พาณิชย์ยึดโมเดล K-POP ผลักดันระบบลิขสิทธิ์ขับเคลื่อนธุรกิจเพลงไทยให้เข้มแข็ง

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (MCST) และสำนักงานคุ้มครองลิขสิทธิ์เกาหลี (KCOPA) จัดการสัมมนา “เจาะลึกบทบาทลิขสิทธิ์กับธุรกิจเพลง” มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายการใช้ลิขสิทธิ์

22 ก.ย. 2566 – นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพลงไทยควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบลิขสิทธิ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้สร้างสรรค์ เจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้ใช้งานเพลง ให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากงานเพลง ซึ่งเป็นงานลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ช่วยให้วัฒนธรรมไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในสังคมโลก”

นายวุฒิไกร ให้ข้อมูลว่า “จากการศึกษาของสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศพบว่า ในปี 2565 อุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงของไทยมีมูลค่า 3,689 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอันดับที่ 24 ของโลก และมีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 20.01 จึงถือได้ว่าอุตสาหกรรมเพลงของไทยเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน และเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดประเภทหนึ่ง”  

นายวุฒิไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า “การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเพลงไทยให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น สามารถแข่งขันได้อย่างมั่นคงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนากรอบกฎหมาย กฎกติกา เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนการเสริมสร้างความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเพลงอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ลิขสิทธิ์เพลงในเชิงพาณิชย์ การใช้งานลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ในทางการค้า ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นว่า เกาหลี เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบลิขสิทธิ์ที่เป็นประโยชน์ และตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชนในประเด็นดังกล่าวอย่างแท้จริง จึงได้ร่วมกันจัดการสัมมนาลิขสิทธิ์ไทย – เกาหลี ประจำปี 2566 ในหัวข้อ “เจาะลึกบทบาทลิขสิทธิ์กับธุรกิจเพลง” เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์ เจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้ใช้ผลงานเพลง ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายการใช้ลิขสิทธิ์ส่งเสริมอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี บทบาทขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ตลอดจนแนวทางการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และค่าสิทธิของนักแสดง เพื่อนำมาปรับใช้กับการดำเนินงานในบริบทของประเทศไทยต่อไป”

“กรมทรัพย์สินทางปัญญาเชื่อมั่นว่า การสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเพลงไทย ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ และเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมั่นคงต่อไป” นายวุฒิไกร กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จีเอ็มเอ็ม มิวสิค' ร่อนจดหมายชี้แจงกรณีดราม่าลิขสิทธิ์เพลง

กำลังเป็นประเด็นร้อนของวงการเพลงเลยทีเดียว สำหรับเรื่องลิขสิทธิ์เพลงและค่าตอบแทนต่างๆของศิลปิน ล่าสุด เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด และป้องกันความสับสนของสาธารณชนเกี่ยวกับประเด็นลิขสิทธิ์เพลงในช่วงเวลาที่ผ่านมา

'เสก โลโซ' เปิดใจปมลิขสิทธิ์เพลง

จากเหตุการณ์ที่ร็อกเกอร์รุ่นใหญ่ เสก โลโซ หรือ เสกสรรค์ ศุขพิมาย มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงกับอดีตต้นสังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยทางหนุ่มเสกนั้นได้ประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊ก SEK LOSO ว่าเพลงของวงโลโซนั้น นักดนตรีและนักร้องสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เพลงทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของตนเองโดยสมบูรณ์

'เสก-กานต์' เตรียมแถลงข่าว เคลียร์ดราม่าลิขสิทธิ์เพลงโลโซ

กลายเป็นประเด็นที่กำลังถูกจับมองเป็นอย่างมาก สำหรับเหตุการณ์ที่ร็อกเกอร์รุ่นใหญ่ เสก โลโซ หรือ เสกสรรค์ ศุขพิมาย กำลังมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงกับอดีตต้นสังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยทางหนุ่มเสกนั้นได้ประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊ก SEK LOSO ว่าเพลงของวงโลโซนั้น นักดนตรีและนักร้องสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เพลงทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของตนเองโดยสมบูรณ์

เตรียมลุ้นแดซังแห่งปี ในงานประกาศผลรางวัลเคป็อบอันดับหนึ่งของโลก!

งานประกาศผลรางวัลเคป็อบอันดับหนึ่งของโลก 2024 MAMA AWARDS กลับมาประกาศศักดาความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของดนตรีเคป็อบที่มีต่อวงการเพลงโลกอีกครั้ง งานนี้ ทรูวิชั่นส์ และแอปพลิเคชันทรูวิชั่นส์ นาว พร้อมเต็มที่กับการรับหน้าที่ถ่ายทอดสดในวันที่ 22 – 23 พฤศิจกายนนี้

พาณิชย์ขึ้นทะเบียน 'ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด' สินค้า GI รายการใหม่จังหวัดตราด

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” สินค้า GI รายการใหม่ ประจำจังหวัดตราด เนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติหวาน มัน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน