เจเนซิส เผย 15 ไอเดีย สร้างคนคุณภาพ ปฏิรูปการศึกษาไทย สร้างโอกาสการเรียนรู้ยุคดิจิทัล

เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด ชู 15 แนวทางจากประสบการณ์กว่า 29 ปีในแวดวงการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาไทย เน้นพัฒนาคน ให้มีทักษะอนาคต ยกระดับครู  ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคต พร้อมลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม ครอบคลุมทุกช่วงวัย  เผยการลงทุนใน ‘คน’ ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทย

18 ก.พ. 2568 – นายวิทยา มิตรศรัทธา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ในแวดวงการศึกษามากกว่า 29 ปี มองเห็น 15 แนวทางเปลี่ยนโฉมการศึกษาไทย ได้แก่

1. ปรับโครงสร้างเทคโนโลยีโรงเรียน ติดตั้งอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น จอภาพระบบสัมผัส และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง พร้อมสร้าง Makerspace ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง

2. แจกแท็บเล็ตและอุปกรณ์ประจำตัว เพื่อเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ พร้อมพัฒนา Learning Management System (LMS) ที่ครอบคลุมทุกหลักสูตร

3. พัฒนาผู้นำการศึกษาเชิงนวัตกรรม โดยอบรมผู้นำการศึกษา 30,000 คน ให้มีทักษะด้านการคิดเชิงกลยุทธ์และใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

4. เสริมทักษะเทคโนโลยีให้ครู ด้วยซอฟต์แวร์สร้างบทเรียนดิจิทัล ลดภาระงานเอกสาร เพื่อให้ครูมีเวลาสอนมากขึ้น

5. พัฒนาการสอนด้วยสื่อดิจิทัล เช่น สื่อ 3D, VR, Metaverse และส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Problem-Based Learning

6. อบรมครูอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลักสูตร 500 หลักสูตรใน 5 ปี พร้อมสนับสนุนการเรียนรู้แบบ Mentorship และเชื่อมโยงครูรุ่นใหม่กับผู้มีประสบการณ์

7. สร้างแพลตฟอร์มข้อมูลและการสื่อสาร เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง พร้อมระบบติดตามผลสัมฤทธิ์

8. ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงโต้ตอบ ด้วยห้องสมุดดิจิทัลและแพลตฟอร์มคลังสื่อ เพื่อเสริมประสบการณ์การเรียนรู้

9. สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่าน Project-Based Learning และ Microlearning โดยเปิดโอกาสให้เรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย

10. จัดตั้งแพลตฟอร์มฝึกฝนออนไลน์แห่งชาติ รองรับนักเรียน 2 ล้านคน และใช้ AI วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนรายบุคคล

11. เสริมทักษะภาษาอังกฤษ ผ่านกิจกรรม English Day และใช้ AI วิเคราะห์จุดอ่อนด้านภาษา พร้อมส่งเสริมการฝึกสนทนากับครูทักษะสูง

12. พัฒนาทักษะแห่งอนาคต เช่น Coding, AI, Data Analysis และ Soft Skills พร้อมสนับสนุน Experiential Learning

13. เครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาคนและครอบครัว (อพค.) เพื่อเป็น “ครูของชุมชน” ให้คำแนะนำด้านการศึกษา ทักษะอาชีพ และการใช้ชีวิตในทุกช่วงวัย

14. แพลตฟอร์มวางแผนชีวิต (LPP ID) ใช้ AI วิเคราะห์ศักยภาพ แนะนำเส้นทางอาชีพ และเชื่อมโยงเครือข่ายที่ปรึกษา

15. พัฒนาคนแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งร่างกาย สมอง และจิตใจ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างสุขภาพ ความรู้ และคุณธรรม

นายวิทยา เน้นย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยให้ทันสมัย ต้องเริ่มจากการปรับแนวคิดและกระบวนการพัฒนาคนในทุกมิติ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมและเสริมศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัลและผลักดันประเทศสู่ความยั่งยืนในอนาคต

เพิ่มเพื่อน