
“กฟผ.” ลั่นไม่ยืดหนี้ คงจ่ายคืนงวดสุดท้าย เม.ย. 68 ยันมีภาระต้องดูแล หวั่นกระทบสภาพคล่อง-เรตติ้ง ทำดอกเบี้ยลงทุนแพง ส่งผลค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. อยู่ที่ 4.45 บาท/หน่วย
4 ส.ค. 2566 – นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ภาคเอกชนได้เรียกร้องให้ลดค่าไฟเหลือเป็น 4.25 บาทต่อหน่วยด้วยแนวทางสำคัญคือการยืดหนี้กฟผ. 110,000 ล้านบาท ออกไปจาก 5 งวด เป็น 6 งวด หรือสิ้นสุดภายใน เม.ย. 2568 จากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้เห็นชอบเรียกเก็บค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวด ก.ย.-ธ.ค. 2566 ที่ 66.89 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปรับลดลงจากงวดปัจจุบัน (พ.ค.- ส.ค.66)เหลืออยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย ว่า ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากจะกระทบต่อกระแสเงินสด หรือสภาพคล่องของ กฟผ. และกระทบต่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิต เรทติ้ง) ของกฟผ. ด้วย ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการลงทุนในอนาคตสูงขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กฟผ.ได้บริหารกระแสเงินสดและสภาพคล่อง โดย 1. ใช้เงินกู้ 110,000 ล้านบาท 2.ใช้วงเงินกู้ระยะสั้น (Credit Line) สูงสุด30,000 ล้านบาท และ 3.เลื่อนจ่ายเงินนำส่งรัฐ โดย กฟผ. มีภาระในการคืนเงินต้นเงินกู้เสริมสภาพคล่องซึ่งจะเริ่มมีการชำระยอดแรกในปี 2567 แต่ปัจจุบัน กฟผ. ได้เริ่มชำระดอกเบี้ยแล้ว ดังนั้น หาก กฟผ. ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดจนต้องมีการขยายเวลาชำระหนี้ออกไปจะกระทบต่อดอกเบี้ยและเครดิต เรทติ้งของ กฟผ.
“สถานการณ์ค่าเชื้อเพลิงที่มีราคาสูง ทำให้ กฟผ. ต้องแบกภาระ 1.5 แสนล้านบาทในช่วงปลายปี 2565 ได้แบ่งการชำระหนี้คืนออกเป็น 6 งวด (2ปี) ต่อมารัฐได้ให้ขยายเป็น 7 งวด และขณะนี้ทยอยใช้หนี้แล้ว 2 งวด เหลือ 5 งวด เพื่อให้ กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน เม.ย. 2568 จึงต้องขอให้เป็นไปตามนี้ ถ้าขยายไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด เรทติ้งที่ไม่ดี ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูง กระทบต่อการลงทุนและอาจกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว” นายบุญญนิตย์ กล่าว
นายบุญญนิตย์ กล่าวถึงแนวคิดการขอให้ กฟผ.ซื้อไฟจากโซลาร์ รูฟท็อป ส่วนที่เหลือจากการใช้งานตามบ้านเรือนประชาชนในราคาเดียวกับที่ กฟผ.ขาย ว่า เมื่อพิจารณาตามต้นทุนจริง การรับซื้อไฟจากโซลาร์ รูฟท็อป ในราคา 2.20 บาทต่อหน่วยถือเป็นราคาที่เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตแล้ว ในขณะที่ไฟฟ้าที่มาจากการผลิตของ กฟผ.มีต้นทุนหลากหลาย ซึ่งทุกส่วนมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด” “ตัวช่วยสำคัญ” ยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน
แนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิล สู่การใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ต้นแบบ Premium T-VER ยกระดับฟื้นป่า เก็บคาร์บอน
ประเทศไทยตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประชาคมโลก โดยกระตุ้นและส่งเสริมให้ทุกแหล่งกำเนิดร่วมกันลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านลดการใช้พลังงาน
กฟผ. เปิดตัว ฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ รักษ์โลกมากกว่าเดิม
กฟผ. ชวนคนไทยฉลองความสำเร็จ 30 ปี DSM การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ยกระดับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว โฉมใหม่ เพิ่มทางเลือกการประหยัดไฟฟ้ากว่าเดิม มุ่งลดก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ตอบโจทย์นโยบาย Carbon Neutrality ของประเทศ
ชาวสมุทรปราการ แห่รับฟังแผนดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) ของ กฟผ.
ชาวสมุทรปราการ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น แผนดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) ของ กฟผ. สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
ชป. จับมือ กฟผ./จังหวัดขอนแก่น รับมือเอลนีโญเมืองหมอแคน
วันนี้ (8 ก.ย.66) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