พลิกโฉมขีดความสามารถแข่งขันประเทศไทย โดยใข้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ได้อย่างไร(2)

“ถ้ารัฐบาลไม่คิดที่จะเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ โดยไม่คิดใส่ของใหม่เข้าไปในระบบเศรษฐกิจ  ของใหม่ที่ว่านี้ก็คือ  เซมิคอนดักเตอร์  อีวีหรือ PCBA  พวกนวัตกรรมต่างๆ ความสามารแข่งขันของเราก็จะลดไปเรื่อยๆระบบการให้ทุนสนับสนุนจึงต้องเข้ามาช่วย เพื่อสร้างคน เพื่อสร้างนวัตกรรม”

การที่ผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวัน ประเมินว่าไทยไม่สามารถเป็นฮับรถอีวี หรือฮับเซมิคอนดักเตอร์ได้ เพราะขาดวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านต่างๆ เป็นการฉายภาพปัญหาที่ชัดเจน และดูเหมือนเป็นแรงกระตุ้น ที่ทำให้ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ (สอวช.)เล็งเห็นแล้วว่าจะต้องเข้าไปแก้ไขตรงจุดไหน  

ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช.กล่าวว่า  กำลังคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ทุกสิ่งที่วางแผนไว้เกี่ยวกับการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้จริง  ทำให้ สอวช.พุ่งเป้าในเรื่องการสร้างวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ที่จะตอบสนองภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ อย่างแรกที่ดำเนินการไปแล้ว คือ โครงการแซนด์บ๊อกซ์ที่ทำร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือว่า เป็นการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ทำให้อุดมศึกษา ตอบโจทย์อนาคต เช่น ที่ผ่านมาเรียน 4ปี แล้วออกไปทำงาน แต่ในอนาคต คนจะไม่รอปริญญาแล้วทำงาน แซนด์บ๋อกซ์ที่จุฬาฯ คือ ให้เด็กวิศวะฯจุฬาฯ  300 คน จากที่จุฬาฯรับเด็กวิศวะปีละ 800 คน  มาเรียนเป็นเรื่องๆ ที่เรียกว่า Module ซึ่งมีทั้งหมด 5โมดูล ทั้ง5โมดูลตามปกติถ้าเป็นการเรียนอย่างเดียว จะจบภายใน 3 ปีครึ่ง แต่แซนด์บ๊อกซ์ ไม่ทำอย่างนั้น  โดยขยาย5โมดูล ให้เป็นการเรียน 7ปีครึ่ง

“หลักสูตรแซนด์บ๊อกซ์ดังกล่าว เป็นผลจากการพูดคุยกับอุตสาหกรรม  50 บริษัท ที่เข้ามาร่วมจัดการเรียนการสอน และให้เด็กในโครงการเข้ามาเทรนในบริษัทได้เลย  ส่วนเป้าหมายคนที่ 50 บริษัทอยากได้นั้นก็คือต้องการคนที่เป็น Full stack developer  เรียนออกมาแล้วให้ทำงานในโรงงานได้ โดยเด็กที่เรียนจะได้รับประกาศนียบัตร ระบุว่าเป็น full stack developer ได้เงินเดือนเท่ากับอัตราตลาด โดยจะได้เงินตั้งแต่ปี 1  หรือเท่ากับเด็กจะได้งานทำตั้งแต่ปีแรก ทั้งที่ยังเรียนไม่จบ หรือถ้าเด็กไม่กลับไปเรียนอีกก็ย่อมได้   แต่ถ้าเด็กต้องการ Data Engineer ซึ่งเรามีอีก 2โมดูล ให้กลับมาเรียนได้อีก โดยใช้เครดิตหน่วยกิตเดิม หรือถ้าอยากกลับมาเรียนเพิ่มเติมขั้นสูงอีก เรามีโมดูลที่เรียนเพื่อเป็น Cloud Admin  “

นอกจากนี้โครงการแซนด์บ๊อกซ์ ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆอีกรวมเป็น 10 แซนด์บ็อกซ์ (รวมจุฬาฯ)เช่น สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ทำเรื่องเอไอ ออโต้เมชั่น แต่ที่น่าสนใจคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ทำหลักสูตรเทคโนโลยี เพื่อเป็นผู้ประกอบการ  เป็นหลักสูตรพรีเมี่ยม วิธีการสอนก็น่าสนใจ เพราะเอาผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ที่เป็นโปรเฟสเซอร์  และผู้ประกอบการชั้นนำระดับโลกบินมาบรรยายที่มหาวิทยาลัยโดยตรง  พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาให้เด็ก เพื่อช่วยเด็กทำโปรเจ็ก

