PISAสะท้อนเยาวชนไทย พร้อมเข้าสู่โลกศตวรรษที่ 21 หรือไม่

นิตยสาร สสวท. หรือสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).ฉบับที่ 237(เดิอนก.ค.-ส.ค.)ได้ลงบทความเรื่อง “สะท้อนประเด็นจากผลการประเมิน PISA ด้านการอ่าน”เขียนโดย ดร.นันทวัน สมสุข รักษาการผู้อำนวยการ สำนักวิชาการวัดและประเมินผล สสวท และสูชาดา ปัทมวิภาค ผู้ชำนาญ สาชาการวัดและประเมินผลระดับนานาชาติ สสวท  โดยมีสาระสำคัญดังนี้  ว่า
 การประเมินผลทางการศึกษาขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เราคุ้นชื่อกันว่า “PISA” ซึ่งย่อมาจากProgramme for International Student Assessment หรือโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for EconomicCo-operation and Development หรือ OECD) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาในการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนมีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำ เป็นต่อการดำ รงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง

 PISA ประเมินนักเรียนช่วงอายุ 15 ปีซึ่งถือว่าเป็นวัยที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ โดยเน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริง หรือเรียกว่า “ความฉลาดรู้” (Literacy)ได้แก่ ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical literacy) และความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์(Scientific literacy) การประเมินนักเรียนจะประเมินทั้ง3 ด้าน ดังกล่าวไปพร้อมกัน โดยการประเมินแต่ละครั้งจะมีหนึ่งด้านที่เน้นเป็นหลักซึ่งจะหมุนเวียนไปในแต่ละรอบการประเมิน ทั้งนี้ความฉลาดรู้ทั้งสามด้านนี้ถือว่าเป็นสิ่งจำ เป็นสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นสิ่งที่ประชากรจำ เป็นต้องมีเพื่อการพัฒนาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ PISA ได้เริ่มดำ เนินการมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 (PISA 2000) และมีการประเมินอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 ปีเพื่อติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาและมุ่งให้ข้อมูลแก่ระดับนโยบาย ปัจจุบันเข้าสู่การประเมินรอบ PiSA 2022 โดยมีประเทศเข้าร่วมการประเมินมากกว่า 80 ประเทศ

สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมการประเมิน PISA ตั้งแต่การประเมินรอบแรกจนถึงปัจจุบัน และมีสถานะเป็นประเทศสมาชิกสมทบ (Associates) โดยมีสถาบันส ส่่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ทำหน้าที่เป็นศูนย์แห่งชาติ(National Center) ดำ เนินการเก็บข้อมูลการวิจัย

ผลการประเมิน PISA มีความสำ คัญอย่างยิ่งเนื่องจากสามารถบ่งบอกข้อมูลต่อเนื่องให้แก่ระดับนโยบายในการกำหนดสิ่งที่ควรพัฒนาในระบบการศึกษาของแต่ละประเทศ นอกจากนี้PISA ยังเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ(IMD World Competitiveness Ranking) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของประชากรในประเทศในการพิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันและความน่าลงทุนของประเทศอีกด้วย

สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมการประเมิน PISA มาตั้งแต่ PISA2000 จากผลการประเมินพบว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนตั้งแต่การประเมิน PISA 2000 จนถึง PISA 2018 ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของไทยไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ใน PISA 2018 ยังพบว่า มีนักเรียนไทยที่มีความสามารถทางการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน (ระดับ 2) ขึ้นไป ประมาณ 40%, 47%, และ 56%



ทั้งนี้ในจำนวนนี้มีนักเรียนไทยเพียง 0.2% ที่มีความสามารถทางการอ่านในระดับสูง (ระดับ 5 และระดับ 6) ส่วนประเทศสมาชิก OECD มีนักเรียนในกลุ่มประมาณ 9% มีความสามารถด้าน การอ่านที่ระดับสูง นักเรียนสามารถทำความเข้าใจกับบทอ่านที่มีความยาวและจัดการกับแนวคิด ที่เป็นนามธรรมหรือขัดกับความรู้สึกได้สามารถแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น จากสิ่งชี้บอกโดยนัยที่อยู่ในบทอ่านได้  นอกจากนี้ ยังพบว่านักเรียนไทยทั้งกลุ่มที่มีคะแนนสูงและกลุ่มที่มีคะแนนต่ำ ต่างก็มีจุดอ่อนอยู่ที่ด้านการอ่านเช่นเดียวกัน

ดังนั้น การยกระดับความสามารถทางการอ่านของนักเรียนจึงถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับระบบการศึกษาไทย ซึ่งผลการประเมินทั้งคะแนนและสัดส่วนนักเรียนที่มีความสามารถตั้งแต่ระดับพื้นฐานของทั้งสามด้านยังคงต่ำ กว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ในทุกรอบการประเมินที่ผ่านมาโดยเฉพาะในด้านการอ่าน

