'อว.' ร่วมกับ 'ธัชชา-นักวิจัยรางวัลโนเบล' ทำวิจัย 'ดีเอ็นเอของคนไทยโบราณ'

ศ.ดร.สเวนเต้ พาโบ้ และ รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์

4 ต.ค.2565- ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) และภาคีสมาชิกราชบัณฑิตสภา เปิดเผยว่า ขณะนี้ อว. โดยวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ "ธัชชา" ให้ทุนทำวิจัยเรื่องดีเอ็นเอของคนไทยโบราณกับ รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ นักวิจัยรุ่นใหม่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) และทีมนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นงานวิจัยคล้ายกับผลงานของ ศ.ดร.สเวนเต้ พาโบ้ นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแมกซพลังค์ด้านมานุษยวิทยาวิวัฒนาการ(MPI-EVA) ประเทศเยอรมนี ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Physiology or Medicine) ปี 2565 จากผลงานการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาดีเอ็นเอของมนุษย์โบราณ ซึ่งถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการวิจัยทางโบราณคดี โดยการนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมหรือชีววิทยาระดับโมเลกุลมาประยุกต์ใช้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยเป็นผู้บุกเบิกการแยกสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอจากกระดูกของมนุษย์โบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งขุดพบในถ้ำ อายุหลายหมื่นปี ดีเอ็นเอที่สกัดออกมานั้นมีจำนวนน้อยและเสื่อมสภาพไปมากแล้ว แต่ก็ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมาแยกและวิเคราะห์รายละเอียดจนสำเร็จได้ เกิดความรู้ใหม่ว่ามียีนบางส่วนจากมนุษย์โบราณนั้นได้ถ่ายทอดเข้ามาสู่มนุษย์ปัจจุบันด้วย ซึ่งข้อมูลและเทคนิคการศึกษานี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเกิดความตื่นตัวและนำไปเป็นต้นแบบในการศึกษาวิจัยต่อไปอีกอย่างกว้างขวาง เกิดความรู้ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์

ปลัด อว.กล่าวต่อว่า สำหรับ รศ.ดร.วิภู เคยร่วมทีมของ ศ.ดร.สเวนเต้ ระหว่างปี 2559-2562 ที่สถาบันวิจัยแมกซพลังค์ด้านมานุษยวิทยาวิวัฒนาการ ประเทศเยอรมนี ทำการศึกษาดีเอ็นเอโบราณจากตัวอย่างฟันที่ค้นพบในประเทศไทย และได้ร่วมทำงานกับ ศ.ดร.สเวนเต้ เพิ่มเติมอีกเมื่อกลับมาประเทศไทยแล้ว การให้ทุนของธัชชาครั้งนี้จึงถือการเป็นบูรณาการด้านศาสตร์และศิลป์ไปคู่กัน

ด้าน รศ.ดร.วิภู กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวกระโดดในการศึกษาวิจัยทางโบราณคดีอย่างลึกซึ้งโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาทำงานร่วมกับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยการริเริ่มของ "ธัชชา" โดยขณะนี้มีการศึกษาดีเอ็นเอโบราณหลายโครงการ หนึ่งในนั้นเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยไทย โดย รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ และ ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช ร่วมกับนักวิจัยจาก MPI-EVA ศึกษาดีเอ็นเอของมนุษย์โบราณที่พบที่ จ.แม่ฮ่องสอน ได้ข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจมาก โดยจะนำเสนอผลการวิจัยในงานประชุมวิชาการนานาชาติของสมาคม Indo-Pacific Prehistory Association (IPPA) ที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือน พ.ย.นี้

รศ.ดร.วิภู กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตนและทีมของ รศ.ดร.จตุพล คำปวนสาย และ ผศ.ดร.เมธวี ศรีคำมูล กำลังศึกษาดีเอ็นเอของมนุษย์ในประเทศไทยเพิ่มเติม ทั้งดีเอ็นเอมนุษย์โบราณและดีเอ็นเอของมนุษย์ในปัจจุบัน ขยายการวิจัยในภาพใหญ่ขึ้นอีกให้เข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการสนับสนุนจากสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ธัชชา ภายใต้ อว.ซึ่งเห็นชัดเจนว่าประเทศไทยมีความพร้อมและกำลังเป็นผู้นำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับดีเอ็นเอโบราณและวิวัฒนาการของมนุษย์ได้ในระดับภูมิภาคได้

ซากมนุษย์โบราณที่มีดีเอ็นเอ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี

ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ

วันนี้ 19 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สั่งการด่วนระหว่างการประชุม ครม.

“อว. For EV” เดินหน้า 23 หน่วยงาน MOU “ศุภมาส” ประกาศขับเคลื่อนประเทศสู่ Go Green

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบาย อว. For EV ของ 23 หน่วยงานสังกัดกระทรวง อว. เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปเป็น EV HUB

“ศุภมาส” ลั่น! พร้อมส่ง “คน-เทคโนฯ-ทุน” หนุนชุมชนและผู้ประกอบการทั่วประเทศ โดยใช้เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและทุกองคาพยพของ อว. เพื่อให้เกิดการพัฒนา

เมื่อวันที่ 17 มี.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. น.ส.สุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. และผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ปรึกษาติดตามการดำเนินงานของกระทรวง อว.ในพื้นที่ จ. เชียงราย-พะเยา ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน)