สสว. เผยจัดมาตรการช่วงเอสเอ็มอี ตั้งแต่ช่วงโควิดถึง 82 โครงการ

สสว. เผยผลการประมวลมาตรการส่งเสริม SME ตั้งแต่ช่วงวิกฤติโควิด 19 ถึงปี 2565 พบว่า ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือกว่า 82 มาตรการ/โครงการ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นด้านพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ SME มองว่ามาตรการทางการเงินได้รับประโยชน์มากที่สุดโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติ รองลงมาคือการลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ และการสนับสนุนองค์ความรู้

31 ต.ค. 2566 – นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ทำการศึกษาเพื่อประมวลผลมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอี ที่ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวิกฤติโควิด-19 หรือตั้งแต่ปี 2563-2565 เพื่อทราบผลจากนโยบายของภาครัฐในมิติต่างๆ ทั้งด้านความเหมาะสม ความยากง่ายในการเข้าถึง ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับ รวมถึงปัญหา-อุปสรรค เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา รวมถึงออกแบบนโยบายส่งเสริมเอสเอ็มอี ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา

จากการประมวลผลโดยภาพรวม พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวมีมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอี รวมไม่น้อยกว่า 82 มาตรการ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐรวมกว่า 30 หน่วยงาน แบ่งเป็นกลุ่มมาตรการหลักๆ 3 กลุ่ม โดยกลุ่มมาตรการส่งเสริมที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาปัจจัยเอื้อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอี มีสัดส่วนร้อยละ 42.68 รองลงมาเป็นด้านการพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอี คิดเป็นร้อยละ 37.80 และด้านการเงิน คิดเป็นร้อยละ 19.51
ทั้งนี้ พบว่า มาตรการที่เอสเอ็มอีเห็นว่าเป็นประโยชน์มากที่สุดโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิด-19 คือมาตรการทางการเงิน อาทิ การพักชำระหนี้หรือผ่อนผันการชำระหนี้ การลดค่าน้ำ ค่าไฟ การกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน ฯลฯ

ส่วนกลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) ได้รับประโยชน์จากโครงการอบรมความรู้และการพัฒนาศักยภาพมากที่สุด ขณะที่ สสว. มีมาตรการสำคัญที่ยังคงดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเช่น มาตรการ THAI SME-GP หรือมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS เป็นต้น

สำหรับในปีนี้ได้คัดเลือกมาตรการสำคัญ 2 มาตรการ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อ SME
ในวงกว้าง เพื่อให้ศึกษาปัญหาอุปสรรค และแนวทางการพัฒนาต่อยอด ได้แก่ มาตรการการกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit Term) สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และมาตรการช่วยเหลือและปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว สำหรับลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี โดยมีผลการศึกษา ดังนี้

ในเรื่อง การกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit Term) สำหรับผู้ประกอบการ SME
ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24.50 ได้รับ Credit Term จากคู่ค้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

คือ กรณีเป็นสินค้าหรือบริการทั่วไป Credit Term ต้องชำระไม่เกิน 45 วัน กรณีสินค้าเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ต้องชำระไม่เกิน 30 วัน โดยอุปสรรคสำคัญมาจากการที่คู่ค้ากำหนดช่วงเวลาการรับวางบิล การชำระหลังจากวันที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการครบถ้วนถูกต้อง ในส่วน SME ที่เป็นผู้ขายยังขาดความเข้าใจในการรักษาสิทธิ์ของตนเอง ในกรณีที่คู่ค้ากำหนด Credit Term ไม่เป็นไปตามที่กฎหมาย จะสามารถร้องเรียนได้ที่ไหน หรือได้รับการคุ้มครองอย่างไร เป็นต้น

