'แบงก์ชาติ' ห่วงตั้งรัฐบาลล่าช้าทุบเชื่อมั่นภาคธุรกิจ

“แบงก์ชาติ” ห่วงตั้งรัฐบาลลากยาวทุบเชื่อมั่น ชี้ กนง. พร้อมทบทวนปัจจัยเสี่ยง เศรษฐกิจโลกชะลอ-ค่าครองชีพสูง กระทบกลุ่มเปราะบาง มองไตรมาส 2 ท่องเที่ยวยังหนุน ต่างชาติเข้าไทย 6.4 ล้านคน ดันบริโภคเอกชนฟื้น

31 ก.ค. 2566 – นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลที่ล้าช้า หรือลากยาวมาก ๆ นั้น อาจจะมีผลกระทบในเรื่องความเชื่อมั่นมากกว่า ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณมองว่า ในแง่เม็ดเงินจากงบรายจ่ายประจำยังไปได้ตามกรอบเดิม แต่ที่อาจจะล่าช้าคืองบลงทุน ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งก่อนได้มองแล้วว่าปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าไปบ้าง

“อย่างที่บอกว่าผลกระทบขึ้นอยู่กับระยะเวลา แต่ถ้าลากยาวมาก ๆ อาจมีผลกระทบในเรื่องความเชื่อมั่น โดยภาพรวมอยากให้รอทาง กนง. ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 2 ส.ค. นี้ รวมถึงอยากให้ดูตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 จริง ๆ จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ จะเห็นภาพจริงว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ภาพเศรษฐกิจไทยจะออกมาเป็นอย่างไร” นางสาวชญาวดี กล่าว

ทั้งนี้ ยอมรับว่ายังมีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่ต้องจับตา เพราะจะมีผลกับเศรษฐกิจไทย คือ ปัญหาเศรษฐกิจและการเงินโลก ที่มองว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอลง และต้องดูว่าจะยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์หรือไม่ รวมถึงการจัดตั้งรัฐบาลและนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นหากลากยาว รวมไปถึงสถานการณ์ค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง โดย กนง. จะมีการทบทวนความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งหมดอีกครั้ง

นางสาวชญาวดี กล่าวอีกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2566 ปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่6.4 ล้านคนส่งผลให้ภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว โดยในระยะต่อไปภาคการท่องเที่ยวก็น่าจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ สะท้อนจากปริมาณการค้นหาเกี่ยวกับAir และ Accommodation ในไทยของต่างชาติการลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้น ส่วนหนึ่งจากการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ ด้านการส่งออกสินค้า ติดลบ 5.6%ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากการผลิตยานยนต์และหมวดอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน มิ.ย. 2566 อยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยภาคการท่องเที่ยวปรับดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่2.24 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียและจีนรวมถึงการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำปรับเพิ่มขึ้นจากสินค้าเกษตรเป็นสำคัญหลัก ๆ มาจากการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ โดยเฉพาะทุเรียนภาคใต้ไปจีน ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทรงตัว สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม

โดยภาพรวมการส่งออกในเดือน มิ.ย. 2566 ยังติดลบที่ 5.9% ขณะที่แนวโน้มการส่งออกในเดือน ก.ค. มองว่ายังไม่น่ากลับมาเป็นบวกได้ จะยังเห็นการส่งออกติดลบอยู่บ้าง ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่คิดว่าน่าจะยังทรงตัวไปก่อน โดยภาพรวมส่งออกน่าจะกลับมาดีขึ้นในช่วงปลายปี 2566 ซึ่งทิศทางเศรษฐกิจภาพรวมในช่วงนี้ การส่งออกอาจจะยังมีความเสี่ยงทั้งจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง เศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องติดตามต่อไป
“การส่งออกน่าจะยังทรงตัว จากดัชนีชี้นำการส่งออกในหลายตัวที่มีแนวโน้มทรงตัวในระยะข้างหน้าตามแนวโน้มเศรษฐกิจคู่ค้าที่น่าจะทรงตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ปลายปีน่าจะปรับดีขึ้นตามวัฎจักรของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์” นางสาวชญาวดี กล่าว

นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนในเดือน มิ.ย. 2566 ติดลบ 0.3% จากการใช้จ่ายเกือบทุกหมวด อาทิ หมวดสินค้าคงทน เช่น การจำหน่ายรถยนต์ และรถจักรยานยานต์ที่ชะลอตัวลง เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และการส่งมอบไปในช่วงก่อนหน้า, สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ส่วนหมดสินค้าไม่คงทน จากยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่รวมแอลกอฮอล์และยาสูบ ที่เร่งตัวไปในช่วงก่อนหน้าจากการใช้จ่ายตามโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนหมวดบริการทรงตัวตามการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรม ภัตราคารและการขนส่งผู้โดยสาร ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปรับลดลงหลังจากเร่งไปแล้วในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีกาคบริการ ขยายตัวที่ 1.0% โดยเฉพาะโรงแรม ภัตราคาร การขนส่งผู้โดยสารที่ฟื้นตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 0.23% จากหมวดอาหารสดเป็นสำคัญ ตามราคาเนื้อสุกรและผักสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงมาอยู่ที่ 1.32% จากผลของฐานสูงในปีก่อน ด้านตลาดแรงงานยังฟื้นตัว สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจากดุลการค้าที่มูลค่าการส่งออกปรับดีขึ้น ประกอบกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลลดลง ตามการส่งกลับกำไรและรายจ่ายทรัพย์สินทางปัญญาที่ลดลงจากเดือนก่อน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลุ้นเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ยังโตต่อ!บริโภค-ท่องเที่ยวหนุน

“แบงก์ชาติ” ลุ้นเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/66 ยังโตต่อ รับอานิสงส์บริโภคเอกชน-ท่องเที่ยวฟื้นไม่หยุด ด้าน “สศอ.” เปิดดัชนี MPI เดือน ก.ย. หดตัว 6.06% โอดพิษเศรษฐกิจโลก ยอมหั่นจีดีพีอุตสาหกรรมปีนี้ ติดลบ 2.5-3%

'กรมบังคับคดี' เผยโพล ปชช.เชื่อมั่นกระบวนการบังคับคดี ปี 66 พบเพิ่มสูงขึ้น 9.20 คะแนน

นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี ร่วมกับ รศ. พ.ต.อ.หญิง ดร.กัญญ์ฐิตา ศรีภา หัวหน้าโครงการสำรวจ ดร.สาลินี ขจรไพร ผู้วิ

ดัชนีความเชื่อมั่นอุตฯ ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ห่วงตั้งรัฐบาลล่าช้า

ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตฯ ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ส่วนหนึ่งกังวลจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า คาดการณ์ 3 เดือนยังตก จี้เร่งจัดตั้งรัฐบาล

จัดตั้งรัฐบาลล่าช้าฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงครั้งแรกในรอบ 14 เดือน

หอการค้าเผยคนห่วงตั้งรัฐบาลล่าช่า ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ก.ค. ลดลงครั้งแรกในรอบ 14 เดือน แตะระดับ 55.6

แบงก์ชาติ การันตีความเชื่อมั่นยังแกร่ง การเมืองไม่กระทบแม้โหวตนายกฯ ยังไม่จบ

“แบงก์ชาติ” การันตีเชื่อมั่นยังแกร่ง การเมืองไม่กระทบแม้โหวตนายกฯ ยังไม่จบ แจงตั้งรัฐบาลล่าช้าสะเทือนเบิกจ่ายโครงการใหญ่-โครงการใหม่

SCB เคาะจีดีพี 66 โต 3.9% ห่วงจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า กระทบเบิกจ่าย

SCB EIC คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ที่ 3.9% ตามการบริโภคภาคเอกชนและท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดี ท่ามกลางการส่งออกที่ไม่ค่อยสดใส และการจัดตั้งรัฐบาลที่มีความไม่แน่นอนสูง