บสย. ปักหมุดปี 66 ค้ำประกัน 1.2 แสนล้าน

“บสย.” ปักหมุดปี 2566 ลุยค้ำประกันสินเชื่อเติมทุนผู้ประกอบการ 1.2 แสนล้านบาท พร้อมกาง 5 กลยุทธ์หลักพุ่งเป้ายกระดับการเข้าถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยดิจิทัล แจงรอคลังพิจารณาโครงการ PGS10 คาดไตรมาส 1 รู้ผล

2 ก.พ. 2566 – นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ในปี 2566 บสย. ตั้งเป้าหมายยอดค้ำประกันสินเชื่อ 120,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ภายใต้การดำเนินการของ บสย. วงเงิน 70,000 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการค้ำประกันสินเชื่อรายสถาบันการเงิน BI7 และโครงการค้ำประกันสินเชื่อ RBP (Risk Based Pricing) คิดค่าธรรมเนียมตามความเสี่ยงของลูกค้า และ 2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ วงเงิน 50,000 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2

สำหรับทิศทางการดำเนินงานและยุทธศาสตร์ ปี 2566 นั้น บสย. ชูบทบาทการทำงานแบบบูรณาการทั้งภายในและภายนอกองค์กร ภายใต้ 5 กลยุทธ์หลัก คือ1. กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ ได้แก่ 1. ผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อรายสถาบันการเงินระยะที่ 7 หรือ BI 7, 2. ผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ RBP และ3. โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

กลยุทธ์การเพิ่มเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ โครงการ The S1 Project, โครงการร้านโดนใจ พัฒนาโชห่วย, โครงการ CARE ความร่วมมือยกระดับ Supply Chain เป็นต้น 3. กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าผ่าน Digital Platform 4. กลยุทธ์การบริหารจัดการหนี้ (Debt

Management) การบริหารจัดการลูกหนี้เดิมและลูกหนี้ใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการช่วยลูกหนี้โดยเฉพาะกลุ่มไมโคร การกระตุ้นให้ลูกหนี้เข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้ ผ่านช่องทาง LINE @tcgfirst ซึ่งในปีนี้จะเพิ่มบริการใหม่ อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า บสย. สามารถเช็คยอดภาระค้ำประกัน และ ชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน และสามารถเข้าถึงสินเชื่อ กับธนาคารพันธมิตรที่ บสย. เข้าร่วมโครงการ และ5. กลยุทธ์การสร้างความยั่งยืน Sustainable Organization มุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศและเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อให้การสนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy)

ส่วนความคืบหน้าโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS10 นั้น ได้ส่งรายละเอียดให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลังพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในไตรมาส 1/2566

นายสิทธิกร กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานในปี 2565 มีการอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรวม 143,998 ล้านบาท ช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อ รวม 82,747 ราย สร้างสินเชื่อในระบบ 157,919 ล้านบาท รักษาการจ้างงานรวม 1,042,787 ตำแหน่ง สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 594,712 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ ดังนี้ 1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างชาติ (PGS9) วงเงิน 68,274 ล้านบาท จำนวน 16,464 ราย คิดเป็น 20% ของยอดค้ำประกัน อนุมัติต่อรายเฉลี่ย 3.77 ล้านบาท

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 1 และ 2 ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 56,254 ล้านบาท จำนวน 15,222 ราย คิดเป็น 18% ของยอดค้ำประกัน อนุมัติต่อรายเฉลี่ย 3.55 ล้านบาท 3.โครงการ Soft Loan Extra,โครงการขยายเวลา และ Commercial วงเงิน 14,997 ล้านบาท จำนวน 6,259 ราย คิดเป็น 7% ของยอดค้ำประกัน อนุมัติต่อรายเฉลี่ย 2.28 ล้านบาท และ 4. โครงการ บสย. Micro ต้องชนะ (Micro4) วงเงิน 4,473 ล้านบาท จำนวน 46,986 ราย อนุมัติต่อรายเฉลี่ย 95,000 บาท ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับสินเชื่อสูงสุด สัดส่วน 55%