ส่วนมาตรการช่วยเหลือและปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว สำหรับลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พบว่า เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง
โดยกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 59.90 เห็นว่า ช่วยบรรเทาภาระหนี้สินของธุรกิจ อาทิ มีเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจโดยเพิ่มหลักประกัน / ปรับการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง / พักชำระหนี้เงินต้น / ลดอัตราดอกเบี้ยและการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ในจำนวนนี้มีร้อยละ 6.40 ที่ได้รับข้อแนะนำเพื่อการแก้ไขหนี้อย่างเหมาะสม จึงสะท้อนได้ว่า นโยบายดังกล่าว สามารถพัฒนาด้วยการให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกแนวทางที่เหมาะต่อการปรับโครงสร้างหนี้ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือรับรู้เกี่ยวกับมาตรการ ซึ่งอาจจะมีผลมาจากขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง

ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาจะนำไปสู่การพัฒนาหรือออกแบบนโยบาย/มาตรการส่งเสริม SME ที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยยึดผู้ประกอบการ SME เป็นศูนย์กลาง กำหนด SME กลุ่มเป้าหมายและปัญหาที่ชัดเจน เร่งสร้าง Ecosystem เช่น Big Data ระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยให้ SME สามารถพัฒนาตนเอง รวมถึงการปรับ Mindset ของผู้ประกอบการด้านการเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurial ให้มองการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับองค์ความรู้การตลาด และการเงิน เพื่อสร้างโอกาสต่อยอดในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสว. จับมือ เทลสกอร์ ผลักดัน “อินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง” หนุนยอดขายเอสเอ็มอี

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า สสว. มีพันธกิจในการบูรณาการ และผลักดันการส่งเสริม MSME

สสว. จับมือ ช้อปปี้ หนุนสิทธิประโยชน์ขยายช่องทางตลาด จัดแคมเปญ “SUPER SMEs SELECT” ผลักดันสินค้า SME กว่า 1,000 ราย โปรโมชันจัดหนักจัดเต็ม

สสว. ร่วมกับ ช้อปปี้ จัดแคมเปญออนไลน์ “SUPER SMEs SELECT” ระหว่างวันที่ 4 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2567 บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ภายใต้งานส่งเสริมสิทธิประโยชน์ SME ชวนอุดหนุนสินค้ากว่า 1,000 ร้านค้า

"สสว." จับมือ "โอเพนเอเชีย " จัดเต็มสิทธิประโยชน์เอสเอ็มอี ลุยส่งออกตลาดจีน

สสว. ร่วมกับ โอเพนเอเชีย สร้างโอกาสเอสเอ็มอีไทย ผลักดันสิทธิประโยชน์เสริมศักยภาพมุ่งเน้นส่งออกสินค้าจำหน่ายยังสาธารณรัฐประชาชนจีน

สสว. จับมือ ทรูสเปซ เพิ่มสิทธิประโยชน์ เสริมความคล่องตัว SME ไทยรุ่นใหม่ ใช้พื้นที่สร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

สสว. ร่วมกับ ทรูสเปซ พื้นที่ทำงานยุคใหม่ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เพิ่มโอกาสให้เอสเอ็มอีชูงานพัฒนาสิทธิประโยชน์ เดินหน้าผลักดันสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่

สสว. เผยภาคธุรกิจการเกษตรนำโด่งครองแชมป์นำเข้าสินค้ามากสุด

สสว. เผยผลสำรวจการนำเข้าสินค้าของเอสเอ็มอีไทย พบว่า ภาคธุรกิจเกษตร นำเข้าสินค้ามากที่สุด ส่วนกลุ่มสินค้าที่ครองแชมป์นำเข้าสูงสุด ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์ เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าศัตรูพืช น้ำยาทำความสะอาด และกลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค แหล่งนำเข้าหลักมาจาก จีน ญี่ปุ่น อเมริกา เกาหลีใต้ และ เวียดนาม ฯลฯ โดยนำเข้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นหลัก แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ราคาขนส่งและความล่าช้าในการขนส่ง ผู้ประกอบการ SME จึงต้องการให้ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาสินค้าในประเทศให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อทดแทนการนำเข้า