'สสว.' มั่นใจเอสเอ็มอีปี 65 โตคึกคักดันจีดีพีโตแตะ 5.4%

สสว.มั่นใจเอสเอ็มอีปี 65 โตคึกคัก ดันจีดีพีโตแตะ 5.4% หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย พร้อมรับอานิสงส์มาตรการรัฐกระจายรายได้

21 ธ.ค. 2564 นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ภาพรวมการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคเอสเอ็มอี (จีดีพีเอสเอ็มอี) ปี 65 คาดการณ์ไว้ 2 กรณี กรณีแรกหากเศรษฐกิจขยายตัวดี มีการฉีดวัคซีนเพียงพอ ไม่มีการแพร่กระจายโควิด – 19 รุนแรง คาดว่า จีดีพีเอสเอ็มอี จะขยายตัว 5.4% เนื่องจากภาคบริการจะกลับมาฟื้นตัวอย่างคึกคัก ขยายตัวประมาณ 5.82% ขณะที่ภาคก่อสร้าง จะขยายตัว 5.97% ภาคการผลิต และภาคค้าส่งค้าปลีก คาดว่า ขยายตัว 5.14% ภาคการเกษตร ขยายตัว 5.01%

สำหรับกรณีที่ไทย ยังพบ การแพร่ระบาดของโควิด – 19 จากประเทศต้นทาง คาดว่า จีดีพีเอสเอ็มอี จะขยายตัวประมาณ 3.2% แบ่งเป็นภาคบริการ จะขยายตัว 3.35% ภาคก่อสร้าง ขยายตัว 3.94% ภาคการผลิต ขยายตัว 3.07% ภาคค้าส่งค้าปลีก ขยายตัว 3.05% ภาคเกษตรขยายตัว 2.97% แต่หากเกิดสถานการณ์กลับมาแพร่ระบาดอย่างรุนแรงภายในประเทศอีก จะต้องพิจารณาใหม่อีกครั้งต่อไป
ส่วนสถานการณ์ปี 64 คาดว่า จีดีพีเอสเอ็มอี จะขยายตัวเป็นบวก หลังจากพิจารณาไตรมาส 3 ปีนี้ ขยายตัว 0.2% มีมูลค่ารวม 1.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 34.5% ของจีดีพีประเทศ และเมื่อพิจารณาจีดีพี ตามขนาดวิสาหกิจ พบว่า รายย่อย หรือไมโคร มีการขยายตัวสูงสุด 8% รองลงมาคือ ขนาดกลาง 2.2% ส่วนวิสาหกิจขนาดย่อม ติดลบ 3.8%

“การฟื้นตัวของเอสเอ็มอี ที่เริ่มมาตั้งแต่ไตรมาส 2 และต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 นี้ เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐคือโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ที่กลับมาดำเนินการอีกครั้งในไตรมาสนี้จนถึงสิ้นปี 64 รวมทั้งยังมาจากความสามารถในการปรับตัวของผู้ประกอบการโดยเฉพาะในกลุ่มขนาดกลาง และมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคส่งออกที่กลับมาเติบโต รวมถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี ได้เริ่มส่งผลอย่างต่อเนื่อง”นายวีระพงศ์ กล่าว

อย่างไรก็ตามตัวเลขเอสเอ็มอีปัจจุบันทั่วประเทศ มีจำนวน 3,176,055 ราย เป็นกลุ่มวิสาหกิจรายย่อยมากที่สุดคิดเป็น 85.47% รองลงมาคือวิสาหกิจขนาดย่อม คิดเป็น 13.18% และวิสาหกิจขนาดกลาง คิดเป็น 1.35% ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยพลิกฟื้นหรือฟื้นฟูรวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ มีมาตรการสำคัญที่สสว. ร่วมกับกรมบัญชีกลาง สนับสนุนให้เอสเอ็มอี เข้าถึงจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ มีผู้ขึ้นทะเบียนในระบบรวม 115,200 ราย มีรายการสินค้าและบริการ รวม 898,000 รายการ ได้รับการจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานภาครัฐคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 551,306 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสว. จับมือ เทลสกอร์ ผลักดัน “อินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง” หนุนยอดขายเอสเอ็มอี

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า สสว. มีพันธกิจในการบูรณาการ และผลักดันการส่งเสริม MSME

สสว. จับมือ ช้อปปี้ หนุนสิทธิประโยชน์ขยายช่องทางตลาด จัดแคมเปญ “SUPER SMEs SELECT” ผลักดันสินค้า SME กว่า 1,000 ราย โปรโมชันจัดหนักจัดเต็ม

สสว. ร่วมกับ ช้อปปี้ จัดแคมเปญออนไลน์ “SUPER SMEs SELECT” ระหว่างวันที่ 4 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2567 บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ภายใต้งานส่งเสริมสิทธิประโยชน์ SME ชวนอุดหนุนสินค้ากว่า 1,000 ร้านค้า

รัฐบาลช่วย SME ไทย เข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านมหกรรมทรัพย์หลักประกันทางธุรกิจ

รัฐบาลบูรณาการความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับ SME ไทย ผ่านการจัดงานมหกรรมทรัพย์หลักประกันทางธุรกิจ

"สสว." จับมือ "โอเพนเอเชีย " จัดเต็มสิทธิประโยชน์เอสเอ็มอี ลุยส่งออกตลาดจีน

สสว. ร่วมกับ โอเพนเอเชีย สร้างโอกาสเอสเอ็มอีไทย ผลักดันสิทธิประโยชน์เสริมศักยภาพมุ่งเน้นส่งออกสินค้าจำหน่ายยังสาธารณรัฐประชาชนจีน

สสว. จับมือ ทรูสเปซ เพิ่มสิทธิประโยชน์ เสริมความคล่องตัว SME ไทยรุ่นใหม่ ใช้พื้นที่สร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

สสว. ร่วมกับ ทรูสเปซ พื้นที่ทำงานยุคใหม่ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เพิ่มโอกาสให้เอสเอ็มอีชูงานพัฒนาสิทธิประโยชน์ เดินหน้าผลักดันสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่

สสว. เผยภาคธุรกิจการเกษตรนำโด่งครองแชมป์นำเข้าสินค้ามากสุด

สสว. เผยผลสำรวจการนำเข้าสินค้าของเอสเอ็มอีไทย พบว่า ภาคธุรกิจเกษตร นำเข้าสินค้ามากที่สุด ส่วนกลุ่มสินค้าที่ครองแชมป์นำเข้าสูงสุด ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์ เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าศัตรูพืช น้ำยาทำความสะอาด และกลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค แหล่งนำเข้าหลักมาจาก จีน ญี่ปุ่น อเมริกา เกาหลีใต้ และ เวียดนาม ฯลฯ โดยนำเข้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นหลัก แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ราคาขนส่งและความล่าช้าในการขนส่ง ผู้ประกอบการ SME จึงต้องการให้ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาสินค้าในประเทศให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อทดแทนการนำเข้า