สนค. เปิดเผย เลือกตั้งดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับสูงสุดในรอบ 53 เดือน
14 มิ.ย. 2566 – นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ในเดือนพฤษภาคมปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.6 ซึ่งอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 สูงสุดในรอบ 53 เดือน และปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.5 อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว มาตรการภาครัฐจากการบรรเทาภาระ ค่าไฟฟ้ากลุ่มครัวเรือน ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง รวมถึงเป็นเดือนของการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจมาก หากพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่น 9 ด้าน คือ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก มาตรการของรัฐ สังคม/ความมั่นคง การเมือง/การเลือกตั้ง ภัยพิบัติ/โรคระบาด ราคาสินค้าเกษตร ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และอื่น ๆ พบว่า ปัจจัยด้านการเมืองและการเลือกตั้งมีความสำคัญต่อความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากในเดือนมกราคม 2566 ประชาชนเลือกปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นเป็นด้านการเมืองและการเลือกตั้งร้อยละ 5.7 ต่อมาปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 7.8, 9.2 และ 13.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน ตามลำดับ สำหรับเดือนพฤษภาคมที่เป็นช่วงของการเลือกตั้ง ปัจจัยด้านการเมืองปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 19.9 หากวิเคราะห์ปัจจัยด้านการเมืองที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นจำแนกตามภูมิภาค ช่วงอายุ อาชีพ และรายได้ ของเดือนพฤษภาคมเทียบกับเดือนมกราคม 2566 มีรายละเอียดดังนี้
เมื่อพิจารณาตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในพื้นที่
•ภาคกลาง ปรับเพิ่มจากร้อยละ 5.2 เป็นร้อยละ 22.0
•ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับเพิ่มจาก ร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 22.0
•ภาคเหนือ ปรับเพิ่มจากร้อยละ 6.1 เป็นร้อยละ 21.3
•ภาคใต้ ปรับเพิ่มจากร้อยละ 5.1 เป็นร้อยละ 18.3
•กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับเพิ่มจากร้อยละ 6.7 เป็นร้อยละ 17.1
เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ
• ต่ำกว่า 20 ปี ปรับเพิ่มจากร้อยละ 6.9 เป็นร้อยละ 14.5
• อายุ 20-29 ปี ปรับเพิ่มจากร้อยละ 7.1 เป็นร้อยละ19.0
• อายุ 30-39 ปี ปรับเพิ่มจากร้อยละ 5.6 เป็นร้อยละ 19.1
• อายุ 40-49 ปี ปรับเพิ่มจากร้อยละ 4.9 เป็นร้อยละ 21.9
• อายุ 50-59 ปี ปรับเพิ่มจากร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 18.5
• ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มจากร้อยละ 6.2 เป็นร้อยละ 25.4
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอาชีพ พบว่า
•พนักงานเอกชน ปรับเพิ่มจากร้อยละ 5.6 เป็นร้อยละ 26.1
•ผู้ประกอบการ ปรับเพิ่มจากร้อยละ 5.3 เป็นร้อยละ 20.3
•รับจ้างอิสระ ปรับเพิ่มจากร้อยละ 6.1 เป็นร้อยละ 19.6
•พนักงานของรัฐ ปรับเพิ่มจากร้อยละ 6.1 เป็นร้อยละ 18.3
•ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ปรับเพิ่มจากร้อยละ 9.5 เป็น ร้อยละ 18.0
•นักศึกษา ปรับเพิ่มจากร้อยละ 9.0 เป็นร้อยละ 14.8
•เกษตรกร ปรับเพิ่มจากร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 11.2
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคมที่จัดทำโดย สนค. ปรับเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคและกลุ่มอาชีพ สาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ รองลงมาเป็นกิจกรรมทางการเมืองและการเลือกตั้งที่มีสัดส่วนปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในเดือนนี้ หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์การเมืองมีความชัดเจน น่าจะรักษาให้ระดับของความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในช่วงเชื่อมั่นได้อย่างต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี ส่งออกไทย ต.ค.พุ่ง 14.6% มูลค่าแตะ 2.7 หมื่นล้านดอลล์
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย
แสวงเซ็ง! ชี้ กม.ออกแบบดีแต่เจอคนเห็นแก่ประโยชน์ชิงลาออกทำเลือก อบจ.ซ้ำซ้อน
'แสวง' ชี้นายกฯ อบจ.ลาออกก่อนครบวาระ ทำเปลืองงบฯ – คน ต้องจัดเลือก 2 รอบ ระบุกฎหมายออกแบบมาดี แต่คนอาศัยช่องว่างชิงความได้เปรียบ มองสนามอุดรฯ เดือด คนมีชื่อเสียงแห่ลงพื้น
'พปชร.' จี้รัฐบาลประมูลไฟฟ้าพลังงานทางเลือกโปร่งใส หวั่นแจกเงินดิจิทัลรอบสองไม่กระตุ้นศก.
'พปชร.'จี้ รัฐบาลประมูลไฟฟ้าพลังงานทางเลือกโปร่งใส หลังใช้คุณสมบัติผู้ประมูลเป็นตัวตั้ง เหมือนไม่มีเจตนาลดราคา ข้องใจ รองนายกฯเศรษฐกิจ-รมว.พลังงาน พูดสวนทางกัน พร้อมจี้ รบ.ตอบให้ชัดเจน แจกเงินดิจิทัลรอบสองเมื่อไหร่ หวั่นทิ้งระยะนาน ไม่กระตุ้นศก. เพิ่มภาระคลัง ทำไทยเสี่ยงถูกลดเครดิตเรตติ้ง