ปฏิรูประบบจัดการขยะ กทม. ท้าทายความเป็น' Great Governor'

วันที่ 22 พฤษภาคม 2565 เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ซึ่งเว้นวาระไปนานถึง 9 ปี โดยมีผู้สมัครมากถึง 31คน  แต่ละคนชูนโยบายมัดใจคนกรุงในแง่มุมต่างๆ ทั้งความสะดวกสบายการใช้ชีวิต ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง สุขอนามัย ปัญหาการจราจร รวมไปถึงปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง หรือแม้แต่ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแต่สิ่งหนึ่งที่ผู้สมัครแต่ละคนพูดถึงน้อยมากและบางคนไม่พูดเลยก็คือ "ปัญหาขยะ " "ขยะ"เป็นเรื่องใกล้ตัวคนที่สุด ความสะอาด สวยงาม ของบ้านเมืองมีขยะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ หากบ้านเมืองไหนมีขยะเกลื่อนกลาด สกปรก ก็มักเกิดภาพด้อยพัฒนา  ทางที่ดีคือการทำให้ขยะอยู่ในถัง ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่เพ่นพ่านออกมาตามถนนหนทาง แต่ขยะที่แม้จะอยู่ในถัง หรือนำไปที่ ที่ทิ้งขยะแล้ว ยังมีเบื้องหลังที่จะทำให้เมืองหลวงและประเทศไทย ดูเป็นประเทศที่พัฒนาน่าชื่นชมได้ยิ่งขึ้นอีก ก็คือ "การจัดการแยกขยะ "ขยะที่แยกได้ มีข้อดีคือ การลดปริมาณขยะ นำกลับไปใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่ารีไซเคิล และนำมาใช้ซ้ำ ฯลฯลดงลประมาณ ในการบริหารจัดการขยะ ที่ทั้งกระบวนการจัดการต้องใช้งบฯแตะ เกือบหมื่นล้าน ในแต่ละปี(เฉพาะกทม.)

ในโอกาสที่เราจะได้ ผู้ว่ากรุงเทพฯ คนใหม่ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่กรุงเทพมหานคร ที่เป็นเมืองหลวงและเป็นมหานคร จะมีการระบบการแยกขยะเกิดขึ้น    ดร.ธงชัย  พรรณสวัสดิ์  ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.โสภา  ชินเวชกิจวานิชย์  อาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล "ได้ร่วมกัน"แสดงทัศนะในเรื่องนี้ว่า ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องปัญหาขยะชุมชนกับผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร พูดเป็นวันก็พูดไม่จบ เพราะในการจัดการขยะชุมชนนี้มันมีทั้งต้นทาง กลางทาง และก็ปลายทาง ส่วนต้นทางคือการใช้หลัก 3R หรือ Reduce Reuse Recycle หรือในภาษาไทยที่เราเรียกว่า‘3ช’ หรือ‘ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และใช้ใหม่’เพื่อลดปริมาณขยะให้น้อยลง ส่วนกลางทางคือส่วนที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและขนไปกำจัดที่ปลายทางต่อไป  การจัดการที่ปลายทางหรือการกำจัดขยะนี้มีหลายวิธี  ในกรุงเทพมหานครเองก็มีหลายวิธีที่ใช้ผสมๆ กันอยู่ ทั้งการขนไปฝังกลบที่ต่างจังหวัด (4,700 ตันต่อวัน) การหมักทำปุ๋ย (1,800 ตันต่อวัน) การแยกขยะด้วยเครื่องมือกลแล้วต่อด้วยระบบทางชีววิทยา (800 ตันต่อวัน)และสุดท้ายคือระบบเอาขยะมาเผาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า (500 ตันต่อวัน) รวมแล้วเบ็ดเสร็จตกประมาณวันละ 12,000 ตัน

