'อนุชา' เผย นายกฯ ติดตามภาพรวมระบบการเงินของประเทศไตรมาสที่ 1/2566 โดยรวมมีเสถียรภาพดีจากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนและเงินสำรองเข้มแข็ง
15 มิ.ย.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์ภาพรวมเสถียรภาพระบบการเงินประเทศไทย ซึ่งรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับภาพรวมเสถียรภาพระบบการเงินประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ระบุระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ ซึ่งได้รับผลดีจากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยปัญหาสถาบันการเงินในประเทศเศรษฐกิจหลักในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลต่อระบบการเงินไทยอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากสถาบันการเงินและภาคธุรกิจไทยมีความเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินและสินทรัพย์เสี่ยงที่เกิดปัญหาจำกัด รวมถึงธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง และความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยจากปัจจัยในประเทศปรับลดลง แต่ยังมีจุดเปราะบางที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1.ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและธุรกิจ ที่ฐานะการเงินของบางกลุ่มยังคงเปราะบาง และ 2.ตลาดการเงินไทย ยังสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ แต่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ขณะที่ความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้น โดยความเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ 1.ปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ 2.การชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์โลกที่อาจส่งผ่านความเสี่ยงผ่าน second round effect มาสู่ระบบการเงินไทย และ 3.ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจในต่างประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบเชิง sentiment ต่อตลาดการเงินไทย
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า สำหรับรายงานเสถียรภาพระบบการเงินไทย รายไตรมาส (Financial Stability Snapshot) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำนั้น ครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่สำคัญ 8 ด้าน คือ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคธนาคารพาณิชย์ & non-bank ภาคสหกรณ์ ภาคตลาดการเงิน ภาคต่างประเทศ และภาคตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล
โดยภาพรวมเสถียรภาพระบบการเงินประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 สถานะความเสี่ยง ณ ปัจจุบัน มีดังนี้ 1.ภาคครัวเรือน ยังเปราะบางจากภาระหนี้สูง แม้รายได้เริ่มฟื้นตัวและเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้เปราะบาง โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวช้า และกลุ่มที่มีหนี้สูง
2.ภาคธุรกิจ ประกอบด้วย 1.ธุรกิจขนาดใหญ่มีความสามารถในการชำระหนี้และทำกำไรลดลง แต่ยังมีสภาพคล่องและฐานะการเงินในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ ยังต้องติดตามผลกระทบจาก ความต้องการซื้อในตลาดโลกที่ชะลอลงต่อภาคการผลิตที่เน้นการส่งออก เช่น เหล็ก แผงวงจรและเซมิคอนดักเตอร์ ยางและพลาสติก รวมถึงติดตามบางบริษัทในกลุ่มก่อสร้าง และ 2.SMEs รายได้ทยอยฟื้นตัว แต่คุณภาพสินเชื่อและฐานะการเงินยังเปราะบาง ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของกลุ่มปิโตรเคมี เหล็ก สิ่งทอ ปิโตรเลียม และขนส่งสินค้า ที่ความต้องการซื้อในตลาดโลกชะลอลง และติดตามความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
3.ภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย 1.เพื่อการอยู่อาศัย: ตลาดที่อยู่อาศัยฟื้นตัวต่อเนื่องตามแนวโน้มเศรษฐกิจ ด้านอุปสงค์ชะลอลงบ้างหลังสิ้นสุดการผ่อนคลาย LTV และยังมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นกับการฟื้นตัวของผู้ประกอบการ SMEs และ 2.เพื่อการพาณิชย์: อัตราการเช่าของพื้นที่ค้าปลีกปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราการเช่าของพื้นที่สำนักงานแม้จะยังอยู่ในระดับสูง แต่ปรับลดลงจากอุปทานที่สูงขึ้น
4.ภาคธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) และ Non-bank ประกอบด้วย 1.ระบบ ธพ. ยังสามารถสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ผลประกอบการกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อน COVID-19 โดยระดับเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องยังเข้มแข็ง และ 2.Non-bank ขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ยังมีฐานะอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ยังต้องติดตามคุณภาพสินเชื่อที่เห็นสัญญาณที่ด้อยลง โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (ที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน)
5.ภาคสหกรณ์ออมทรัพย์ (อส.) ซึ่ง สอ. โดยรวมยังคงมีสภาพคล่องเพียงพอรองรับการดำเนินกิจการ อย่างไรก็ดี ต้องติดตาม สอ. บางแห่งที่อาจสะสมความเสี่ยงจากการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบรุนแรงหากตลาดการเงินมีความผันผวนสูง
6.ภาคตลาดการเงิน แม้ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนสูงจากปัญหาภาคธนาคารในต่างประเทศ แต่ตลาดการเงินไทยได้รับผลกระทบจำกัดจากสถานการณ์ดังกล่าว และยังสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินโลกและผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยอย่างใกล้ชิด
7.ด้านต่างประเทศ ยังเข้มแข็งจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเพียงพอสำหรับการชำระหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับดีขึ้นจากดุลบริการตามรายรับภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และ
และ 8.ภาค Digital asset มีความเสี่ยงและนัยของเสถียรภาพระบบการเงินไทยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากจำนวนบัญชี active account และปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยลดลงต่อเนื่อง แต่ยังต้องติดตามพฤติกรรมการลงทุนที่เกี่ยวข้องต่อเนื่อง เพราะตลาดมีความผันผวนสูง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ในหลวง' พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ 'พล.อ.ประยุทธ์' องคมนตรี เฝ้าฯ ถวายสัตย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี นำ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี
องคมนตรีใหม่ฝากทำเพื่อบ้านเมือง
"องคมนตรีคนใหม่" ฝากช่วยกันทำงานเพื่อบ้านเมือง ยึดมั่นในชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
'เศรษฐา' บอกยังไม่ได้แสดงความยินดี 'พล.อ.ประยุทธ์' เพราะไม่มีเบอร์มือถือ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่าได้แสดงความยินดีกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นองคมนตรีหรือไม่
'รทสช.' แสดงความยินดี 'พล.ประยุทธ์' ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี
'รทสช.' แสดงความยินดี 'พล.อ.ประยุทธ์' ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นองคมนตรี ชื่นชมเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติมานาน สร้างคุณูปการให้กับสังคม และประชาชนอย่างยาวนาน
'ธนกร' เผย 'พล.อ.ประยุทธ์' ฝากช่วยกันทำงานเพื่อบ้านเมืองยึดมั่นในสถาบัน
'ธนกร' เผย 'พล.อ.ประยุทธ์' ฝากช่วยกันทำงานเพื่อบ้านเมือง ยึดมั่นในชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
'ไพศาล' ร่วมยินดี 'บิ๊กตู่' เป็นองคมนตรี ความหวังคนปั่นกระแสให้เป็นนายกฯอีกก็สิ้นสุดลง
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ขอแสดงความยินดีกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรีที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี