ตะลึง ‘ดีอีเอส’ พบ ‘เฟคนิวส์’ บนโลกออนไลน์สูงถึง 3.4 ล้านข้อความต่อสัปดาห์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด  พบข่าวปลอมนโยบายรัฐบาลยังนำโด่ง โดยข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุด ได้แก่ ธกส.สนับสนุนค่าตอบแทนผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีละ 893 ล้านบาท วอนอย่าหลงเชื่อ หยุดแชร์ หยุดส่งในโลกออนไลน์   

30 ม.ค. 2566 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส)         เผยถึงผลสรุปการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมช่วงสัปดาห์นี้ (20 – 26  มกราคม 2566 ) พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,397,995 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 257 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 236 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 21 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 124 เรื่อง  ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 :  นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรม  อันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 71 เรื่อง

กลุ่มที่ 2:   ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 29 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 :  ภัยพิบัติ จำนวน 7 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 :  เศรษฐกิจ จำนวน 17 เรื่อง  

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 2 เรื่อง

นางสาวนพวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้น ๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวปลอมด้านนโยบายรัฐบาล และสุขภาพ สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับ ระหว่างวันที่ 20 – 26  มกราคม 2566  ได้แก่

อันดับที่ 1 : ธกส. สนับสนุนค่าตอบแทนผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีละ 893 ล้านบาท

อันดับที่ 2 :  ดื่มน้ำต้มตะไคร้ มะตูมแห้งและเกสรบัวหลวงก่อนนอนช่วยความจำ

อันดับที่ 3  : ป้องกันการปวดหัว โดยใช้น้ำตบท้ายทอยเบา ๆ สัก 2 – 3 ครั้ง ทุกวันตอนเช้า

อันดับที่ 4 :  สูตรเครื่องดื่มธัญพืชหรือน้ำอาร์ซี สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

อันดับที่ 5 :  รัฐบาลเตรียมสั่งทุบวัดในเขตอุทยาน 6,000 แห่งทั่วประเทศ

อันดับที่ 6 :  ธนาคารออมสิน ส่ง SMS ให้กดรับสิทธิ์กู้เงิน

อันดับที่ 7 :  Mistletoe ยาฆ่าเซลล์มะเร็งทางเลือกใหม่ที่ไม่ทำลายเม็ดเลือดขาว

อันดับที่ 8 :  ออมสินเปิดสินเชื่อให้ยืม เพื่อทำธุรกิจต้องการเงินลงทุนผ่านเพจเฟซบุ๊ก

อันดับที่ 9 :  รัฐบาลเล็งเตรียมเก็บภาษีรถเก่าอายุ 10 ปี กระตุ้นเศรษฐกิจป้ายแดง

อันดับที่ 10 : รับประทานผักกาดขาวเป็นประจำ ช่วยรักษาอาการตับอักเสบ

พร้อมกันนี้ นางสาวนพวรรณ ยังขอความร่วมมือประชาชน เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ เพื่อความปลอดภัยและรู้เท่าทัน โดยทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ติดตามความเคลื่อนไหวข้อความที่ผิดปกติในทุกช่องทางและได้มีการติดตามการกระทำผิดอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องประชาชนจากมิจฉาชีพในทุกรูปแบบ หากท่านได้รับการแจ้งข้อมูลที่ผิดปกติ ผ่านเอสเอ็มเอส หรือทางโทรศัพท์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น สามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.พัฒนาเครือข่ายภาคใต้รู้ทัน Fake News

7 มี.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมค่ายครอบครัวคุณธรรม นำสังคมเป็นสุข ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2567 โดยมีนายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกระบี่ วัฒนธรรมจังหวัดพื้นที่ภาคใต้

'นักวิชาการ' ยกรายงานสศช.ชี้คนหลายสิบล้านที่เสพสื่ออินฟลู 2 ล้านคนคือเหยื่อที่ถูกล่า

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ผลกระทบของ "อินฟลูเอนเซอร์" 2 ล้านคนที่มีต่อสังคมไทย มีเนื้อหาดังนี้

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพ อ้างกฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุดเปลี่ยนฟรี เตือนอย่ากดลิงก์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบ 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ คนสนใจสูงสุด มิจฉาชีพแอบอ้าง“กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุด คิดค่าไฟเกินจริง เปลี่ยนมิเตอร์ฟรี พร้อมรับเงินคืน”– หลอกทำใบขับขี่ออนไลน์ ผ่าน Pages DTL Noline” ยังมาแรง เตือนเช็คให้ดี อย่ากด อย่าส่งต่อ

ระวัง โจร อ้างตัวเป็นสถาบันการเงิน ออกเอกสารยืนยันตัวแก้ไขข้อมูลธนาคาร โดยการฝากเงินเข้าระบบกระเป๋าตังค์ 30,000 บาท

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบมิจฉาชีพแอบอ้างสถาบันการเงิน ออกเอกสารรับรองให้ยืนยันตัวตนเข้าระบบ เพื่อแก้ไขข้อมูลธนาคาร โดยการฝากเงินเข้าระบบกระเป๋าตังค์ 30,000 บาท ขึ้นแท่นอันดับ 1 รองลงมาเป็นเพจปลอมกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดรับสมัครงานแพ็กของ Giftshop เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อจนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ไม่แผ่ว! ดีอี เผยข่าวปลอม ‘กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน’ ถูกปล่อยไม่หยุด

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สรุปข่าวปลอมประจำสัปดาห์ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดเป็นอันดับ 1 พบว่าเป็นเรื่องเพจปลอม “กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน” รับสมัครพนักงาน แพ็กของ รายได้เฉลี่ย 450 บาท/ต่อวัน รองลงมาเป็นข่าวปลอม “สินเชื่ออเนกประสงค์กรุงไทย 5 พลัส วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท ผ่านเพจ Loan Versatile 5 Plus” ยังระบาดหนัก เตือนเช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ หรือแชร์ข้อมูล

รัฐบาลย้ำเฟกนิวส์! รับสมัครทำเกษตรเกาหลีใต้ แนะเช็ก 'ไทยมีงานทำ'

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำเตือนแรงงานอย่าหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ กรณีมีเผยแพร่ว่ากระทรวงแรงงานเปิดรับสมัครแรงงานภาคเกษตร