จะเห็นได้ว่า ส่วนที่กรุงเทพมหานครต้องรับผิดชอบเป็นหลักในปัจจุบันคือส่วนกลางทางและปลายทาง ซึ่งด้วยปริมาณขยะขนาด 12,000 ตันต่อวันนั้นทำให้กรุงเทพฯ ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมากถึงปีละ 7–8 พันล้านบาท นี่ยังไม่นับรวมถึงค่าสำรวจออกแบบ ค่าลงทุนก่อสร้าง ค่าดอกเบี้ย ค่าซ่อมแซม ค่าเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าเสียโอกาส เอาเงินส่วนนี้ไปพัฒนาด้านอื่นๆของเมืองให้ดีขึ้น ฯลฯ ลองถ้าเอาพวกนี้มาคิดรวมด้วย ค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็อาจสูงขึ้นไปได้ถึงอีกร้อยละ 50 นี่เป็นตัวเลข ที่เป็นการเดาเพราะยังไม่เคยมีใครเลยที่ใช้หลักคิดนี้ในการวิเคราะห์ทางการเงินของโครงการจัดการขยะของบ้านเรา "ขอถือโอกาสนี้ฝากผู้สมัครผู้ว่าฯและผู้ว่าฯคนที่ได้รับเลือก รับเอาหลักคิดนี้ไปใช้เพื่อคำนวณต้นทุนที่แท้จริงของการจัดการขยะของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเมื่อได้ตัวเลขมาแล้วอาจจะตกใจที่งบที่ลงทุนไปนั้นมันมากกว่า ค่าขยะที่เก็บได้ 4 ถึง 6 เท่า ขึ้นอยู่กับว่าใช้เทคโนโลยีที่ปลายทางเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเตาเผาผลิตไฟฟ้าก็แพงหน่อย ตันละ 1,000 กว่าบาท นี่ยังไม่รวมค่าเก็บขนและขนส่งด้วยซ้ำ ถ้าเป็นการเอาไปฝังในหลุมขยะก็ถูกกว่า แต่ปัญหาคือหลุมขยะที่ว่าไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ มันไปอยู่ที่นครปฐมและฉะเชิงเทรา ซึ่งวันดีคืนดีคนสองจังหวัดนั้นเขาลุกขึ้นมาโวยวาย ไม่ยอมให้เราเอาขยะไปทิ้งบ้านเขา ปัญหาวิกฤตจะเกิดขึ้นทันทีกับคน กทม."

สองนักวิชาการ ฯ เห็นตรงกันว่า สิ่งที่ผู้ว่าฯและผู้สมัครเป็นผู้ว่าฯควรต้องรีบเอาไปขบคิดเป็นนโยบายของการทำงาน คือ การจัดการขยะให้ดีและถูกต้องนั้นมันไม่ใช่ค่าใช้จ่าย แต่เป็นการลงทุน ลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อบ้านเมืองที่ดี และเพื่อชีวิตที่ดีของคนในอนาคตซึ่งเมื่อได้ราคาที่คิดต้นทุนทุกอย่างมาให้ครบและได้เป็นตัวเลขที่บอกไปแล้วว่าจะแพงกว่าที่เก็บค่าใช้จ่ายขยะในปัจจุบันมากถึง 4 - 6 เท่า

  ผู้ว่าฯก็ต้องจัดหางบประมาณมาจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์มาชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจว่าราคาค่าดำเนินการมันแพงขนาดนี้จริงๆ เพื่อทำให้คนกรุงเทพฯยอมรับและเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นจริง ทั้งนี้ กทม.คงต้องยอมจ่ายแพงเป็นค่าตอบแทนให้ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ(influencers)มาโน้มน้าวให้ประชาชนยอมจ่ายค่าจัดการขยะให้ตรงกับความเป็นจริง เช่น แทนที่จะเป็น 20 บาทต่อบ้านต่อเดือนดังในปัจจุบันของบางบ้าน ไปเป็น 200 บาทต่อบ้านต่อเดือน ซึ่งก็แน่ล่ะ ผู้ว่าฯที่ฉลาดก็ย่อมมีกุศโลบายในการที่จะเพิ่มค่าขยะเป็นขั้นบันได มิใช่เพิ่มครั้งเดียวเต็มเพดาน

