ต่างชาติขนเงินลงทุนในไทย 9 เดือนแรก ทะลุ 84,013 ล้านบาท

3 ไตรมาส ปี ‘66 ต่างชาติลงทุนในไทย 84,013 ล้านบาท ญี่ปุ่นครองแชมป์ลงทุนอันดับหนึ่ง 22,929 ล้านบาท ตามด้วย สิงคโปร์ 20,513 ล้านบาท และจีน 13,377 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 5,703 คน

26 ต.ค. 2566 – นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นายจิตรกร ว่องเขตกร) รายงานให้ทราบว่า ช่วง 3 ไตรมาสของปี 2566 (มกราคม – กันยายน) มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 493 ราย เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 166 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 327 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 84,013 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 5,703 คน

ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 111 ราย (ร้อยละ 23) เงินลงทุน 22,929 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 80 ราย (ร้อยละ 16) เงินลงทุน 3,986 ล้านบาท สิงคโปร์ 77 ราย (ร้อยละ 16) เงินลงทุน 20,513 ล้านบาท จีน 38 ราย (ร้อยละ 8) เงินลงทุน 13,377 ล้านบาท และฮ่องกง 20 ราย (ร้อยละ 4) เงินลงทุน 5,369 ล้านบาท รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมแรงดันหลุมขุดเจาะปิโตรเลียม องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการอัดฉีดซีเมนต์ในหลุมแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม องค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนดำเนินการขุดสถานีใต้ดิน องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในโครงการรถไฟฟ้า องค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาในการใช้งานยางล้ออากาศยาน เป็นต้น

เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพิ่มขึ้น 57 ราย (ร้อยละ 13) (เดือน ม.ค. – ก.ย.66 อนุญาต 493 ราย / เดือน ม.ค. – ก.ย.65 อนุญาต 436 ราย) มูลค่าการลงทุนลดลง 15,355 ล้านบาท (ร้อยละ 15) (เดือน ม.ค. – ก.ย.66 ลงทุน 84,013 ล้านบาท / เดือน ม.ค. – ก.ย.65 ลงทุน 99,368 ล้านบาท) และจ้างงานคนไทยเพิ่มขึ้น 1,662 ราย (ร้อยละ 41) (เดือน ม.ค.- ก.ย.66 จ้างงาน 5,703 คน / เดือน ม.ค. – ก.ย.65 จ้างงาน 4,041 คน) โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่น เช่นเดียวกับปี 2565

ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเดือนมกราคม – กันยายน 2566 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ นโยบายการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อาทิ

บริการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียมภายในบริเวณพื้นที่แปลงสำรวจที่ได้รับสัมปทานในอ่าวไทย

บริการบำรุงรักษาหลุมขุดเจาะปิโตรเลียมบนชายฝั่ง

บริการออกแบบ จัดซื้อ จัดหา ติดตั้ง ปรับปรุง พัฒนา ทดลองระบบ เชื่อมระบบ และการเปิดใช้งาน ตลอดจนการบริหารจัดการสำหรับโครงการรถไฟฟ้า

บริการก่อสร้าง รวมทั้ง ติดตั้ง และทดสอบเกี่ยวกับการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสถานีควบคุมก๊าซธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก

บริการออกแบบ จัดหา ติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสำหรับที่ใช้ในสถานพยาบาล

บริการซอฟต์แวร์ ประเภท ENTERPRISE SOFTWARE และ DIGITAL CONTENT

บริการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งให้บริการแก่กิจการของวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ การลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ เดือนมกราคม – กันยายน 2566 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 99 ราย คิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนนักลงทุนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC 16,140 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19 ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็นนักลงทุนจาก * ญี่ปุ่น 41 ราย ลงทุน 6,728 ล้านบาท * จีน 18 ราย ลงทุน 1,990 ล้านบาท * ฮ่องกง 6 ราย ลงทุน 4,046 ล้านบาท และประเทศอื่นๆ อีก 34 ราย ลงทุน 3,376 ล้านบาท