โดยกลุ่มธุรกิจ 10 ลำดับค้ำประกันสูงสุด ได้แก่ 1. ภาคบริการ 27% 2. ภาคเกษตรกรรม 11% 3. การผลิตสินค้าและการค้า 11% 4. อาหารและเครื่องดื่ม 9% 5. เหล็ก โลหะ และเครื่องจักร 7 % 6. สินค้าอุปโภค-บริโภค 6% 7. ยานยนต์ 6% 8. เคมีและเวชภัณฑ์ 5% 9. ปิโตรเคมีและพลังงาน 3% 10. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 2% ส่วนการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผ่านศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงินเอสเอ็มอี หรือ บสย. F. A. Center มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการรับคำปรึกษาทางการเงินเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตั้งแต่ปี 2563 – 2565 มียอดรวมทั้งสิ้น 11,213 ราย โดย 64% มีความต้องการปรึกษาขอสินเชื่อ คิดเป็นวงเงินความต้องการสินเชื่อ 12,827 ล้านบาท ขณะที่โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน โดย บสย. และ ธปท. มีผู้ลงทะเบียนรับคำปรึกษา 5,999 ราย โดย 80% มีความต้องการขอปรับโครงสร้างหนี้
นอกจากนี้ บสย. ยังได้ช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านมาตรการ บสย. พร้อมช่วย ซึ่งมีลูกหนี้ลงทะเบียน 13,693 ราย มีเอสเอ็มอีร่วมโครงการ 6,929 ราย โดยมีเอสเอ็มอีได้รับการประนอมหนี้แล้ว 6,884 ราย ขณะที่ โครงการมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน มีผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้ บสย. ร่วมกิจกรรม 1,893 ราย ได้ช่วยลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ คิดเป็นภาระหนี้ 1,456 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘บสย.’ ขึงเป้าค้ำประกัน 1.15 แสนล. ลุยหารือคลังอ้อนเดินเครื่อง PGS 11

“บสย.” กางผลงานปี 2566 อนุมัติค้ำประกัน พุ่ง 1.14 แสนล้านบาท อุ้มเอสเอ็มอีรายใหม่เข้าถึงสินเชื่อเฉียดแสนราย สร้างสินเชื่อในระบบ 1.24 แสนล้านบาท พร้อมขึงเป้าผลงานปี 2567 ปักธงค้ำประกัน 1.15 แสนล้านบาท แจงหารือคลังจ่อลุย PGS11

เริ่มแล้ววันนี้! บสย. ผนึก ออมสิน ช่วย SMEs รายย่อยแก้หนี้นอกระบบ

เริ่มแล้ววันนี้ ! บสย. ผนึก ธนาคารออมสิน พร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล แก้หนี้นอกระบบ ช่วยผู้ค้ารายย่อยอาชีพอิสระกลุ่มหนี้นอกระบบ วงเงินค้ำสูงสุด 200,000 บาทต่อราย ระยะเวลาค้ำสูงสุด10 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก

'บสย.' เตรียมผุดมาตรการแฮร์คัต ลดต้นเงินกู้ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอี

“บสย.” เตรียมผุดมาตรการแฮร์คัต ลดต้นเงินกู้ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอีกลุ่มสีฟ้า 15% หวังผ่อนน้อย เบาแรง ปิดหนี้ได้เร็ว คาดเปิดลงทะเบียนได้ช่วง ม.ค.-เม.ย. 2567 พร้อมเดินหน้าถกคลังขอ 1 แสนล้านบาท ตั้งโครงการ PGS11 กางผลงาน 11 เดือนปี 2566 ลุยอนุมัติวงเงินค้ำประกันแล้ว 1.07 แสนล้านบาท

บสย. ผนึก SET เข็นโครงการอุ้มเอสเอ็มอี-สตาร์ทอัพ

“บสย.” ผนึก SET เข็นโครงการ SME Platform พัฒนาและสนับสนุนสตาร์ทอัพ-เอสเอ็มอี กาง 3 มิติช่วยเหลือ พร้อมประเมินมีเอสเอ็มอีที่มีโอกาสขยายกิจการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ประมาณ 30% หรือราว 240,000 ราย

'บสย.' กางผลงาน 7 เดือนค้ำประกันพุ่ง 7.74 หมื่นล.

“บสย.” กางผลงาน 7 เดือน ลุยค้ำประกันสินเชื่อ 7.74 หมื่นล้านบาท อุ้มผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนแล้ว 5.77 หมื่นราย เข็นสินเชื่อในระบบพุ่ง 8.6 หมื่นล้านบาท พร้อมปักธงหนุนเอสเอ็มอีปรับธุรกิจสู่ ESG