" ในความรู้สึกและความเข้าใจของเรา ผู้ว่าฯ แบบนี้แหล่ะที่มีกึ๋น ที่มองอนาคตได้ทะลุ ที่รักบ้านเมืองจริง โดยยินยอมที่อาจจะไม่ได้รับการเลือกเข้ามาใหม่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่คนแบบนี้ไม่ใช่หรือที่เขาเรียกว่า great governor ไม่ใช่เป็นเพียง good governor  "สองนักวิชาการเปิดมุมมอง

นักวิาการทั้งสอง ยังเน้นเรื่องหลักคิด 3R หรือ 3ช  ซึ่ผู้ว่าฯและผู้สมัครผู้ว่าฯน่าจะรู้มานานแล้ว เพราะเป็นตรรกะที่เข้าใจได้ไม่ยาก แต่ถ้าถามต่อไปว่าแล้วที่พยายามแยกขยะ ลดขยะ รีไซเคิลขยะ ที่ทำกันมา 30 – 40 ปีแล้วนั้น ทำไมมันจึงไม่ได้ผล คำตอบที่ตรงที่สุด คือ (1) ชาวบ้านไม่รู้สึกมีแรงกดดันจากการถูกบังคับใช้กฎหมายของ กทม. เช่น ไม่จับจริง ไม่ปรับจริง ไม่เก็บขยะจริง(คือยังมาเก็บขยะให้ แม้ไม่จ่ายค่าขยะ (2) ไม่มีแรงจูงใจทางสิ่งแวดล้อมให้ชาวบ้านอยากที่จะร่วมมือในการทำ 3ช และ (3) ไม่มีแรงกระตุ้นทางรายได้ที่มากพอที่จะลุกขึ้นมาทำ 3ช กันจริงจัง  

ดร.โสภา  ชินเวชกิจวานิช

สำหรับข้อ (1) ข้างต้นนั้นเป็นงานบริหารธรรมดาที่ผู้ว่าฯสามารถไปคิดกลไกหรือยุทธวิธีได้เอง แต่สำหรับข้อ (2) นี้เป็นเรื่องของการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งมีข้อสังเกตว่าในประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครเรายังไม่เคยเห็นผู้ว่าฯ คนใดจัดงบประมาณให้มากพอ  ในการที่จะมาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง จนไปถึงระดับที่ประชาชนตระหนักในปัญหาและเปลี่ยนพฤติกรรม เราจึงอยากจะขอให้ผู้ว่าฯคนใหม่กรุณานำเอาแนวคิดนี้ไปลองวิเคราะห์ดูว่าสมควรนำไปใช้ไหม

ส่วนข้อ (3) ถ้าคนกรุงเทพฯเริ่มเข้าใจและจะร่วมมือกันแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลเพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของขั้นตอนกลางทางและปลายทาง แต่เขาก็อาจยังไม่ลงมือจริงหากการทำเช่นนั้นมันยุ่งยากเกินและใช้เวลามากเกิน รวมทั้งยังขายขยะที่แยกมาแล้วไม่ได้ตลอดจนต้องเป็นภาระเสียค่าใช้จ่ายนำขยะที่แยกแล้วนี้ไปส่งทางไปรษณีย์เพื่อไปกำจัดที่ปลายทาง เช่น นำไปเผาเป็นเชื้อเพลิงที่เตาเผาขยะหรือเตาผลิตปูนซีเมนต์ วิธีการที่เราอยากเสนอผู้ว่าฯคนใหม่คือขอให้มองให้ครบวง ถ้ากทม.มีขยะมากค่าเก็บขนและค่ากำจัดก็ต้องมากตามไปด้วย ดังนั้น ถ้าเราสามารถกำหนดกฎเกณฑ์หรือแม้กระทั่งวงเงินมาสนับสนุนให้เกิดการซื้อขายขยะที่แยกแล้วได้ง่ายขึ้น มีรายรับสูงขึ้น ชาวบ้านรวมทั้งซาเล้งก็คงยินดีที่จะร่วมมือมากขึ้น และสุดท้ายค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะโดยรวมก็จะลดลง

"มีหลายข้อที่ขอฝากผู้สมัครผู้ว่าการกรุงเทพมหานครและคนที่จะมาเป็นผู้ว่าฯคนต่อไป ให้นำไปคิดและผลิตเป็นนโยบายการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของบ้านเมืองต่อไป ซึ่งก็ไม่ใช่สำหรับใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของสังคมคนกรุงเทพมหานครทั้งปวงนั่นเอง"สองนักวิชาการกล่าว

ภาพชัดกระบวนการจัดการแยกขยะควรเป็นอย่างไร(ซับเฮด)

นักวิชาการอีกคนที่ศึกษาติดตามปัญหาการจัดการขยะ ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า  กรุงเทพมหานครต้องแก้ปัญหาขยะที่มีมากกว่า 10,000 ตันต่อวัน  กฎหมายกำหนดหน้าที่ของ กทม.ในการเก็บ ขน และกำจัด อยากเสนอให้ผู้ว่าฯ คนใหม่ประกาศนโยบายชัดเจนว่า จะปฎิรูประบบจัดการขยะของ กทม. จัดทำแผนและงบประมาณที่จะจัดระบบส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง โดยต้องจัดสรรงบประมาณไม่น้อยกว่า 10% ของงบประมาณจัดการขยะทั้งหมด ปีละ 7,000 ล้านบาท  ถ้าเป็นไปได้ปรับแก้สัญญาสัมปทานจ้างเหมาเอกชนเก็บขนและกำจัด รวมถึงเน้นมาตรการส่งเสริมให้แหล่งกำเนิดช่วยกันลดและคัดแยกขยะที่ต้นทางให้มากที่สุด ต้องจัดระบบรองรับการคัดแยกขยะของประชาชนและแหล่งกำเนิด

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี

กทม.ต้องออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดให้ประชาชนต้องคัดแยกขยะตามวันและเวลาที่กำหนด และมีระบบเก็บขนขยะแบบแยกประเภท เช่น เศษอาหาร เก็บทุกวันจันทร์ ศุกร์ ส่งไปโรงปุ๋ยหมักที่อ่อนนุชหรือเพิ่มโรงปุ๋ยหมักตามเขตต่างๆ  ขยะทั่วไป เก็บทุกวันพุธ ส่งไปเตาเผา  ขยะรีไซเคิล เก็บทุกวันอาทิตย์ ส่งร้านรับซื้อของเก่าหรือโรงงานรีไซเคิล  ส่วนขยะอันตรายเก็บทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน ส่งกำจัดอย่างปลอดภัย

 “ ปรับระบบสัมปทานจากเก็บขนกำจัด เป็นเก็บขนแบบแยกประเภท ช่วงแรก  เช่น 5 ปีแรก อาจต้องมีค่าจ้างเอกชนเพื่อลงทุนระบบและสร้างกฎกติกาให้แหล่งกำเนิดคัดแยกขยะอย่างจริงจัง  ไม่คัดแยก จ่ายค่าธรรมเนียมแพง คัดแยก จ่ายน้อยลง  นอกจากนี้ ค่าจัดการขยะควรต้องน้อยกว่าเดิม เพราะเอกชนได้ประโยชน์จากการขายขยะรีไซเคิลที่เก็บได้จากครัวเรือนและองค์กรต่างๆ  ในระยะยาวปรับลดค่าจ้างเอกชนลงตามสัดส่วนขยะรีไซเคิลที่เอกชนนำไปขายต่อได้  แต่ยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายการขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการกำจัดเมื่อหมดอายุ  ส่วนที่รีไซเคิลไม่ได้ ต้องส่งไปฝังกลบหรือเผา  “ ดร.สุจิตรา กล่าว  

ปัจจุบันมีหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดระบบเก็บขนขยะแบบแยกประเภท เช่น เทศบาลตำบลสันทราย  อ.แม่จัน จ.เชียงราย กำหนดวันและเวลาชัดเจน  อีกตัวอย่างเทศบาลเมืองปัตตานี รับซื้อขยะรีไซเคิล ทุกวันจันทร์ สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน   จัดรถบริการรับขยะตามบ้านเรือน  ซึ่งเมืองใหญ่อาจจะทำระบบยากกว่า ประชากรมากกว่า แต่สามารถค่อยๆ ทำโครงการนำร่องในพื้นที่ที่พร้อมก่อน  

