ทช. ใส่เกียร์เริ่มเดินหน้าโครงการถนนต่อเชื่อมถนน ’นครอินทร์ - ศาลายา’ หวังรองรับการเติบโตในพื้นที่

กรมทางหลวงชนบท เผยความคืบหน้าโครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ – ศาลายามุ่งแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบนถนนกาญจนาภิเษก – บรมราชชนนี รองรับการเติบโตในพื้นที่ จ.นนทบุรี/นครปฐม

13 ม.ค.2565-นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.)เปิดเผยว่า กรมฯอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินโครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ – ศาลายา จังหวัดนนทบุรี, นครปฐม ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มเติมโครงข่ายให้สมบูรณ์ เสริมประสิทธิภาพเส้นทางคมนาคม พร้อมแก้ไขการจราจรติดขัดบนถนนกาญจนาภิเษก ถนนบรมราชชนนี รองรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดนครปฐม ตลอดจนเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

สำหรับโครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ – ศาลายา จังหวัดนนทบุรี, นครปฐม ตั้งอยู่ที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอบางกรวย, บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นโครงการตัดถนนแนวใหม่ ขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากทางหลวงชนบทสาย นฐ.5035 แนวเส้นทางวางตัวไปทางทิศตะวันออก ผ่านคลองตาพริ้ง ผ่านจุดตัดที่ประมาณ กม.ที่ 3+500 บนถนนทางหลวงชนบทสาย นฐ.3004 ข้ามคลองนราภิรมย์ ตัดผ่านทางหลวงชนบทสาย นบ.5014 ข้ามคลองสามท้าว ตัดทางหลวงชนบทสาย นบ.1001 ข้ามคลองจีนบ่าย ข้ามคลองขุนเจน

ทั้งนี้โดยแนวเส้นทางจะอยู่ทางทิศเหนือของศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ และแนวเส้นทางจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองลาดละมุด ผ่านถนนทางหลวงชนบทสาย นบ.5035 ใกล้กับทางแยกเข้าวัดบางม่วง จากนั้นแนวจะเบี่ยงไปทางขวาวางแนวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ข้ามคลองโสนน้อยตัดผ่านถนนทางหลวงชนบท นบ.1001 บริเวณซอยอินทนิล จากนั้นแนวจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านพื้นที่โล่งด้านหลังหมู่บ้านศุภาลัยการ์เด้นวิลล์

ข้ามคลองบางนาและคลองประปา ก่อนเบี่ยงขึ้นไปทางทิศเหนือผ่านพื้นที่ระหว่างหมู่บ้านมัณฑนากับอาคารโครงการบ้านเอื้ออาทรบางกรวย (วัดพระเงิน) โดยแนวเส้นทางจะอยู่ด้านทิศใต้ของวัดสุนทรธรรมิการาม ข้ามคลองหัวคู และเข้าบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกโดยเชื่อมทางแยกต่างระดับบางคูเวียง รวมระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร โดยแนวโครงการพาดผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 3 อำเภอ 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 ตำบล และ 28 หมู่บ้าน/ชุมชน

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนลงในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา มีระยะเวลา 5 ปี ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะใช้พื้นที่เวนคืนประมาณ 356 ไร่ อาคารสิ่งปลูกสร้าง 341 รายการ

นายอภิรัฐ กล่าวว่าขณะนี้ ทช.อยู่ระหว่างการปรับข้อมูลการสำรวจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้นและจะของบประมาณในการจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบตามแนวเส้นทางต่อไป นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ – ศาลายา จังหวัดนนทบุรี, นครปฐม เรียบร้อยแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวภูเก็ตเดือดร้อน เอกชนปิดทางลงหาดแหลมหงา รวมตัวทวงคืนพื้นที่สาธารณะ

ชาวภูเก็ตและชาวบ้านตำบลรัษฎา รวมตัวกัน กว่า 300 คน บริเวณประตูทางเข้าของเอกชนที่ปิดกั้นถนนหลวง ของ บริษัท แหลมหงา ดิเวลล็อบเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นถนนที่กรมทางหลวงชนบทได้เป็นผู้สร้างเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537

อดีตรองอธิการ มธ. มีคำตอบทำไม ‘ถนนพระราม2’ สร้างไม่เสร็จเสียที

ความจริงถนนพระราม 2 ไม่รวมทางต่างระดับที่กำลังสร้างบ้างก็มีถึง 14 เลนแล้วยังไม่พออีกหรือ ทำไมต้องมีทางต่างระดับซ้อนขึ้นมาอีก

ทช.เล็งของบ 9.1  หมื่นล้านลุยสานต่องานถนน สะพาน

‘มนพร’สั่ง ทช.คุมเข้มน้ำท่วมโครงข่ายคมนาคมทั่วไทย เร่งแก้ไขเปิดการสัญจรเส้นทางผ่านไม่ได้ หลังน้ำลดเตรียมสำรวจออกแบบ เล็งขอรับงบกลางพื้นฟูสายทาง ลุยของบปีฯ 67 กว่า 91,910 ล้านบาท สานต่องานถนน สะพาน บำรุงทาง ปลอดภัย ขณะที่งบปีฯ 66 กว่า 47,108 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 90.44%

ชาวมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด เฮ! ทช.เปิดใช้ 2 ถนน บรรเทาจราจรติดขัด - สัญจรสะดวกปลอดภัย

กรมทางหลวงชนบท เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมให้สมบูรณ์อย่างยั่งยืน เปิดใช้ถนนตักสิลาวิถี และถนนจำปาบุรี ผังเมืองรวมเมืองมหาสารคาม บรรเทาการจราจรติดขัด ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนสัญจรได้อย่างสะดวกปลอดภัย