ถึงมีโครงการทำแซนด์บ๊อกซ์ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรมใหม่ได้ทั้งหมด โครงการจัดตั้งทุนเพื่อพัฒนาคน จึงเกิดขึ้นอีก โดยสอวช. เสนอให้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)สังกัดกระทรวงอว. ร่วมกับจัดตั้งกองทุนร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี )และ เทมาเส็ก ฟาวด์เดชั่น จากประเทศสิงคโปร์  กลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาก็คือนักศึกษาวิศวะฯ ในเครือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชงคล หรือกลุ่มมทร. ที่เรียนชั้นปี 4 ฯ จำนวน 1พันคน  ใช้เวลาเทคคอร์สประมาณ 1ปี หรือ 6เดือน   ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ขีดความสามารถของเด็กกลุ่มนี้สูงขึ้น ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม จบออกมาแล้วสามารถทำงานได้ทันที

“สำหรับเทมาเส็ก ที่ให้ทุนเพราะเขาตระหนักว่าตอนนี้  โลกกำลังขาดแคลนคนกลุ่มนี้  รวมทั้งนักลงทุนสิงคโปร์ที่มาลงทุนในไทย ก็พบว่าต้องการคนและเราไม่มีคนให้ “ผอ.สอวช.กล่าว

ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า สำหรับโครงการที่ร่วมกับเอดีบี เทมาเส็ก  เป็นการเน้นสร้างคนด้านเซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล  รวมทั้งอีวีด้วย และที่บีโอไออยากได้มากๆ คือ การเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมของเราจากอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน ไปสู่รูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีสมัยใหม่  ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี 4 เซ้กเม้นท์ใหญ่ คือ1. ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ที่เป็นเทคโนโลยีของต่างไประเทศ ทุกวันนี้ไทยยังเป็นแค่แรงงานผลิตให้  2. พวกPCB ( Printed Circuit Board)  เป็นเพียงแผงวงจรเปล่า แม้เป็นเทคโนโลยีไม่ได้อยู่ในระดับขั้นสูงมาก แต่ก็ต้องใช้คนที่มีทักษะเข้าไปทำงาน  อุตสาหกรรมทั้ง2กลุ่มที่เรากำลังทำอยู่จึงยังเป็นระดับพื้นๆหรือเป็นระดับ Down Streme ด้วยเหตุนี้ บีโอไอ และสภาอุตสาหกรรมของไทย จึงอยากยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเราให้โตขึ้น หรือให้เป็นระดับกลางน้ำ ที่เรียกว่า Mid  Streme  และเข้าสู่การผลิต Printed Circuit Board Assembly หรือ  PCBA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า PCB  เพราะPCBA  เป็นแผงวงจรที่สมบูรณ์กว่า มีหลายเลเยอร์สร้างฟังก์ชั่นได้หลายอย่าง  หรือเป็นการผลิตชิป ที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมด้านพลังงานและระบบต่างๆ  เช่น รถอีวี โรงไฟฟ้า การบริหารจัดการควบคุม แบตเตอร์รี่ ของรถอีวี เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีความต้องการทั่วโลก

“เช่น ในรถอีวี PCBA เป็นการสร้างชิป ให้สามารถบริหารจัดการแบตเตอร์รี่ หรือ การควบคุมการชาร์จรถไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์นี้ เป็นตัวMid  Streme ที่ไม่ใช่ High Streme ซึ่งเป็นขั้นสูง เป็นตัวนาโน ทำยากมากและเรายังทำไม่ได้ แต่พวกนี้ที่อยู่กลางน้ำนี้เเราสามารถทำได้ และตลาดมีความต้องการมากพอ ถ้าเราผลิตได้ ก็จะได้ประโยชน์ แต่ติดปัญหาเราไม่มีคน”