โดยธุรกิจที่ลงทุน อาทิ 1) บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการบริหารจัดการกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ 2) บริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เช่น การออกแบบ และทดลองการใช้งานเครื่องอัดอากาศ และดำเนินการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม เป็นต้น 3) บริการออกแบบแม่พิมพ์โลหะสำหรับผลิตชื้นส่วนยานยนต์ 4) บริการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนโลหะ และ 5) บริการทางวิศวกรรม โดยการให้คำปรึกษาและแนะนำ การออกแบบ การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Modifies) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เฉพาะเดือนกันยายน 2566 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 59 ราย เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 37 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 18,229 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง มีการจ้างงานคนไทย 1,219 คน รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยของก๊าซในอุตสาหกรรม องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและการออกแบบโรงประกอบฐานล่างของรถยนต์ไฟฟ้า องค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรกลทางการเกษตรและอุปกรณ์ต่อพ่วงทางการเกษตร และองค์ความรู้เกี่ยวกับการกลึงลานด้วยเครื่องจักรสำหรับการกลึงข้อต่อ เป็นต้น ธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่

บริการออกแบบ จัดหา ก่อสร้าง ติดตั้ง ทดสอบระบบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาท่อส่งก๊าซสำหรับโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซ

บริการทางวิศวกรรม โดยการให้คำปรึกษาด้านการสำรวจและออกแบบทางวิศวกรรมก่อสร้างสำหรับโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้า

บริการรับจ้างผลิตเครื่องประดับจากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น ทองเหลือง ดีบุก ตะกั่ว พลอยเทียม และพาราเดียม เป็นต้น

บริการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล ซึ่งเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล ทั้งนี้ คาดว่าไตรมาสสุดท้ายของปี และตลอดปี 2566 จะมีจำนวนนักลงทุนและเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายของภาครัฐ เพื่อการอำนวยความสะดวกในการลงทุนจากต่างชาติ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ ผนวกกับมาตรการต่างๆ ในการเร่งผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและสร้างแรงดึงดูดแก่นักลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นภินทร' สั่ง ทูตพาณิชย์ เคลียร์หน้าด่านหนุนส่งทุเรียน-มังคุดช่วงพีค เข้าจีน ให้เร็วที่สุด

“นภินทร” สั่ง “ทูตพาณิชย์ เวียดนาม-จีน” จับตาใกล้ชิด การขนส่งผลไม้ ส่งสัญญาณไทยทันทีหากติดหน้าด่านย้ำ!! ช่วยคนไทยส่งทุเรียน-มังคุดช่วงพีค เข้าจีน ให้เร็วที่สุด

'นภินทร' นำทัพไทยประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ถกหารือเจรจา FTA

สปป.ลาว นั่งหัวโต๊ะประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนนัดแรก ประกาศแผนงานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2567 ผ่าน 3 กลไก ซึ่งเน้นให้อาเซียนเชื่อมโยงกระบวนการผลิตโลกตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ และวางรากฐานอาเซียนมุ่งสู่การพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน และก้าวสู่ภูมิภาคดิจิทัล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อภาคธุรกิจเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกัน

‘นภินทร’ จับมือเจโทรแนะผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จาก FTA

เปิดสัมมนาร่วมเจโทร #ติดอาวุธ MSME ทั้งไทย-ญี่ปุ่น ชี้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกไปประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เร่งอัดฉีดความรู้การใช้สิทธิประโยชน์ผ่าน FTA ให้ผู้ประกอบการ

พาณิชย์เปิดสถิติการส่งออกสินค้าเกษตรไทย 2.8 แสนล้านเหรียญ

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภายหลังได้รับรายงานข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

พาณิชย์จับมือเอกชน เปิดข้อมูลราคาขายปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค และราคาวัสดุก่อสร้าง

“พาณิชย์” ลงนาม MOU ร่วมมือให้ข้อมูลราคาขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาวัสดุก่อสร้าง กับภาคเอกชน 15 ราย เชื่อมโยงข้อมูลราคาสินค้า เพื่อใช้ในการจัดทำดัชนีเศรษฐกิจการค้า มั่นใจช่วยให้การเก็บราคาสินค้า เพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้วัดค่าครองชีพประชาชนได้ดีขึ้น และส่งผลดีต่อการกำหนดราคากลางก่อสร้างภาครัฐ

'นภินทร' หนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เตรียมปักหมุดส่งสินค้าไทยไปจีน

“นภินทร” ชูไอเดียหนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เตรียมปักหมุดส่งสินค้าไทยไปจีนนำทีมพาณิชย์ลงพื้นที่ eWTP เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ฉะเชิงเทรา