
“อนุทิน” นั่งหัวโต๊ะไฟเขียวร่างงบประมาณปี 67 กว่า 2.44 แสนล้านบาท ดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ หนุนแผนระบบขนส่งคมนาคม เร่งสรุปผลงบประมาณรายจ่าย ชงสำนักงบประมาณภายใน 27 ม.ค.นี้
24 ม.ค. 2566 – นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คณะที่ 3.2 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างคำของบประมาณบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ จำนวน 108 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 244,505.6705 ล้านบาท โดยเป็นการบูรณาการร่วมกันของ 7 กระทรวง 26 หน่วยงาน
ทั้งนี้แบ่งเป็น เป้าหมายที่ 1 จำนวน 11 หน่วยงาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (สปค.)กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.)กรมเจ้าท่า (จท.) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) (กรมการขนส่งทางราง (ขร.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) (การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) รวม 88 โครงการ วงเงิน 243,660.1700 ล้านบาท คิดเป็น 99.65% มีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) M6 บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี โครงการทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1065 สาย อ.พรานกระต่าย-พิษณุโลก
โครงการพัฒนาทาง และสะพานโครงข่ายทางหลวงชนบท สนับสนุนด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย โครงการศูนย์ขนส่งชายแดน จ.นครพนม โครงการปรับปรุงท่าอากาศยาน 16 แห่ง โครงการทางพิเศษ (ด่วน) สายกระทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต โครงการทางหลวงพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา โครงการออกแบบรายละเอียดงานโยธาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม และสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นต้น
สำหรับป้าหมายที่ 2 จำนวน 15 หน่วยงาน (จท.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานสภาพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์/กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ/กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน/สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ม.พะเยา ม.เชียงใหม่ ม.บูรพา และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา รวม 20 โครงการ วงเงิน 845.5005 ล้านบาท คิดเป็น 0.35% มีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนเพื่อรองรับงาน NSW
นอกจากนี้ยังมี โครงการพัฒนาระบบการทำเครื่องหมายและขึ้นทะเบียนสัตว์แห่งชาติ (NID) และเครื่องหมายประจำตัวสำหรับซากสัตว์ โครงการออกแบบและพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) ผ่านระบบ NSW โครงการเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โครงการส่งเสริมการพัฒนาบริการและขยายเครือข่ายของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ การศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของประเทศไทย
โครงการพัฒนามาตรฐานวิธีการทดสอบรองรับการผลิตชิ้นส่วนและระบบขนส่งทางรางร่วมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต โครงการพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติ เพื่อการสอบกลับได้ในการวัดสำหรับการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทางทะเล (LSPs) ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม เป็นต้น
นายอนุทิน กล่าวว่า ได้สั่งการและกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 1. การพิจารณาโครงการของทุกหน่วยงานต้องมีความพร้อมในทุกมิติ เมื่อได้รับการอนุมัติงบประมาณเรียบร้อยแล้ว ต้องพร้อมดำเนินการทันที 2. ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งผลการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อเป็นตัวชี้วัดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานผู้ปฏิบัติ 3. การจัดทำงบประมาณขอให้หน่วยงานพิจารณาความคุ้มค่านอกเหนือจากการคุ้มทุนของการลงทุน โดยให้คำนึงถึงความคุ้มทุนของผู้ประกอบการในการขนส่ง และต้นทุนของการดำรงชีวิตของประชาชน การเดินทางขนส่งมวลชน
ทั้งนี้ตลอดจนการสร้างรายได้กลับคืนมาสู่ประเทศในรูปแบบของภาษีของนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา การสร้างแรงงาน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้สนับสนุนโครงการ เช่น โครงการ Landbridge ที่สามารถทำให้เกิดความขยายตัวของการขนส่งสินค้าเชื่อมต่ออาเซียน โดยใช้เงินลงทุนของรัฐลดลง สามารถใช้วิธีการร่วมมือร่วมทุนกับภาคเอกชนได้ เพราะนอกจากเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานยังเป็นการสร้างอุตสาหกรรมหลังท่าเพิ่มเติมภายในประเทศ
ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการฯ กล่าวว่า การพิจารณาโครงการควรพิจารณาเกี่ยวกับ Climate change และความปลอดภัยด้วย อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำสรุปข้อเสนอการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ นำเสนอนายอนุทินพิจารณาเห็นชอบก่อนจัดส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 27 ม.ค.2566 ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อนุทิน' ย้ำเป้าเดิม ภูมิใจไทย ขอเสียงแตะ 100 หวังเป็นพรรคแกนนำ สร้างความปรองดอง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังการยุบสภา ว่า พรรคภูมิใจไทย มีความพร้อมในการเลือกตั้ง
‘อนุทิน’ รับกินข้าว ‘บิ๊กป้อม’ ดีลจับขั้ว ‘ภท.-พปชร.’ ลงตัว
‘เสี่ยหนู’ ยอมรับกินข้าว ‘บิ๊กป้อม’ ดีลจับขั้ว ‘ภท.-พปชร.’ ลงตัว หากไม่มีอุบัติเหตุการเมือง ยันไม่มีคุยเรื่องส่วนตัว ย้ำพร้อมนั่งนายกฯ ในฐานะพรรค 70 บวก
'อนุทิน' โยนปมรถไฟฟ้าสายสีส้ม แล้วแต่ครม.พิจารณา
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)กรณีที่มีข่าวว่านายอธิรัฐ
'อนุทิน' ซาบซึ้ง นายกฯห่วง 'ศักดิ์สยาม' แม้ตัวเองป่วย
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงนายกฯมืออักเสบต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลว่า
'เสี่ยหนู' แจง 'บิ๊กแจ๊ส' ฝากโมโนเรล-เครื่องฉายรังสีมะเร็ง ตรงใจภูมิใจไทย
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม
ฟันเปรี้ยงลางร้าย! ก่อนเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ชะตากรรมของคนแบกเสลี่ยงให้ท่านขุนนั่ง ทุกราย