พาณิชย์ชี้ช่องผู้ออกแบบลายกางเกงลายไทยยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญาชวนผู้ผลิต ผู้ออกแบบลายกางเกง ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทางการค้า เผยยื่นจดง่ายผ่านออนไลน์ หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แนะต่อไป ควรพัฒนาไปถึงขั้นสร้างเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง

20 ก.พ. 2567 – นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมขอเชิญชวนผู้ออกแบบ หรือเจ้าของลายกางเกงที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนสนับสนุนการออกแบบลายกางเกงของแต่ละท้องถิ่น จดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ลายกางเกงกับกรม โดยสามารถดำเนินการได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-filing) ที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางมาที่กรม และยังสามารถยื่นคำขอจดแจ้งข้อมูลกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศได้ด้วย

“ปัจจุบันการสร้างสรรค์ลวดลายกางเกงที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่น ถือเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์จุดเด่นของแต่ละท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของจังหวัด ช่วยกระตุ้นความสามารถในการผลิตผลงานการสร้างสรรค์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลงานการออกแบบลวดลายดังกล่าว โดยไม่ได้ลอกเลียนผลงานของบุคคลอื่น ถือเป็นงานลิขสิทธิ์ ซึ่งได้รับการคุ้มครองในทันทีที่สร้างสรรค์ขึ้น จึงขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาจดแจ้งลิขสิทธิ์ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากลายกางเกงดังกล่าวในทางการค้าเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นต่อไป”

สำหรับการจดแจ้งลิขสิทธิ์ออนไลน์ เริ่มจากเข้าเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th และเข้าสู่ระบบ Single Sing-on กดเลือกประเภทการจดทะเบียน แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ และเลือกประเภทการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ แบบฟอร์ม ลข.01 กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนทุกหัวข้อ ตรวจสอบหลักฐานและดาวโหลดหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จากระบบ และให้เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้ลงนาม จากนั้นให้อัปโหลดไฟล์หลักฐานประกอบการแจ้งลิขสิทธิ์ โดยกดปุ่มอัปโหลดที่รายการหลักฐานประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ และกดยืนยันตน กดยอมรับเงื่อนไขการรบัรองคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ และส่งคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

ทั้งนี้ กรมมีข้อแนะนำให้กับผู้สร้างสรรค์ลายกางเกงในหลายจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์แล้ว สามารถแสวงหาประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ของท้องถิ่นของตนได้อย่างเหมาะสม และยังเป็น Soft Power ใหม่ของประเทศได้อย่างแท้จริง ซึ่งรวมถึงการสร้างความแตกต่างของสินค้า และสร้างความจดจำของผู้บริโภคผ่านการสร้างแบรนด์กางเกงที่ได้รับการคุ้มครองเป็นเครื่องหมายการค้าต่อไป โดยหากจังหวัดใดหรือผู้สร้างสรรค์ลายกางเกงลายใด ต้องการได้รับข้อมูลและข้อแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่กองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร 02-5474704

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวพังงาเฮ 'ปลิงทะเลเกาะยาว' ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ตัวใหม่แล้ว

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศ ขึ้นทะเบียน “ปลิงทะเลเกาะยาว” เป็นสินค้า GI ลำดับ 4 ของจังหวัดพังงาต่อจากทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา และมังคุดทิพย์พังงา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ 3.3 ล้านบาทต่อปี

พาณิชย์จับมือศูนย์การค้า MBK ต่อต้านสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร พร้อมด้วยภาคเอกชนเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ลุยงานเชิงรุกรณรงค์ปลูกจิตสำนึกเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้กับผู้ค้าและประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

พาณิชย์ร่วมกับ MBK จัดการสินค้าก๊อปแบรนด์

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาหารือผู้บริหารศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ยกระดับการป้องปรามสินค้าละเมิดฯ หนุนผู้ประกอบการไทยเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้า และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มโดยอาศัยทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

ผลักดัน 'ปลาพลวงชมพู-ปลานิลสายน้ำไหล' ขึ้นทะเบียนสินค้า GI จังหวัดยะลา

คณะกรมทรัพย์สินทางปัญญาพาณิชย์ลงพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา เพื่อผลักดันปลาพลวงชมพู ต้นน้ำป่าฮาลาบาลา และปลานิลสายน้ำไหลเบตง ขึ้นทะเบียน GI รายการใหม่ของจังหวัดยะลา เพื่อช่วยสร้างมูลค่า เพิ่มรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

พาณิชย์ยึดโมเดล K-POP ผลักดันระบบลิขสิทธิ์ขับเคลื่อนธุรกิจเพลงไทยให้เข้มแข็ง

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (MCST) และสำนักงานคุ้มครองลิขสิทธิ์เกาหลี (KCOPA) จัดการสัมมนา “เจาะลึกบทบาทลิขสิทธิ์กับธุรกิจเพลง” มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายการใช้ลิขสิทธิ์