พาณิชย์ขึ้นทะเบียน 'ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด' สินค้า GI รายการใหม่จังหวัดตราด

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” สินค้า GI รายการใหม่ ประจำจังหวัดตราด เนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติหวาน มัน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

30 เม.ย. 2567 – นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากบนพื้นฐานแห่งอัตลักษณ์และภูมิปัญญาไทย โดยใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสินค้าท้องถิ่นชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าในแต่ละท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ตลอดจนส่งเสริมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ล่าสุดกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราดต่อจากสินค้าสับปะรดตราดสีทอง และทุเรียนชะนีเกาะช้าง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้

“ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เปลือกผิวสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแข็งแรงและแหลมคม เนื้อทุเรียนสีเหลืองอ่อน หนา มีรสชาติหวาน มัน มีพื้นที่ปลูกอยู่บริเวณ แนวเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินเป็นดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้มีฝนตกมาก อีกทั้งอิทธิพลจากแรงลมทะเลที่เข้าปะทะกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลไปจนถึงพื้นที่เทือกเขาบรรทัดที่ส่งผลให้สภาพความชื้นในอากาศลดลงเร็วกว่าปกติ ทำให้ทุเรียนเกิดอาการเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงเกิดการกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวทุเรียนได้ก่อนพื้นที่อื่น เกษตรกรในพื้นที่จึงเรียกพันธุ์ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกบริเวณ แนวเทือกเขาบรรทัดว่า “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทุเรียนหมอนทอง ในพื้นที่ดังกล่าว ต่อมาได้มีการนำชื่อขยายไปยังกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย และกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนใน 5 อำเภอของจังหวัดตราด ได้แก่ อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอแหลมงอบ และอำเภอเขาสมิง และได้มีการจัดงานสมาร์ทฟาร์มเมอร์แฟร์ที่ได้เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชม และรับประทานบุฟเฟต์ผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคเป็นวงกว้าง สร้างรายได้กว่า 11,047 ล้านบาทต่อปี

ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ทำให้สินค้าท้องถิ่นได้รับการยกระดับมูลค่าสร้างรายได้สู่ชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของไทยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญชวนทุกท่านติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหว และร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้า GI ได้ที่ Facebook Page : GI Thailand หรือโทรสายด่วน 1368

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอนทองเขาบรรทัด' สินค้า GI รายการที่ 3 ของตราด

รัฐบาลมุ่งเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นไทย ขึ้นทะเบียนทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จังหวัดตราด เพื่อความเชื่อมั่นคุณภาพสินค้า ยกระดับรายได้ชุมชน

พาณิชย์จับมือศูนย์การค้า MBK ต่อต้านสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร พร้อมด้วยภาคเอกชนเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ลุยงานเชิงรุกรณรงค์ปลูกจิตสำนึกเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้กับผู้ค้าและประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

พาณิชย์ร่วมกับ MBK จัดการสินค้าก๊อปแบรนด์

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาหารือผู้บริหารศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ยกระดับการป้องปรามสินค้าละเมิดฯ หนุนผู้ประกอบการไทยเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้า และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มโดยอาศัยทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

พาณิชย์ชี้ช่องผู้ออกแบบลายกางเกงลายไทยยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญาชวนผู้ผลิต ผู้ออกแบบลายกางเกง ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทางการค้า เผยยื่นจดง่ายผ่านออนไลน์ หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แนะต่อไป ควรพัฒนาไปถึงขั้นสร้างเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง

พาณิชย์ยึดโมเดล K-POP ผลักดันระบบลิขสิทธิ์ขับเคลื่อนธุรกิจเพลงไทยให้เข้มแข็ง

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (MCST) และสำนักงานคุ้มครองลิขสิทธิ์เกาหลี (KCOPA) จัดการสัมมนา “เจาะลึกบทบาทลิขสิทธิ์กับธุรกิจเพลง” มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายการใช้ลิขสิทธิ์

พาณิชย์ผลักดันสินค้า GI ไทยยกระดับอาหารชุมชนสู่เมนูไฟน์ไดนิ่ง 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้านโยบายสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยต่อเนื่อง ตั้งเป้ายกระดับสินค้าชุมชนสู่ระดับพรีเมียม สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดมุ่งสู่ 52,000 ล้านบาทภายในปี 2566 ล่าสุดดึงร้านอาหารนอร์ธ (North Restaurant) ร่วมรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบ GI สะท้อนอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ่านเมนูอาหารเหนือสไตล์ไฟน์ไดนิ่ง