'ธ.ก.ส.' อัดฉีด 3.5 หมื่นล้านเข็น 3 โครงการสินเชื่อหนุน BCG

“ธ.ก.ส.” อัดฉีด 3.5 หมื่นล้านบาท เข็น 3โครงการสินเชื่อหนุน BCG เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร สร้างการเติบโตในภาคเกษตรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

12 ส.ค. 2566 – นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนภายใต้ BCG Model โดยส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกร บุคคล นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร ผ่านสินเชื่อ BCG Model วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. สินเชื่อเพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy Credit) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพิ่มศักยภาพในการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต

2. สินเชื่อเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Credit) เพื่อสนับสนุนการลดปริมาณของเสียให้เท่ากับศูนย์ (Zero waste) โดยนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรสภาพกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และ 3. สินเชื่อสีเขียว (Green Credit) เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด รวมถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เพื่อจูงใจให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร หันมาปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ธ.ก.ส. ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย สำหรับลูกค้าที่อยู่ในช่วงเริ่มโครงการและอยู่ระหว่างการรับรองมาตรฐาน กรณีเป็นเกษตรกร บุคคล อัตราดอกเบี้ย MRR ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 6.975% ต่อปี) และนิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ 5.625%) และในกรณีที่ลูกค้าได้รับการรับรองมาตรฐาน สำหรับเกษตรกร บุคคล จะคิดอัตราดอกเบี้ย MRR -1 ต่อปี และนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ย MLR – 0.5 ต่อปี
โดยกรณีกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน กำหนดชำระคืน ไม่เกิน 12 เดือน พิเศษไม่เกิน 18 เดือน กรณีกู้เพื่อลงทุน ชำระคืนภายใน 15 ปี และกรณีกู้เพื่อชำระหนี้สถาบันการเงินอื่น (Refinance) ชำระคืนภายใน 10 ปี พิเศษไม่เกิน 15 ปี ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มี.ค. 2571

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมชัย' จับตา 'ซุปเปอร์แอป' ถ้าใช้งบทำแล้ว หาแหล่งเงินไม่ได้ จะรับผิดชอบอย่างไร

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. และอดีต รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ ซุปเปอร์ แอ๊ป นับหนึ่งหรือยัง ว่า

อดีตคน ธกส. เคยร่วมแก้กฎหมาย อธิบายชัดเจน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์มาตรา 9

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กระบุว่า #เศรษฐาซื้อเวลาเงินหมื่นสุดท้ายทำไม่ได้ แปลกใจไหมครับ ทำไมวันที่นายเศรษฐาแถลงเรื่องดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท

พรรคร่วมฯ เพียงเห็นชอบเชิงหลักการ รัฐบาลเล่นกลแจกเงินหมื่น หาเสียงนิยมให้พท.

'จตุพร' ซัดรัฐบาลเล่นกลซ่อนเจตนากู้เงินแจกหมื่น เชื่อปั่นความหวังเคลมดิจิทัลหาเสียงนิยมให้เพื่อไทย แต่ ปท.ชิบหายแบกหนี้ก้อนโต ชี้พรรคร่วมฯ เพียงเห็นชอบเชิงหลักการเท่านั้น

เย้ยพรรคร่วมรัฐบาล ยืนแถลงหนุน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' แค่ลมพัดไหว ไม่มีอะไรในกอไผ่

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. และอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โพสต์เฟซบุ๊กว่า

'สร.ธกส.' ร่อนหนังสือจี้ 'ผจก.ธกส.' ทำตามข้อเสนอต่อนโยบาย Digital wallet 3 ข้อ

นายประหยัด ธรรมขันธ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหนังสือที่๑๓๕/ ๒๕๖๗ ลงวันที่ 18 เมษายน 2567 ถึง ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เรื่อง ข้อเสนอต่อการดำเนินนโยบาย Digital wallet