ศธ.เตรียมจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู เชิญชวนครูอีกกว่า 3 หมื่นราย เจรจาเบ็ดเสร็จเจ้าหนี้

15ก .ย.2565- นายวีระ แข็งกสิการ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) นำทีมผู้บริหารศธ. แถลงการขับเคลื่อน 5 นโยบาย ของนางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. ได้แก่ 1. สถานศึกษาปลอดภัย (MOE Safety Center)2. การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา3. อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ 4. โรงเรียนคุณภาพ 5. พาน้องกลับมาเรียน/กศน.ปักหมุด


ในเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู นายทวีสิทธิ์ ใจห้าว รองศึกษาธิการภาค 8 รายงานข้อมูลว่า ในรอบ100 กว่าปี ปัญหาหนี้สินครูซุกอยู่ใต้พรม มาคลี่แก้ปัญหาสมัยนางสาวตรีนุช รมว.ศธ. เพราะปัญหาหนี้ครูถือว่าเป็นปัญหาต้นน้ำของการศึกษาของชาติ หากครูป่วยหรือมีปัญหาก็จะกระทบกับคุณภาพการศึกษา โดยปัจจุบันครู 9 แสนคน ทั่วประเทศ หรือประมาณ 80% มีหนี้รวมกัน 1.4 ล้านล้านบาท เจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 8.9 แสนล้านบาท รองลงมาคือธนาคารออมสิน 3.49 แสนล้านบาท รวมทั้งธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคาร สงเคราะห์และสถาบันการเงินอื่น ๆ การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯมีเป้าหมายต้องการยุบยอดหนี้ของครูให้ลดลง ลดภาระหนี้โดยรวมให้น้อยลง รวมถึงบริหารจัดการทางการเงินให้ครูมีรายได้ต่อเดือน เหลือไม่น้อยกว่า 30% ของเงินเดือน ซึ่งในความก้าวหน้าแก้ปัญหาหนี้สินครู โดยสถานีแก้หนี้ ทั่วประเทศ 588 แห่ง ครูลงทะเบียนแล้ว 4 หมื่นกว่าคน มูลค่าหนี้กว่า 5.8 หมื่นล้านบาท แก้ปัญหาไปแล้ว 11,090 คน หรือประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ลงทะเบียน

ในการแก้ปัญหาลำดับต่อไป นายทวีสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนที่เป็นไฮไลต์สำคัญของโครงการแกัปัญหาหนี้สินครู คือ ครูที่ลงทะเบียนรอบแรก และเหลืออยู่ 3 หมื่นคน ที่ยังไม่ได้แก้ปัญหา จะปูพรมด้วยการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สินครู สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย คิกออฟแห่งแรก ที่จ.กำแพงเพ็ชร ในวันที่ 25 ก.ย.2565 และในเดือน ต.ค.จะมีมหกรรมแก้หนี้ฯ ดังกล่าวอีกหนึ่งสัปดาห์ เพื่อให้สถานีแก้หนี้ครูทั้ง 588 สถานี ได้ร่วมกับสหกรณ์และสถาบันการเงินเชิญครูที่ลงทะเบียน และถูกฟ้องร้องมาคุยกันให้จบที่จุดเดียว

ส่วนโครงการที่ รมว.ศธ.ได้ร่วมมือกับกองทุน กบข. จัด ”โครงการสินเชื่อ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ” เพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แก้ไขปัญหาหนี้สิน ผู้ถูกฟ้องร้อง หรือเป็นกลุ่มหนี้วิกฤติ หรือมียอดเงินเดือนเหลือไม่ถึงร้อยละ 30 เป็นสมาชิก กบข. สามารถนำเงินในอนาคต ในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนมาลดยอดหนี้ได้ ชำระเฉพาะดอกเบี้ยร้อยละ 0.50-1.00 บาท ต่อปี หรือร้อยละ 90 สตางค์ เป็นที่สนใจของครูอย่างมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของกบข.ควบคู่ กับการให้ครูแจ้งความประสงค์เข้ามา ซึ่งผู้ไม่ได้ลงทะเบียนในรอบแรก จะมีการเปิดลงทะเบียนในรอบที่สอง ซึ่งจะได้สิทธิ์การกู้เงินจากกองทุน กบข.ด้วยเช่นกัน

โครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ นาย วิทวัส ปัญจมะวัต ที่ปรึกษานโยบายและแผนอาชีวะศึกษา กล่าวว่า มีสถานศึกษานำร่องโครงการ 88 แห่ง รับนักเรียนได้ 4พันคน หลังดำเนินโครงการผ่านมา 1เทอมการศึกษา นักเรียนสามารถนำทักษะอาชีพไปหารายได้ระหว่างเรียนจุนเจือครอบครัว มีรายได้เฉลี่ย 3-5 พันบาท ต่อคน และจะมีการประเมินโครงการเมื่อครบ 1ปี และนำเข้าครม.พิจารณาเพื่อสนับสนุนงบประมาณต่อไป

