ปราบสินค้าปลอม ต.ค.66-ม.ค.67 จับกุมได้รวม 110 คดี

กรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยผลการปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั่วประเทศ เพื่อตัดตอนแหล่งจำหน่าย และปกป้องผู้บริโภคจากอันตรายของสินค้าปลอม ตั้งแต่ ต.ค.66-ม.ค.67 จับกุมได้รวม 110 คดี ของกลาง 89,031 ชิ้น เป็นการปลอมผงปรุงรสเจ้าดังถึง 69,404 ชิ้น ที่เหลือเป็นกระเป๋า รองเท้า นาฬิกา น้ำหอม

6 มีนาคม 2567 – นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมจัดชุดปฏิบัติการพร้อมด้วยตัวแทนเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ บริษัท ซีเล็คทีฟ เทรดมาร์ค ยูเนี่ยน (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท สัตยะพล แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด บริษัท อาร์.ดับบลิว.ที. อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ ออฟฟิศ จำกัด บริษัท เอสแอนด์โอ ไอพี จำกัด บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา นครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่ ภูเก็ต ชลบุรี นครนายก สระแก้ว จันทบุรี ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ถนนข้าวสาร ประตูน้ำ ศูนย์การค้าแพลทินัม และสำเพ็ง เพื่อตรวจสอบการจำหน่ายสินค้าละเมิด ควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา อันเป็นการส่งเสริมการค้าการลงทุนภายในประเทศ ตลอดจนปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคจากอันตรายที่อาจเกิดจากการบริโภคสินค้าปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน

ทั้งนี้ ผลการดำเนินการตั้งแต่เดือน ต.ค.2566-ม.ค.2567 มีการปราบปรามและดำเนินคดีกับผู้จำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งสิ้น 110 คดี ของกลางจำนวน 89,031 ชิ้น โดยหนึ่งในจำนวนคดีและของกลางทั้งหมดเป็นการจับกุมผงปรุงรสปลอมเครื่องหมายการค้าเจ้าดัง จำนวน 69,404 ชิ้น ซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค รวมถึงสินค้าปลอม ทั้งกระเป๋า รองเท้า นาฬิกา และน้ำหอม เป็นต้น

สำหรับบทลงโทษของการจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ปรับสูงสุด 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับสูงสุด 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหากประชาชนพบเห็นการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สามารถแจ้งเบาะแสผ่านทางเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th หัวข้อบริการ “แจ้งเบาะแสการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา” หรือโทรสายด่วน 1368

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง โดยรณรงค์สร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ประกอบการในการนำสินค้าที่ถูกต้องมาจำหน่าย พร้อมกับบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคจากอันตรายที่เกิดจากการบริโภคสินค้าปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน  โดยผนึกกำลังกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และเอกชน ลงพื้นที่ปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง ในแหล่งผลิตและจำหน่ายรายใหญ่ เพื่อตัดตอนและป้องกันการกระจายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาไปยังท้องตลาด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวพังงาเฮ 'ปลิงทะเลเกาะยาว' ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ตัวใหม่แล้ว

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศ ขึ้นทะเบียน “ปลิงทะเลเกาะยาว” เป็นสินค้า GI ลำดับ 4 ของจังหวัดพังงาต่อจากทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา และมังคุดทิพย์พังงา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ 3.3 ล้านบาทต่อปี

พาณิชย์ชี้ช่องผู้ออกแบบลายกางเกงลายไทยยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญาชวนผู้ผลิต ผู้ออกแบบลายกางเกง ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทางการค้า เผยยื่นจดง่ายผ่านออนไลน์ หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แนะต่อไป ควรพัฒนาไปถึงขั้นสร้างเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง

ผลักดัน 'ปลาพลวงชมพู-ปลานิลสายน้ำไหล' ขึ้นทะเบียนสินค้า GI จังหวัดยะลา

คณะกรมทรัพย์สินทางปัญญาพาณิชย์ลงพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา เพื่อผลักดันปลาพลวงชมพู ต้นน้ำป่าฮาลาบาลา และปลานิลสายน้ำไหลเบตง ขึ้นทะเบียน GI รายการใหม่ของจังหวัดยะลา เพื่อช่วยสร้างมูลค่า เพิ่มรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

พาณิชย์ผลักดันสินค้า GI ไทยยกระดับอาหารชุมชนสู่เมนูไฟน์ไดนิ่ง 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้านโยบายสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยต่อเนื่อง ตั้งเป้ายกระดับสินค้าชุมชนสู่ระดับพรีเมียม สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดมุ่งสู่ 52,000 ล้านบาทภายในปี 2566 ล่าสุดดึงร้านอาหารนอร์ธ (North Restaurant) ร่วมรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบ GI สะท้อนอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ่านเมนูอาหารเหนือสไตล์ไฟน์ไดนิ่ง

พาณิชย์ขึ้นทะเบียน GI 'ปลาทูแม่กลอง' ลำดับที่ 4 ของจังหวัดสมุทรสงคราม

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้าประกาศขึ้นทะเบียน GI ต่อเนื่อง ล่าสุดดัน “ปลาทูแม่กลอง” สินค้ายอดนิยมแห่งเมืองสามน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสินค้า GI สร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนกว่า 12 ล้านบาท สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กรมทรัพย์สินทางปัญญา จับมือ ปตท. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมด้วย ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