ส่วนการสนับสนุนการคัดแยกขยะของคนเมือง นักวิชาการคนเดิม เห็นว่า กทม.ต้องใช้กฎระเบียบเป็นเครื่องมือ ด้วยการปรับปรุงกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของประชาชนและองค์กรในการคัดแยกขยะอย่างชัดเจน  สร้างแรงจูงใจเชิงบวกและเชิงลบทางกฎหมายให้เกิดการลดและคัดแยกขยะ เช่น ร่วมกับภาคเอกชนทำจุดรับคืนขยะรีไซเคิลตามห้างฯ

ดร.สุจิตราระบุที่ผ่านมา กทม.ขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและฐานข้อมูลรองรับระบบเก็บขยะแบบแยกประเภท ต้องเปลี่ยนจากรถเก็บขยะแบบบีบอัดเป็นรถเก็บขยะแบบแยกประเภทขยะ เก็บขยะตามวันและเวลาที่กำหนด  ส่วนศูนย์เก็บรวบรวมขยะ มีเครื่องบีบอัด สร้างโรงปุ๋ยหมักขนาดย่อม  จัดทำฐานข้อมูลผู้รับจัดการขยะประเภทต่างๆ ตั้งแต่การบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน หรือ  surplus food  ปัจจุบันมีกลุ่ม    SOS และกลุ่ม  VV Share นำอาหารส่วนเกินส่งต่อช่วยเหลือสังคม  ขยะอาหารที่บริโภคไม่ได้ ส่งต่อให้กลุ่มเกษตรกร  ขยะรีไซเคิล  ขึ้นทะเบียนซาเล้งและ ร้านรับซื้อของเก่า , ขยะอันตราย ผู้รับบำบัดกำจัด , ขยะติดเชื้อ เตาเผาขยะติดเชื้อ) และ ขยะทั่วไป โรงไฟฟ้า, โรงปูนฯ

นอกจากนี้ ปัจจุบันประชาชนยังจ่ายค่าขยะ 20 บาทต่อบ้านต่อเดือน ซึ่งไม่สะท้อนหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เสนอให้ กทม.จัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดการขยะตามปริมาณที่ทิ้ง (Pay-as-you-throw) ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมตามแผนที่เตรียมไว้ให้สะท้อนต้นทุนเพื่อจูงใจให้ลดการสร้างขยะและคัดแยกขยะ อย่างน้อย 2-3 เท่า เดิมมีแผนจะปรับเพิ่มเป็น 80 บาท สุดท้ายไม่ขึ้น เพราะคนโวย   ส่วนใครลดขยะเหลือทิ้งได้มากกว่า 70% เสนอให้มีระบบยกเว้นค่าธรรมเนียม ปัจจุบันมีองค์กรที่ทำ zero-waste  มีองค์กรภายนอกมาประเมินรับรองอยู่แล้ว  

ส่วนกลุ่มที่สร้างขยะเยอะสนับสนุนให้ลดและคัดแยกขยะ โดยเริ่มจากหน่วยงานในสังกัด กทม.ก่อน  เพราะตั้งงบสนับสนุนได้ง่าย เช่น ตลาด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล อาคารสำนักงาน ฯลฯ  และประสานความร่วมมือหน่วยงานและกองทุนที่เกี่ยวข้องมาช่วยสำหรับแหล่งกำเนิดชุมชน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เกต โรงแรม วัด อาคารสำนักงาน  เช่น  กองทุนสิ่งแวดล้อม กองทุน สสส. กองทุน สปสช. กองทุน ววน. ฯลฯ  

อีกส่วนหนึ่งหากมีกฎหมายความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้มของผู้ผลิต  หรือ EPR  ให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเก็บขยะบางประเภท ปัจจุบันมีตัวอย่างภาคเอกชนตั้งจุดรับคืน (drop-off) และรับซื้อบรรจุภัณฑ์ที่ไม่คุ้มกับการเก็บรวบรวม เพื่อจูงใจให้ประชาชนและแหล่งกำเนิดคัดแยกขยะมากขึ้น ต้องเพิ่มจุดรับคืนประสานกับผู้ผลิต ห้างค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อขยายโครงการรับคืนขยะบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิลมากขึ้น ให้มีจุดรับคืนกระจายทั่วกรุงเทพฯ ทุกสำนักงานเขต โรงเรียนและอาคารสำนักงานในสังกัด เพื่อสร้างความสะดวกในการส่งคืนขยะรีไซเคิล

 

ปัญหาขยะต้องเป็นวาระแห่งชาติ(ซับเฮด)

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดมุมมองที่ไม่แตกต่างจากนักวิชาการรายอื่นว่า  การจัดการแยกขยะ ควรเป็นสิ่งที่ประเทศไทยทำตั้งนานแล้วเมื่อไม่กี่วันมานี้ ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมฯ ได้จัดเสวนากับผู้สมัครผู้ว่ากทม.เกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยก่อนหน้ามีผลสำรวจความคิดเห็นคนกรุงเทพฯ ว่าห่วงเรื่องใดมากที่สุด อันดับหนึ่งเป็นเรื่องปัญหาฝุ่นPM2.5 ประมาณ 39 % รองลงมาคือปัญหาจัดการขยะ 35% ซึ่งแต่เดิม กทม.มีขยะวันละ 12,000 ตัน แต่พอนักท่องเที่ยวลดลงเหลือ 8,000-9,000  ตันต่อวัน  แม้ลดลงแต่ถือว่ายังเยอะอยู่ ขยะพวกนี้แบ่งเป็นขยะอินทรีย์ 50%พลาสติก 12-13% ที่เหลือเป็นขยะอื่นๆ  เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาเขามีระบบการแยกขยะชัดเจน ถามกทม.ทำไมไม่แยก เขาบอก ปลายทางมีการแยก แต่มันก็ไม่ 100% อย่างขยะพลาสติกที่มีประมาณ 2 ตันต่อปี ที่สามารถรีไซเคิลใช้ได้  แต่มีการนำมารีไซเคิลได้แค่ 25%  ของ 2ล้านตัน และอีก1.5 ล้านตันไปไหน อาจกองหรือฝังกลบไว้ หรือเผา

การแยกขยะจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการสร้างระบบบริหารจัดการ  โดยที่ไม่ต้องใช้เงินเยอะ อาจกำหนดวันทิ้งขยะแต่ละประเภท หรือการแจกถุงแยกสีตามประเภทขยะ  ซึ่งบางเขตกทม.มีการทำแบบนี้ แต่ยังเกิดผลน้อย ควรทำทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่กทม. อย่างขยะขวดPET ที่รีไซเคิลได้ บ้านเราทำได้แค่ 40% เทียบกับญี่ปุ่นหรือเยอรมันทำได้ 80% เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมฯ ได้ร่วมกับกทม.และเครือข่ายเอกชน ตั้งกองทุนที่ได้จากขยะรีไซเคิล ซึ่งเงินที่ได้นำมามอบให้กับพนักงานกวาดชยะของกทม. "การพูดคุยกับผู้สมัครผู้ว่ากทม. หลายท่านไม่ได้มองเรื่องนี้ในเชิงปฎิบัติ  และหลายท่านก็แตะนิดแตะหน่อยในเรื่องนี้   ทั้งที่ค่าขยะที่เก็บจากประชาชนไม่พอกับการจัดการขยะ แต่หากมีการแยกขยะ รีไซเคิล ก็จะมีมูลค่านำมาชายได้ ลดงบประมาณ "