ยังไม่หมดไอเดีย ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า สอวช. ยังมีการหารือกับบริษัทเอกชน ว่าจะทำเป็นProject Lead the way  ซึ่งจะมีโครงการที่เป็นนวัตรกรรม 10โครงการ และบอร์ดของบริษัทได่อนุมติให้มีนำเงิน 1% ของกำไรมาลงทุนใน 10 โครงการนวัตกรรม โดยจะนำเด็กเข้าไปเรียนรู้ จนสามารถทำนวัตกรรมออกมาได้ และขั้นต่อไป เด็กกลุ่มนี้จะแยกตัวออกมาทำเป็นสตาร์ทอัพ เพื่อซัพพลายนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีให้กับบริษัทแม่ ถ้าเด็กคนไหนสามารถทำนวัตกรรมได้ จะมีการมอบM Field แถมให้ไปเลย โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์

“นี่ก็เป็นแซนด์บ็อกซ์อีกรูปแบบโดยคาดว่าจะมีเด็กที่เข้าโครงการลักษณะนี้ปีละ 200 -300คน  “ดร.กิติพงค์กล่าว

โครงการอับสกิล และรีสกิล ที่สอวช.ทำร่วมกับบีโอไอ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถที่จะใช้เวลาสั้นๆ ก็เป็นอีกส่วนที่เดินหน้าไปแล้ว ดร.กิติพงค์ บอกว่าที่มาของหลักสูตรส่วนนี้ มาจากการสำรวจ ที่สอวช.ทำร่วมกับบริษัท ท๊อป5 ในอุตสาหกรรมในประเทศไทย  ซึ่งมีทั้งหมด 700 หลักสูตา มีผู้ผ่านการอบรมไปแล้ว  5 หมื่นคน  และเป้าหมายจะต้องเพิ่มให้ได้แสนคน

“โครงการแซนด์บ็อกซ์ ถึงได้คนจำนวนน้อย แต่มีความสำคัญจึงต้องขยาย ไปยังกลุ่มราชมงคลไปอีกพันคน แต่จริงๆ ถ้าพูดเรื่องการลงทุนในอนาคต ตาม การสำรวจของเรา 12 อุตสาหกรรม ที่เป็นนิวเคิร์ฟ ต้องการปีละไม่ต่ำกว่าแสนคน  ให้ได้เร็วคือรีสกิล อับสกิล “

ปัญหาการสร้างคนป้อนอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ ที่ถือว่ายังช้า ดร.กิติพงค์ บอกว่า ปัญหายังไม่ได้ติดแค่เรื่องทุน หรือ ว่าจะสอนอะไร แต่ยังติดปัญหาพื้นฐานตรงที่  เด็กไทยเรียนสายวิทย์ เพียง 30 % ที่เหลือ70% เรียนสังคมศาสตร์ ซึ่งข้อมูลนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันเห็นปุ๊ป จึงบอกว่าเรายังไม่สามารถเป็นฮับอีวี หรือเซมิคอนดักเตอร์ได้

“ถ้ารัฐบาลไม่คิดที่จะเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ โดยไม่คิดใส่ของใหม่เข้าไปในระบบเศรษฐกิจ  ของใหม่ที่ว่านี้ก็คือ  เซมิคอนดักเตอร์  อีวีหรือ PCBA  พวกนวัตกรรมต่างๆ ความสามารแข่งขันของเราก็จะลดไปเรื่อยๆระบบการให้ทุนสนับสนุนจึงต้องเข้ามาช่วย เพื่อสร้างคน เพื่อสร้างนวัตกรรม”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตาลเดี่ยว-หญ้าเนเปียร์' พลังงานสะอาด ปฐมบทเดินหน้า'สระบุรีแซนด์บ็อกซ์'

ทุกปีกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ในไทยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักประมาณ 4-5 ล้านตัน แต่ละปีปลดปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2  ) ไม่ต่ำกว่า  9-12 ล้านตัน CO2  การเปลี่ยนผ่านพลังงานฟอสซิลสู่การใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นทดแทนถ่านหิน

สสว. - สอวช. เผยแพร่ผลการศึกษาและเกณฑ์การประเมินผู้ประกอบการ BCG สำหรับกลุ่ม MSME

สสว. ร่วมกับ สอวช. จัดงานเผยแพร่ผลการศึกษาและเกณฑ์การประเมิน BCG สำหรับ MSME ภายใต้โครงการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME