว รายงานข่าวว่า สำนักงาน กสทช. ได้แจ้งสื่อมวลชนว่า ในวันที่ 19 ธ.ค. นี้ จะมีการจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผู้บริโภคในเรื่องอัตราค่าบริการ คุณภาพสัญญาณ

ทรู - ดีแทค ปิดไตรมาส 2 ฐานผู้ใช้งานรวม 2 ค่าย 51.1 ล้านเลขหมาย รายได้เพิ่ม 1.1%

บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานทิศทางรายได้การให้บริการดีต่อเนื่อง ส่งสัญญาณเชิงบวกจากแรงหนุนรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้ (ARPU) ที่ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นและยอดผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น พร้อมความสำเร็จจากการผสานพลังที่เห็นผลอย่างรวดเร็วจากการควบรวมและมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ EBITDA เพิ่มขึ้น 14.7% จากไตรมาสก่อน

ครบ 1 ปี PDPA…มาดูกันว่า ทรู คอร์ป คุมเข้มข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้าอย่างไรกันบ้าง

1 มิถุนายน 2566 ครบ1 ปีที่กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) มีผลบังคับใช้ คงมีคำถามมากมายว่าแต่ละองค์กรทำอะไรไปบ้าง ซึ่งทรู คอร์ป หนึ่งในองค์กรที่มีลูกค้าจากการควบรวมทรู-ดีแทค มากถึง 50.5 ล้านเลขหมาย ได้ออกแนวทางหรือมาตรการอะไรในการดูแลลูกค้าทรู-ดีแทค เรื่องการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลไปบ้างแล้ว