
สถาบันอัญมณีฯ เตือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ หากต้องการนำอัญมณีและเครื่องประดับไปจำหน่าย หรือจำนำ ขอให้นำสินค้าไปตรวจสอบก่อน เพื่อเป็นการรับประกัน และป้องกันถูกกดราคา ชี้เป้าตรวจสอบได้ที่ GIT ส่วนผู้บริโภคก่อนซื้อ ให้ถามหาใบรับรอง หรือซื้อจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ BWC
2 ก.พ. 2565 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง ทั้งภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ และประชาชน จากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หยุดชะงัก ทำให้มีประชาชนบางส่วนนำทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ที่เก็บหอมรอบริบเอาไว้ เอาไปจำหน่าย หรือจำนำ เพื่อที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
“ปัจจุบันประชาชน ได้นำอัญมณีและเครื่องประดับออกมาจำหน่าย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น ทั้งขายผ่านร้านรับซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ และจำนำกับโรงรับรับจำนำ รวมถึงการขายผ่านระบบออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ ในราคาถูกเกินความเป็นจริงอย่างมาก เพราะไม่มีความรู้ ความเข้าใจด้านอัญมณีอย่างเพียงพอ และมีข้อมูลสินค้าไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีการรับประกัน ทำให้ถูกกดราคาหรือขายไม่ได้ราคา”
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ในการนำอัญมณีและเครื่องประดับไปจำหน่าย หรือจำนำ GIT ขอแนะนำให้นำอัญมณีและเครื่องประดับที่มีอยู่ ไปตรวจสอบความถูกต้องก่อน ซึ่ง GIT มีการให้บริการในส่วนนี้อยู่แล้ว และสามารถขอใบรับรองได้ ทำให้สินค้าได้รับการรับรอง สามารถที่จะนำไปจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้ออีกด้วย
ปัจจุบัน สินค้าอัญมณีมีทั้งของแท้และของเลียนแบบ เช่น Lab Grown Diamond (เพชรสังเคราะห์ ซึ่งเป็นเพชรที่มีลักษณะธาตุเหมือนเพชรทุกประการ แต่เกิดจากห้องปฏิบัติการ) หรือพลอย Man Made (พลอยสังเคราะห์ ที่เกิดจากห้องปฏิบัติการ) หรือการที่ใช้ชื่อเรียกอย่างเช่น เพชรสวิส เพชรรัสเซีย ก็หมายถึง เพชรเลียนแบบ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และส่งผลต่อราคาในการซื้อขายและจำนำ
ส่วนผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ขอให้เลือกซื้อสินค้าที่มีใบรับรอง หรือเลือกซื้อจากร้านค้าที่ได้เข้าร่วมโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ (Buy With Confidence – BWC) เพราะร้านเหล่านี้ได้ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพจาก GIT เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายว่าอัญมณีและเครื่องประดับ มีมาตรฐานและคุณภาพตรงตามที่ผู้ขายได้ระบุไว้ ซึ่งจะเป็นการลดการร้องเรียนเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าผิดประเภท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เก่ง! 4 คนไทย ถูกแต่งตั้งเป็นบอร์ดสมาพันธ์เครื่องประดับโลก
สถาบันอัญมณีฯ เผย 4 คนไทย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการและอนุกรรมการในสมาพันธ์เครื่องประดับโลก (CIBJO) มั่นใจช่วยขับเคลื่อนมาตรฐานอัญมณีและเครื่องประดับ การแก้ไขปัญหาความท้าทาย ทั้งการเข้ามาของ AI การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล และความยั่งยืน คาดสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมของไทยได้ดีขึ้น
'ลุงตู่' หนุนงานพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2023 ในเดือนส่งท้ายปี
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ส่งเสริมงาน International Chanthaburi Gems and Jewelry Festival 2023 พร้อมกิจกรรม Gems Tour เชื่อมั่นกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้าและการท่องเที่ยว
บูมหนัก GIT World’s Jewelry Design Award นักออกแบบทั่วโลก ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดมากที่สุดในรอบ 5 ปี
ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม กับ โครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับ ครั้งที่ 17 ภายใต้แนวคิดนี้ “Glitter & Gold – The Brilliant Way of Gold Shine”
สถาบันวิจัยอัญมณี กางแผนผลักดัน GIT Standard
“สุเมธ” กางแผนทำงานครึ่งปีหลัง 66 ลุยผลักดัน GIT Standard ยกระดับห้องปฏิบัติการของไทย ในการทำธุรกิจ การตรวจสอบอัญมณี และโหละมีค่า เผยล่าสุดทำมาตรฐานแล้ว 22 ขอบข่าย เตรียมเพิ่มอีก 3 ขอบข่ายปีนี้ กำหนดหลักเกณฑ์ตรวจมรกตและมุก การวิเคราะห์ปริมาณเงิน และมาตรฐานการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล พร้อมลุยขับเคลื่อน BCG ดันผู้ประกอบการใหความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ก่อนร่วมจัดงานแฟร์ใหญ่ 2 งานช่วงปลายปี
ส่งออกอัญมณีเริ่มแผ่ว จับตาปี 66 ปัจจัยเสี่ยงเพียบ
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ม.ค.66 มูลค่า 573.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 1.19% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 732.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 4.51% เหตุเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญชะลอตัว ทำกำลังซื้อหด GIT จับตาปี 66 ปัจจัยเสี่ยงเพียบ แนะปรับตัวผลิตสินค้า BCG ลดคาร์บอน สร้างจุดเด่น และควรมุ่งเจาะจีน ตะวันออกกลาง และอินเดีย ที่มีแนวโน้มเติบโต
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปี 65 รุ่งเติบโตเฉียด 30%
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปี 65 มีมูลค่า 7,987.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 29.54% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 15,057.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 49.82% เผยได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การปรับเปลี่ยนนโยบายโควิด-19 การเดินทางระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จับตาปี 66 เศรษฐกิจสหรัฐฯ อียู เข้าสู่ภาวะถดถอย ต้องเร่งพลิกเกม เน้นขายดีไซน์ รักษ์โลก และเร่งเจาะตลาดที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ตะวันออกกลาง และอาเซียนเพิ่ม