อุตุฯเตือน ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศ ส่งผลให้มีฝนตกหนักทั่วทุกภาค

10 กันยายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมี ฝนตกหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออก

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่า นและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวัง ในการสัญจรผ่าน บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าว เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือ ในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศ สำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตรียมใจยังร้อนกันอีกยาว 'เอลนีโญ'ส่อหวนกลับมาเร็ว

จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศการติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 โดยมี 4 ปรากฏการณ์ ประกอบด้วย ปรากฏการณ์เอนโซ El Nino Southern Oscillation (ENSO) ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) ปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO) และลมมรสุม (Monsoon) นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรว

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 7 อัปเดตชื่อจังหวัดระวังพายุฤดูร้อน ฝนถล่ม 4-7 พ.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2567)

กรมอุตุนิยมฯ เตือน พายุฤดูร้อนถล่มไทยตอนบน 3-7 พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา โดยนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5

ทั่วไทยยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป