
ประเดิมไตรมาสแรกของปี ภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนหนุนเศรษฐกิจไทยท่ามกลางการส่งออกที่ยังหดตัว ผลการจับขั้วรัฐบาลยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตาประเดิมไตรมาสแรกปี 2023 เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงกว่าตลาดคาดการณ์
16 พ.ค.2566 – เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวต่อเนื่อง 2.7% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน สูงกว่าตลาดคาด (ผลสำรวจจาก Reuters) ที่ 2.3% และหากเทียบไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายตัวได้ 1.9% หลังปรับปัจจัยฤดูกาล (QOQ_sa) เทียบกับที่หดตัว -1.1% QOQ_sa ในไตรมาสก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวและบริการที่ฟื้นตัวดีหลังการเปิดประเทศของจีนขณะที่การส่งออกสินค้าและการอุปโภคบริโภคภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญฉุดเศรษฐกิจในไตรมาส 1
หากพิจารณากิจกรรมเศรษฐกิจด้านภาคการผลิต (Production approach) หลายภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง นำโดยภาคบริการที่ขยายตัวสูง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยแล้วกว่า 6.5 ล้านคนในไตรมาสแรกของปีนี้ กอปรกับภาคเกษตรที่ขยายตัวเร่งขึ้นตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องตามการหดตัวของการผลิตเพื่อส่งออก
SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยกลับไปเท่า Pre-COVID ได้ช่วงกลางปีนี้ และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากแรงส่งภาคการท่องเที่ยว
SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนและอาเซียน อีกทั้ง การท่องเที่ยวในประเทศเติบโตตามความต้องการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ภาคบริการในภาพรวมโดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และการขนส่ง ปรับตัวดีขึ้น อีกทั้ง การบริโภคภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยเฉพาะไตรมาส 2 ที่มีเม็ดเงินหาเสียงช่วงเลือกตั้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยเข้าใกล้ระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิดและคาดจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดได้ในช่วงกลางปีนี้ อย่างไรก็ดี แม้การส่งออกยังน่าห่วงและมีแนวโน้มหดตัวในครึ่งแรกของปีตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ยังไม่สดใสและปัจจัยฐานสูง จนอาจกดดันการลงทุนและการผลิตเพื่อส่งออกได้ แต่การส่งออกมีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีจากอานิสงส์การฟื้นตัวของอุปสงค์ในจีนหลังเปิดประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่จะผ่านจุดต่ำสุดแล้ว
ยังคงต้องจับตาผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต่อเศรษฐกิจ
ผลการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเป็นปัจจัยที่ต้องจับตา ซึ่งจะส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป โดยในกรณีฐาน SCB EIC มองการเลือกตั้งและการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะส่งผลกระทบไม่มากต่อ
เศรษฐกิจไทยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี เนื่องจาก พ.ร.บ. งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2023 ได้ครอบคลุมการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐจนถึงสิ้นไตรมาส 3 ของปี 2023 แล้ว หน่วยงานภาครัฐจึงสามารถดำเนินการตามนโยบายและ
โครงการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้แล้วได้เป็นปกติ อีกทั้ง ยังมีการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณและนำเรื่องเข้ากระบวนการพิจารณาก่อนการยุบสภา อย่างไรก็ดี SCB EIC คาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบด้านลบชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 จากความ
ไม่แน่นอนของระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2024 ส่งผลให้มีเม็ดเงินสนับสนุนเศรษฐกิจจากภาครัฐเพิ่มเติมได้ไม่มากนัก อีกทั้งคาดว่านโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลใหม่จะมีผลกระทบสู่เศรษฐกิจตั้งแต่ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กสิกรไทย หั่นจีดีพีไทยปี 66 ลดวูบเหลือโตแค่ 3%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 66 ลงมาอยู่ที่ 3.0% จากก่อนหน้านี้ที่ 3.7% แม้ความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นหลังจากประเทศไทยมีการจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จแล้ว แต่เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
สศช.เผยศก.ไทยไตรมาส 2 ดิ่งแรงเหลือโตแค่ 1.8% พร้อมหั่นเป้าทั้งปี
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 โตเหลือแค่ 1.8% สภาพัฒน์ลดเป้าโตปีนี้ลงต่ำสุดเหลือ 2.5% ผงะส่งออกไทยถดถอยแรง ติดลบถึง 2 ไตรมาส
ยกรายงานแบงก์ไทยพาณิชย์ชี้ ปชช.เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย
'ทิพานัน' ยกรายงานไทยพาณิชย์ ชี้แนวโน้มธุรกิจค้าปีปลีกปี 66 โตต่อเนื่อง มูลค่าตลาดพุ่ง 10% 3.7 ล้านล้าน ผลงานนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลบิ๊กตู่ ชี้ระบุเป็นสัญญาณดี สะท้อนประชาชนเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย
SCB EIC คาดเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
SCB EIC คาดเศรษฐกิจ CLMV ขยายตัวต่อเนื่องจากแรงส่งการบริโภคและภาคการท่องเที่ยว แม้มีปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและความเสี่ยงเฉพาะประเทศ
รัฐบาลลุยต่อยอด 'แหลมฉบัง' ศูนย์กลางขนส่ง 'ท่าเรือสีเขียว'
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามความคืบหน้าของการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง
'รีเมคการท่องเที่ยว - 4 โจทย์ใหญ่เพื่อเศรษฐกิจไทย'
ภาคการท่องเที่ยวเคยเป็น“ตัวเอก” คอย “แบก”เศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนเกิดโควิด โดยเคยสร้างรายได้สูงถึง 3 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 18% ของ GDP สร้างการจ้างงานกว่า 7 ล้านคน หรือ 20% ของการจ้างงาน และหลังจากห่างหายไปหลายปี วันนี้การท่องเที่ยวกำลังจะต้องกลับมาเล่นบทสำคัญอีกครั้งในยุคที่การส่งออกกำลังอ่อนแอ