รัฐบาลผลักดันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหวังลดการนำเข้า

กระทรวงอุตสาหกรรม-กระทรวงกลาโหม จับมือเร่งผลักดันส่งเสริมอุตฯ ป้องกันประเทศหวังลดการนำเข้า ขยายการส่งออก สร้างรายได้ให้กับประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน

7 ก.พ. 2567 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตนได้เข้าพบและหารือกับนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ว่า ทั้งสองกระทรวงเห็นร่วมกันถึงความสำคัญและร่วมกันผลักดันเพื่อให้เกิดการพัฒนา รวมถึงการลดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้เช่นเดียวกันทั้งในด้านความมั่นคงทางกองทัพ การลดการนำเข้าและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยได้มีการดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

“จากการหารือดังกล่าว ทั้ง 2 กระทรวง มีความคิดเห็นที่จะร่วมกันให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยกระทรวงกลาโหมเห็นด้วยในการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการในประเทศที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน เพื่อเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการ และสร้างห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงให้มีพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือในรายละเอียดและกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะส่งแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้กระทรวงกลาโหมใช้ประกอบการพิจารณาของคณะทำงานเพื่อศึกษาและพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศต่อไป” รมว.อุตสาหกรรม กล่าว

นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นความสำคัญและโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเป็น New S Curve ที่ 12 ให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ และลดการนำเข้า โดยได้กำหนดผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่มีศักยภาพเบื้องต้นนำร่อง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มยานพาหนะรบ 2. กลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือ 3. กลุ่มอากาศยานไร้คนขับ และ 4. กลุ่มอาวุธและกระสุนปืนสำหรับการป้องกันประเทศและกีฬา อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าผู้ผลิตในประเทศไม่สามารถแข่งขันได้เนื่องจากปัญหาต้นทุนการผลิต เป็นผลมาจากอากรวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่นำเข้าสูงกว่าอากรยุทธภัณฑ์ที่นำเข้าเป็นสินค้าสำเร็จรูป ทำให้ยุทธภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศมีราคาสูง ส่งผลให้การใช้ในประเทศจากกองทัพยังมีไม่มาก รวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค เช่น ขั้นตอนการดำเนินการ G2G ที่ใช้เวลานาน ทำให้สูญเสียโอกาสในการส่งออก

“แนวทางแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างภาษี ในเบื้องต้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนใช้กลไกการจัดตั้งโรงงานในเขตปลอดอากร (Freezone) ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน เพื่อนำมาประกอบหรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในกรณีที่ส่งออก ขณะเดียวกันสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย หากเข้าตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ Local Content มากกว่าร้อยละ 40 และมีกระบวนการผลิตที่มีสาระสำคัญตามที่ สศอ. กำหนด จะส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง และสามารถขายได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ” นางสาวพิมพ์ภัทรา  กล่าว

ด้านนางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า การพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นอกจากจะพิจารณาในแง่การลดอุปสรรคในการแข่งขันแล้ว การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยังก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง เช่น การพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ นอกจากจะให้เกิดประโยชน์ทางการทหารแล้ว ยังสามารถพัฒนาให้เป็น Dual Used ได้ เช่น การพัฒนาอากาศยานไร้คนขับใช้ในการแพทย์เพื่อขนส่งผู้ป่วยหรือใช้ในการเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศขยายวงกว้างขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา1/1'เศรษฐกิจ-การเมืองนำ เว้นระยะ'ความมั่นคง-กองทัพ'

โฉมหน้า “คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1/1” ที่ออกมา นอกจากจะเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตัวบุคคลของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เป้าหมายที่ฉายภาพชัดต่อทิศทางการบริหารงานของรัฐบาล

งบ68 ทร.ซื้อเครื่องบินลำเลียง  ‘เรือดำน้ำ-ฟริเกต’ ไปถึงไหน?

คงต้องติดตามดูต่อไปว่า “สุทิน” จะได้รับการอนุมัติให้นั่งเก้าอี้ รมว.กลาโหมต่อเพื่อผลักดันโครงการ และปัญหาที่ยังไม่ลุล่วงเหล่านี้หรือไม่

งบ68ทร.ซื้อเครื่องบินลำเลียง “เรือดำน้ำ-ฟริเกต”ไปถึงไหน?

ฟันธงกันว่าปิดจ๊อบปรับคณะรัฐมนตรี “เศรษฐา 2” ที่โรงแรมหรูกลางกรุงไปแล้ว โดยมี ทักษิณ ชินวัตร นั่งหัวโต๊ะคุยรอบสุดท้ายโดยไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน ว่ากันว่า โผนี้ชื่อของ เกรียง กัลป์ตินันท์ กับ สุทิน คลังแสง ยังเหนียว

ศึก“วางคน-วางเกม”รับมือ สะท้อนผ่านวอรูม“เมียนมา”

ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางหลังจาก นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมา

อดีตบิ๊กข่าวกรอง ชี้ 'บิ๊กทิน' กินยาผิด! ยันทหารไม่อยากยึดอำนาจถ้านักการเมืองไม่โกง

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Nantiwat Samart หัวข้อ