มาตรการรัฐอุ้มค่าครองชีพ กดเงินเฟ้อ ก.ย. ชะลอตัว 

พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อเดือนก.ย.ชะลอตัว จากผลของมาตรการรัฐทั้งลดค่าน้ำมันและค่าไฟ และ และอาหารลดลงครั้งแรกในรอบ 23 เดือน 

5 ต.ค. 2566 – นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า  ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (เงินเฟ้อ)  เดือนกันยายน 2566  เท่ากับ 108.02 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวอยู่ที่ 0.30 % ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ และกลุ่มอาหารที่ราคาลดลง ทั้งเนื้อสัตว์ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นเพียง 0.63% ชะลอตัวจาก 0.79 % ในเดือนส.ค. 2566

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ พบว่า ประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียน จาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข เช่น สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย โดยอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรป อาทิ สหราชอาณาจักร อิตาลี และเยอรมนี

สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนก.ย. 2566 ที่สูงขึ้น 0.30 % มาจากหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.59 % ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ได้แก่ น้ำมันกลุ่มเบนซิน และกลุ่มแก๊สโซฮอล์ (ยกเว้นกลุ่มดีเซลที่ราคาลดลงเนื่องจากมาตรการตรึงราคาของภาครัฐ) ค่าโดยสารสาธารณะ  หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล อาทิ ยาแก้ไข้หวัด แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ค่าแต่งผมชายและสตรี สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้ง ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า ราคาลดลงเช่นกัน

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงครั้งแรกในรอบ 23 เดือน โดยลดลง 0.10 % หลังจากที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ตามการลดลงของเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อสุกร และไก่สด โดยเฉพาะเนื้อสุกรที่ปริมาณผลผลิตมีจำนวนมาก ผักสด อาทิ ผักคะน้า ต้นหอม และพริกสด เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้อต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น

นายพูนพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า จากราคาเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ และเครื่องประกอบอาหารที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าในกลุ่มพลังงาน ทั้งค่ากระแสไฟฟ้า ราคาน้ำมัน และสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มลดลงจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และฐานราคาในช่วงเดียวกันของปี 2565 อยู่ระดับสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว

“ กระทรวงพาณิชย์ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 จากเดิมอยู่ที่ระหว่าง 1.0 –2.0 % ค่ากลาง 1.5% ใน เป็นระหว่าง 1.0–1.7% ค่ากลาง 1.35% และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง”นายพูนพงษ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดุสิตโพล' ชี้ประชาชนยังหวังพึ่งรัฐ ดูแล ของแพง ค่าครองชีพ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“ที่พึ่งของคนไทย ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) สำรวจระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2566 พบว่า จากการที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ

เผยเสียงสะท้อนปชช. หลังลดราคาน้ำมัน ฝาก 'รมว.พลังงาน' รื้อกม.ปรับโครงสร้างให้เป็นธรรม

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้เป็นวันแรกที่ราคาน้ำมันลดลง 2.50 บาท จากการลงไปสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มาเติมน้ำมันพบว่า ประชาชนดีใจที่ราคาน้ำมันลดลงช่วยเหลือค่าครองชีพได้ระดับหนึ่ง

'รทสช.' ตีปี๊บผลงาน 'รมว.พลังงาน' โซเชียลแห่แชร์ใบเสร็จค่าไฟลดฮวบ

'รทสช.' ปลื้มประชาชนตอบรับนโยบายลดค่าไฟฟ้า แห่แชร์ใบเสร็จลงโซเชียลคึกคัก ตีปี๊บความสำเร็จ 'พีระพันธุ์' บรรเทาค่าครองชีพถ้วนหน้า

สนพ. เผยราคาน้ำมันดิบ ก.ย.ปรับเพิ่มขึ้น สูงสุดในรอบ 9 เดือน

สนพ. เผยราคาน้ำมันดิบเดือน ก.ย. ปรับเพิ่มขึ้น สูงสุดในรอบ 9 เดือนของปี 66 เหตุจากการลดกำลังการผลิตของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจนถึงสิ้นปีนี้

หอการค้าชี้ 'หนี้ครัวเรือน' ไทยพุ่งมากที่สุดในรอบ 15 ปี 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยสถานภาพ "หนี้ครัวเรือน" ไทยปี 2566 พบว่า ภาระ "หนี้ครัวเรือน" เพิ่มสูงขึ้น มากที่สุดในรอบ 15 ปี