อาจารย์วิจารย์ กล่าวอีกว่า การจัดการขยะแยกเป็น  5ประเภท ต้องมีตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ต้องมีการสร้างระบบที่ดี ซึ่งตอนนี้มีหลายแห่งที่ทำระดับต้นน้ำ กลางน้ำ แต่ปลายน้ำกลับไม่ชัดเจน อีกด้านความรู้ความเข้าใจของประชาชน ก็ต้องมีการสื่อสารให้เข้าใจ ให้เห็นประโยชน์และความสำคัญของการแยกขยะ เพราะทุกวันนี้ที่ฝังกลบเราก็จะไม่มีอยู่แล้ว ถ้ามีขยะมาก ก็ต้องเผามาก และใช้เทคโนโลยีที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่จริงหากกทม.ควรเป็นพื้นที่นำร่องแยกขยะ แต่ทุกวันนี้ แยกน้อยมาก เผารวมทุกอย่าง ซึ่งถ้าแยกขยะพลาสติกใช้ไม่ได้ รีไซเคิลไมได้ออกมา  ก็จะได้พลังงาน ไปใช้กับโรงไฟฟ้าต่างๆ ส่วนขยะอินทรีย์ก็จะทำให้เป็นปุ๋ย   เงินที่ได้จากการแยกขยะ รีไซเคิลขยะ ก็นำมาดูแลสิ่งแวดล้อมหรือสังคม มีการจัดการรายงานตัวเลขที่ได้จากประโยชน์ของขยะ และชี้แจงการใช้เงินที่นำมาเป็นประโยชน์ส่วนรวม ก็จะทำให้คนเห็นคล้อยตาม และปฎิบัติตามนโยบายของรัฐ

"เรามีหน่วยจัดการขยะ 7,000-8,000แห่งทั้งประะทศ  แต่มีที่จัดการขยะถูกต้อง 2,000 แห่ง หรือแค่18%  ผมมีประสบการณ์ส่วนตัว เห็นห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง มีถังขยะแยก 5 ประเภท แล้วก็เห็นแม่บ้านห้างฯ นำขยะทุกประเภท ไปเทกองรวมกัน ถามว่าทำไมทำอย่างนั้น เขาก็ตอบว่า คนที่มาห้างฯไม่สนใจว่าถังไหนเป็นขยะอะไร  ทิ้งมั่วไปหมด ถึงแยกถังไป ก็ไม่มีประโยชน์  ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาการสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจ เพื่อปรับพฤติกรรมคน "

ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทิ้งท้ายอีกว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องชับเคลื่อนปัญหาขยะให้เป็นวาระแห่งชาติ  เพราะเราประกาศว่าจะทำให้เกิด Zero Emission และเศรษฐกิจสีเขียวไปแล้ว  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สิ่งแวดล้อมศึกษา’วิถีใหม่’ หนุนเป้าหมายลดโลกร้อน

การเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภัยพิบัติภายใต้บริบทใหม่ จำเป็นต้องเปิดรับชุดความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย ภาคการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญ การเร่งพัฒนาครูและบุคลากรด้านการศึกษาให้ตระหนักรู้ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างเป็นระบบตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

ขอนแก่น..ต้นแบบแก้ไขขยะมูลฝอย ขับเคลื่อนไทยสู่สังคม Zero Waste

แรงบันดาลใจให้ชุมชนไร้ขยะ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ผู้นำชุมชนต้องสร้างพลังให้ชุมชนแข็งแรง พร้อมที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ หาญกล้ากระจายอำนาจสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

'ชัชชาติ' ฝันปรับภูเขาขยะอ่อนนุชเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่!

ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมถก 'พีทีที โกลบอลฯ' หาแนวทางร่วมมือจัดการขยะเป็นรูปธรรม จ่อปรับภูเขาขยะอ่อนนุชเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่

‘อุทยานเบญจสิริ’สวนสาธารณะต้นแบบ Zero Waste

ภาพที่ไม่น่ามองทั้งขยะที่ล้นออกมาจากถัง ขวดน้ำพลาสติกที่ไม่ได้คัดแยก การใช้ถุงพลาสติกอย่างพร่ำเพรื่อ เป็นภาพที่เห็นจนชินตาในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ จากข้อมูลกรุงเทพมหานคร ปี 2564 ขยะที่เกิดขึ้นใน กทม.มีปริมาณ  8,675 ตันต่อวัน​ มีค่าใช้จ่ายในการกำจัด 7,127 ล้านบาท จัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะได้เพีย​ง​ 512 ล้าน ขณะที่แนวโน้มปริมาณขยะเพิ่มสูงขึ้น