นายวีระ แข็งกสิการ โฆษกศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ ศธ. ดูแลโรงเรียนกว่า 3.4 หมื่นแห่ง โดยมีเป้าหมายลดจำนวนโรงเรียนและสร้างรร.คุณภาพ โรงเรียนระดับประถมฯ10,480 แห่ง ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1,155 แห่ง และโรงเรียนพื้นที่ ห่างไกลทุรกันดาร หรือโรงเรียน Stand Alone จำนวน 1,303 แห่ง รวมทั้งสิ้น 12,938 แห่ง โดยเน้น ให้โรงเรียนเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ 6 เรื่อง คือ ให้มีจำนวนครูครบชั้น ครบวิชาเอก มีจำนวนนร.ที่เหมาะสม มีงบฯพอแก่การใช้จ่าย มีอาคารสถานที่ ที่ปลอดภัย มีครุภัณฑ์ อินเตอร์เน็ต เน้นลดการเหลื่อมล้ำ ลดการแข่งขัน ในงบและอัตราครูที่เหมาะสม โดยขณะนี้มีโรงเรียนคุณภาพที่เป็นต้นแบบ 183 แห่ง ทั้งประถม มัธยม โดยครอบคลุม

ส่วนโครงการพาน้องกลับมาเรียน พบว่ามีนักเรียนตกหล่น ออกจากระบบการศึกษากลางคัน121,642 คน ซึ่งขณะนี้ติดตามพบตัวแล้ว80% หรือจำนวน 98,060 คน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา จำนวน 51,766 คน ไม่ประสงค์กลับเข้ามาเรียน 30,755 คน เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น จบการศึกษาภาคบังคับและไม่ประสงค์เข้าเรียนต่อ, อายุพ้นเกณฑ์และไม่ประสงค์จะ เรียนต่อ ความจําเป็นทางครอบครัว ย้ายถิ่นที่อยู่ การคมนาคมไม่สะดวก เสียชีวิต เป็นต้น และส่งต่อหน่วยงานอื่น อาทิ สถานศึกษาพิเศษ-สงเคราะห์ จำนวน 15,539 คน, อยู่ระหว่างการติดตาม จำนวน 5,628 คน, ติดตามแล้วยังไม่พบตัว จำนวน 17,954 คน

ในเรื่องสถานศึกษาปลอดภัย ขับเคลื่อน นายชนะ สุ่มมาตย์ ผอ.ศูนย์ความปลอดภัย ศธ . ได้ชี้แจงการดำเนินงานว่าการพัฒนาบุคลากรผู้ใช้ระบบ MOE Safety Center ระดับหน่วยงาน จนถึงระดับสถานศึกษา หน่วยงานละ 3 คน โดยมีผู้รับรู้และใช้งานได้ 140,273 คน ทั้งออนไลน์และออนไซด์ นอกจากนี้รมว.ศธ. ยังมีนโยบายให้สภานักเรียนมีส่วนร่วมโครงการ ขณะนี้ ในกทม.156 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และมีแผนขยายไปยังโรงรียนในสังกัด สช. รวมทั้ง โรงเรียนในภูมิภาค เชียงใหม่ ขอนแก่น ลพบุรี ภูเก็ต พังงา ระนอง ด้านผู้ใช้งาน ตั้งเป้ามีคนสมัครคนเข้าใช้งาน 5000,000 คน ปรากฎว่ามีคนเข้ามาสมัคร 182,756 คน และการแจ้งเหตุจริงตามตัวเลขล่าสุดวันที่ 14 ก.ย. 65 จำนวน 4,799 คน ส่วนในแง่เชิงคุณภาพ ได้ดำเนิน 4 โครงการ คือ มีเครื่องมือประเมินความเสี่ยง หลักสูตร คู่มือความปลอดภัย ส่งให้สถานศึกษาแล้ว และยังมีแผนโครงการโรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า โดยให้สพฐ.ขับเคลื่อนโครงการ .

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป.ป.ช. เปิดกรุสมบัติ 'อิทธิพล-ตรีนุช' กรณีพ้นตำแหน่งรัฐมนตรี

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอิทธิพล คุณปลื้ม กรณีพ้นจากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม โดยนายอิทธิพล แจ้งว่า มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 81,162,381 บาท มีหนี้สินทั้งหมด 543,016 บาท

ตอกหน้า! ‘ตรีนุช’ บอกสพฐ.ไฟเขียวยืดหยุ่นชุดลูกเสือ-เนตรนารี ตั้งแต่กลางปี65

โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ของกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ ได้มีการยืดหยุ่นการแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาด ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 ที่ผ่านมา

พระเอกมา ‘พิธา’ โดดป้องนักเรียนถูกครูใช้กรรไกรเดินกล้อนผม ขู่ ลงโทษครูที่ละเมิดสิทธิ

‘พิธา’ โดดป้องนักเรียนถูกครูใช้กรรไกรเดินกล้อนผมกว่าร้อยคนจนแหว่งและเสียทรง ตั้งคำถามว่า ‘ทรงผม’ เกี่ยวอย่างไรกับการเรียนรู้ ชูนโยบายก้าวไกล กฎโรงเรียนต้องไม่ขัดหลักสิทธิมนุษยชน ต้องมีมาตรการลงโทษครูที่ละเมิดสิทธิ