ความท้าทายในการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านของไทย การประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading Literacy)ของ PISA ต่างจากการประเมินการอ่านทั่วไปที่มักเข้าใจว่ามีบริบทเพียงการอ่านออกเขียนได้  แต่ PISA มีมุมมองเรื่องความฉลาดรู้ด้านการอ่านในแง่การแสดงความสามารถที่กว้างขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับสาระข้อมูลที่ได้อ่าน ผู้อ่านต้องสามารถค้นหาและรู้ตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะระหว่าง PISA 2015 กับ PISA 2018 ที่นักเรียนไทยมีคะแนนการอ่านลดลงถึง 16 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยด้านการอ่านอยู่ที่ 393 คะแนนนั้น เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของคะแนนการอ่าน ระหว่าง PISA 2015 และ PISA 2018 ระหว่างประเทศที่เข้าร่วมการประเมิน พบว่า เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการอ่านกับคะแนน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากกว่ารูปแบบของบทอ่านในข้อสอบ การอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นการอ่านผ่านสื่อดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องเข้าใจสิ่งที่อ่านและบูรณาการเข้ากับความรู้เดิม ตรวจสอบและประเมิน

มุมมองของผู้เขียนและตัดสินใจว่าสิ่งที่อ่านนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ หรือเกี่ยวข้องกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของเรื่องหรือไม่ โดยกรอบการประเมิน PISA2018 ระบุกระบวนการในการอ่าน 3 ด้านหลักที่สะท้อนความฉลาดรู้ด้านการอ่าน

กับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการอ่านกับคะแนนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยที่พบว่า มีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.75 และ 0.83 ตามลำดับดังแสดงในภาพ3นั่นจึงยิ่งสะท้อนภาพที่ชัดเจนว่าสมรรถนะด้านการอ่านคือ รากฐานสำคัญและส่งผลต่อการเรียนรู้ในด้านอื่นๆของนักเรียน ดังนั้น จากผลการประเมิน PISA จึงบ่งชี้ว่าการยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทยถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับระบบการศึกษาไทย

ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อคะแนนการอ่านของนักเรียนไทยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) การมีกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ที่เชื่อว่าความสามารถและสติปัญญาเป็นสิ่งที่พัฒนาได้2) การมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานที่ให้ความสำคัญกับความทุ่มเทในการทำงานให้สำเร็จ และ 3) การรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน โดยไม่มีความรู้สึกเชิงลบหรือแปลกแยก

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ PISA สะท้อนให้เห็นว่า ระบบการศึกษาไทยจำเป็นต้องยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนอย่างเร่งด่วน ซึ่งการดำ เนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเกิดจากการส่งเสริมปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนควบคู่กันอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับนโยบายลงมา โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นนิเวศทางการเรียนรู้และใกล้ตัวของนักเรียนมาก ประกอบ ไปด้วยโรงเรียน ซึ่งสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัย สภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ครูซึ่งมีส่วนอย่างมากในการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้รวมไปถึงการพัฒนาด้านพฤติกรรม อารมณ์และสังคมของอยู่ที่โรงเรียน

นอกจาก 3 ปัจจัยดังกล่าวแล้ว ยังพบว่า มีปัจจัยสำคัญอื่นๆที่ส่งผลเชิงบวกต่อคะแนนการอ่านด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการอ่านของนักเรียนโดยตรง ได้แก่ความเพลิดเพลิน ในการอ่าน และการรู้กลวิธีในการอ่านเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครูและการสนับสนุนจากพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยดังแสดงในภาพ 5

“นักเรียน ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัว ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการหล่อหลอมด้านต่างๆ และเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนในความพยายามและความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียน  เนื่องจากการอ่านเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกๆ วันของคนส่วนใหญ่ การอ่านจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและช่วยให้เราได้รับทราบข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นมากมายและหลั่งไหลอย่างรวดเร็ว”บทวิเคราะห์สรุป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ชื่นชม 3 โครงงาน ของตัวแทนเยาวชนไทย นำขึ้นไปทดลองจริงบนอวกาศ

นายกฯ ชื่นชมตัวแทนเยาวชนไทย จากการแข่งขันโครงการ 'Asian Try Zero-G 2023' ไทยได้รับคัดเลือกถึง 3 โครงงาน เพื่อนำขึ้นไปทดลองจริงบนอวกาศ

เยาวชนไทยในสหรัฐฯพบ “ลุงตู่” เยี่ยมเด็กพิการ และโชว์โชนที่ กต.

คณะโครงการเยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกา เยือนแผ่นดินแม่ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เยาวชนไทยในสหรัฐฯและผู้ปกครองเป็นปลืม “ลุงตู่” ต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ขอถ่ายภาพเซลฟี และขอลายเซ็นต์กันคึกคัก

เด็กไทยกระหึ่มโลก! คว้าเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย

เด็กไทยสร้างชื่อให้ประเทศ คว้า 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 2 เกียรติคุณประกาศ 4 เกียรติบัตรฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย จากมองโกเลีย