'บินไทย' จ่อยุบไทยสมายล์ปักธงได้ข้อสรุปภายในเดือนพ.ค.นี้

“การบินไทย” เปิดแผนประกอบการ ปี 65 กำไรสุทธิกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ขาดทุนน้อยลงเหลือ 272 ล้านเดินหน้าควบรวมกิจการกับไทยสมายล์ สรุปภายใน 2 เดือน หวังลดต้นทุน ย้ำออกจากแผนฟื้นฟูต้นปี 67

26 ก.พ. 2566 – นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงาน ปี 2565 ว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปีบริษัทฯ มีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 36,902 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 367% มีค่าใช้จ่ายไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 28,020 ล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว (EBIT) 8,882 ล้านบาท ดีกว่าปีก่อนหน้าซึ่งขาดทุน 2,579 ล้านบาท

ทั้งนี้ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรจากการดำเนินงานติดต่อกัน 2 ไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/2565 เป็นต้นมา จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว การปรับโครงสร้างทางธุรกิจและต้นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีกำไรสุทธิ 11,154 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จากการดำเนินงาน 11,061 ล้านบาท ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 660% ส่วนผลประกอบการปี 2565 การบินไทย และบริษัทย่อยขาดทุนสุทธิ 272 ล้านบาท จากปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิ 55,390 ล้านบาท

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า ตามขั้นตอนแผนฟื้นฟูกิจการ คาดว่าเมื่อมีทุนหมุนเวียน รายได้ดีขึ้นตามเป้าหมายในต้นปี 2567 เตรียมออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ จากนั้นจะยื่นสำนักงาน ก.ล.ต. กลับเข้าไปซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2568 ส่วนแผนงานในปี 2566 เตรียมเพิ่มฝูงบินแอร์บัส 350 จำนวน 6 ลำ รวมทั้งหมดเป็น 71 ลำ เพื่อเปิดเส้นทางบินเน้นตลาดยุโรปทุกเมืองใหญ่ รวมถึง จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เอเชียใต้ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเพิ่มต่อเนื่อง ทำรายได้ 1.4 แสนล้านบาท ในปี 2566 และคาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสาร 12 ล้านคน โดยกลับมาทำการบินได้ 70-80%

สำหรับการปรับโครงสร้างธุรกิจการบินในกลุ่มการบินไทย โดยยุติบทบาทของบริษัทไทยสมายล์ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯอยู่แล้ว ซึ่งระบุชัดว่าในที่สุดแล้วจะเหลือเพียงการบินไทยแบรนด์เดียวเท่านั้น ไม่มีไทยสมายล์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการโดยเรื่องนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อแก้ไขแผนธุรกิจภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารที่เป็นทีมเดียว ซึ่งจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 2 เดือนน่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนพ.ค.2566 จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการเจ้าหนี้เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอรมว.คมนาคมในฐานะที่กำกับดูแลกิจการการบินพลเรือน เพื่อพิจารณาเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงแผนธุรกิจ ก่อนเสนอสำนักงานคณะกรรมการการบินพลเรือน(กบร.) คาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะสามารถบริหารงานที่เป็นทีมเดียวกันได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มปฏิรูปพลังงานจี้ปรับปรุงร่าง PDP2024 

กลุ่มปฏิรูปพลังงานฝากนายกฯ จี้แก้ไขปรับปรุงร่าง PDP2024 เตือนตัวเลขพยากรณ์ใช้ไฟฟ้าสูงเกินไป ระวังค่าไฟจะแพงขึ้น พร้อมแนะจัดเก็บภาษีคาร์บอน และให้ผู้ผลิตไฟฟ้าสามารถขายไฟฟ้าตรงให้แก่ผู้ใช้

บีเจซี เผยผลประกอบการไตรมาส 3/67 ดันรายได้รวมเติบโตทะลุ 41,774 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานปกติเติบโตกว่า 14.2%

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี เปิดเผยรายได้รวมในไตรมาส 3/67 เท่ากับ 41,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 603 ล้านบาทจากปีก่อน กำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 2,825 ล้านบาท

ผลประกอบการ SCGD 9 เดือนแรกปี 67 คว้ากำไร 730 ล้านบาท เพิ่ม 15% จากปีก่อน แม้ฝ่ามรสุมรอบด้าน ไตรมาส 3 ยังกำไร 189 ล้านบาท

ผลประกอบการ SCGD 9 เดือนแรกปี 67 กำไรสุทธิ 730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อนที่ 637 ล้านบาท ส่วนไตรมาส 3 เผชิญความท้าทายรอบด้าน

บีเจซี เผยผลประกอบการไตรมาส 2/67 ดันรายได้รวมเติบโตทะลุ 43,085 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานเติบโตกว่า 15%

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี เปิดเผยรายได้รวมในไตรมาส 2/67 เท่ากับ 43,085 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 257 ล้านบาทจากปีก่อน